NANOTEC สนับสนุน 2 นวัตกรรมจากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ฯ เข้าประกวดโครงการนวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้าปี 2563 แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชน


ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Nanotechnology Center : NANOTEC ) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ส่งเสริมและสนับสนุน 2 ผลงานนวัตกรรมเยาวชนวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี ซึ่งผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศโครงการลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้าประจำปี พ.ศ. 2563 ได้แก่ เครื่องเก็บขยะในทะเลโดยใช้เทคโนโลยีนาโน (Nano Ocean Bin) และ เครื่องกำจัดขยะเศษอาหารเป็นปุ๋ยอัตโนมัติ (Zero Food Waste) เพื่อนำผลงานที่คิดค้นได้ไปใช้ในการตอบโจทย์แก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนอย่างยั่งยืน

นาโนเทคสนับสนุน 2 นวัตกรรม ร่วมโครงการนวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้าปี 2563

ดร.ภาวดี อังค์วัฒนะ

ดร.ภาวดี อังค์วัฒนะ รองผู้อำนวยการ ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า โครงการนวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า ซึ่งมีการจัดการประกวดเป็นโครงการย่อย 2 รูปแบบ คือ ชุมชนลดเปลี่ยนโลกและนวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลก โดยต่อยอดความสำเร็จจากโครงการโตโยต้าเมืองสีเขียวที่เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 เพื่อสร้างจิตสำนึกให้สังคมไทยได้ตระหนักถึงปัญหาด้านภาวะโลกร้อน, มองหาแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากชุมชนสู่ระดับประเทศ พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้โรงเรียน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากทั่วประเทศเข้ามามีส่วนร่วมทำงานจัดทำแผนงานส่งเข้าประกวดเพื่อรณรงค์การลดภาวะโลกร้อนภายในแต่ละชุมชนและร่วมหาแนวทางแก้ไขปัญหาสิ่งแวลด้อมที่เกิดขึ้นระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

โดยนาโนเทคได้ร่วมให้การส่งเสริมและสนับสนุนด้วยการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาอย่างต่อเนื่อง มีการส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปเป็นนักวิจัยพี่เลี้ยงและเป็นทีมที่ปรึกษาร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้บ่มเพาะเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่กำลังเรียนอยู่ในสายสามัญและสายอาชีพที่มีใจรักษ์งานประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันในชุมชนในราคาที่ไม่สูงมากนัก ตลอดการทำงานในโครงการดังกล่าวมีผลงานมากมายที่เกิดขึ้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงในชุมชนต่างๆของประเทศไทยจำนวนมาก ที่สำคัญช่วยลดการนำเข้าอุปกรณ์ที่มีราคาแพงจากต่างประเทศได้ปีละจำนวนมาก

สำหรับในปีพ.ศ. 2563 นี้มีเยาวชนจากทั่วประเทศส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในโครงการฯจำนวน 200 โครงการ ซึ่งทางคณะกรรมการได้คัดเลือกผลงานที่ผ่านเข้ารอบสุดท้ายแล้วในขณะนี้จำนวน 10 ทีม แบ่งเป็นโครงการฯจากสายสามัญจำนวน 5 ทีม และสายอาชีพ 5 ทีมและจะมีการตัดสินการประกวดรอบชิงชนะเลิศระหว่างวันที่ 4-6 กันยายน พ.ศ.2563 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี

ทั้งนี้ทีมผู้ชนะเลิศในโครงการชุมชนลดเปลี่ยนโลก และนวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลก จะได้ไปนำเสนอผลงานแก่ผู้บริหาร จากบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชัน ประเทศญี่ปุ่น รวมถึงศึกษาดูงาน เพื่อนำองค์ความรู้ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม รวมถึงนวัตกรรมต่างๆจากประเทศญี่ปุ่น มาประยุกต์ใช้ในการต่อยอดผลงานในอนาคต โดยชุมชนที่ชนะเลิศจะได้รับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับการพัฒนาชุมชนของตนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ “ชุมชนลดเปลี่ยนโลก” ในระดับจังหวัด สำหรับนักเรียนนักศึกษาและโรงเรียนที่ชนะเลิศจะได้รับการสนับสนุนเงินทุนสร้าง “นวัตกรรมต้นแบบ” ขนาดใช้ได้จริงเพื่อนำไปสู่ชุมชนต่อไป

ผลที่ได้จากการเข้าร่วมโครงการนวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า

เซฟดี ศรีเมือง

เซฟดี ศรีเมือง รองผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า เวทีการประกวดผลงานนักเรียน นักศึกษาในโครงการนวัตกรรมเยาวชนลดเปลี่ยนโลกกับโตโยต้า ถือเป็นโครงการที่ดีที่ช่วยให้นักเรียน นักศึกษาในต่างจังหวัดได้มีโอกาส นำส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด แม้จะไม่ผ่านเข้ารอบระดับจังหวัด ระดับภาคใต้หรือเข้ารอบระดับจังหวัดระดับภาคใต้ในบางปีที่ส่งผลงานเข้าประกวด แต่ถือเป็นโอกาสที่ดีที่นักเรียน นักศึกษารุ่นใหม่ๆได้มีเวทีในการนำเสนอผลงานที่ตนเองคิดค้นขึ้นเองจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ประสบพบเจอในชุมชนสู่สายตาสังคมภายนอกสถานการศึกษาและยิ่งมีผู้เชี่ยวชาญ นาโนเทค สวทช.เข้ามารับฟังการนำเสนอผลงาน พร้อมแนะนำถ่ายทอดองค์ความรู้สอดแทรกเทคนิคการคิดค้นผลงานให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น ทำให้การประกวดในปีนี้นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี มี 2 ผลงานที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ ได้แก่ เครื่องเก็บขยะในทะเลโดยใช้เทคโนโลยีนาโน (Nano Ocean Bin) และเครื่องกำจัดขยะเศษอาหารเป็นปุ๋ยอัตโนมัติ (Zero Food Waste)

“สำหรับความคาดหวังในการรับรางวัลนั้นลึกๆ แอบหวังเช่นเดียวกับสถาบันการศึกษาอื่นๆที่เข้ารอบชิงชนะเลิศ แต่หากพลาดโอกาสได้รับรางวัลก็ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีที่จะนำไปปรับปรุงการทำผลงานให้ดียิ่งขึ้นในครั้งต่อไป” เซฟดี กล่าว

เครื่องเก็บขยะในทะเลใช้เทคโนโลยีนาโน (Nano Ocean Bin)

วัฒนพงศ์ เพชรรัตน์

วัฒนพงศ์ เพชรรัตน์ นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 2 วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ผลงานเครื่องเก็บขยะในทะเลโยใช้เทคโนโลยีนาโน (Nano Ocean Bin) เป็นทุ่นลอยระดับผิวน้ำทะเลโดยใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ คิดค้นและสร้างสรรค์จากการเห็นทุ่นในแม่น้ำที่อยู่ได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะมีกระแสน้ำในระดับใดโดยใช้สมดุลตามหลักวิทยาศาสตร์ สามารถกักเก็บขยะลอยตามแม่น้ำต่างๆ เช่นพลาสติก กล่องโฟมและอื่นๆนำมาใส่ในถังเก็บที่พัฒนามาจากผักตบชวามีความเหนียวทนทาน

โดยผลงานนี้เป็นผลงานเฟส 2 ที่พัฒนามาจากเฟสแรกซึ่งใช้เวลาพัฒนาประมาณ 1 ปี 6 เดือน เนื่องจากผลงานในเฟสแรกพบเจอปัญหาในหลายๆด้าน เช่น เรื่องเซนเซอร์ตรวจจับขยะหมุนตามช้า, ขนาดมอเตอร์ในการดูดน้ำเพื่อดึงเศษขยะเข้ามาสู่ถังขยะที่สะสมพลังงานในการใช้งานในขณะลอยอยู่เหนือผิวน้ำเล็กเกินไป, ขนาดของผลงานขนาดเล็กไม่เหมาะกับนำไปใช้เก็บในแม่น้ำที่มีขนาดใหญ่ และแผงโซล่าเซลล์ที่นำมาติดตั้งสำหรับเก็บพลังงานจากแสงอาทิตย์เมื่อโดนน้ำโดยเฉพาะน้ำทะเลจะเกิดสนิมจับ แต่ภายหลังที่มีการพัฒนาปรับผลงานในเฟสที่ 2 โดยได้ผู้เชี่ยวชาญจากนาโนเทค สวทช.เข้ามาช่วยในการเคลือบผิวด้วยอนุภาคนาโนบนแผงโซล่าร์เซลล์และวัสดุป้องกันสนิม ช่วยให้ไม่เป็นสนิมอีก สามารถเก็บขยะในแม่น้ำ ในทะเลได้มากขึ้นจากการเพิ่มพื้นที่ถังเก็บขยะให้ใหญ่ขึ้นสามรถเก็บขยะได้ประมาณ 50 กิโลกรัม/ครั้ง และเมื่อขยะเต็มถุงที่จัดเก็บแล้วจะมีตัวเซนเซอร์แจ้งเตือนให้เจ้าหน้าที่บริเวณชายฝั่งนำถังขยะที่ทำจากผักตบชวาไปเปลี่ยนใบใหม่ได้สำดวกมากยิ่งขึ้น สำหรับราคาในการสร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ประมาณ 40,000 บาท แต่ในอนาคตกำลังคิดค้นใช้วัสดุชนิดอื่นๆที่ราคาต้นทุนไม่สูงมากนักมาประกอบเป็นชิ้นผลงานราคาประมาณ 30,000 บาท เพื่อนำไปติดตั้งในชุมชน ริมแม่น้ำที่มีงบประมาณไม่มากสามารถนำไปใช้งานจริง

นวัตกรรม

“สำหรับความรู้สึกและความคาดหวังในการเข้ารอบชิงชนะเลิศการประกวดผลงานนวัตกรรมเปลี่ยนลดโลกในปีนี้นั้น รู้สึกดีใจที่การพัฒนาต่อยอดผลงานของทีมงานจนสามารถเข้ารอบชิงชนะเลิศได้ในปีนี้ ส่วนจะได้รับรางวัลชนะเลิศหรือรางวัลอื่นหรือไม่นั้นเป็นการตัดสินของคณะกรรมเพราะทุกทีมที่เข้าสู่รอบชิงชนะเลิสได้ถือว่ามีการพัฒนาชิ้นผลงานยอดเยี่ยมทั้งสิ้น” วัฒนพงศ์ กล่าว

เครื่องกำจัดขยะเศษอาหารเป็นปุ๋ยอัตโนมัติ ชาร์จไฟจากบ้านได้

สรวิศ สิกธรรม นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) 2 วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี กล่าวว่า ผลงานเครื่องกำจัดขยะเศษอาหารและผลิตเป็นปุ๋ยอัตโนมัติ (Zero Food Waste) เป็นการคิดค้นโดยรวมจุดเด่นของวิธีการกำจัดขยะเศษอาหารในต่างประเทศกับภูมิปัญญาของไทย มีการออกแบบประกอบด้วย 2 ส่วนภายในเครื่องคือ เครื่องย่อยขยะเศษอาหาร มีการเพิ่มระบบผลิตฉีดน้ำผสม EM และจุลินทรีย์ และชุดนำขยะเศษอาหารไปผสมเป็นปุ๋ยแบบอัตโนมัติ ราคาประมาณ 20,000 บาท สามารถชาร์จไฟฟ้าด้วยไฟฟ้าจากบ้านเรือนที่มีขนาด 220 โวลต์ได้เมื่อแบตเตอรี่ของเครื่องนี้แจ้งเตือน การชาร์จไฟฟ้าเต็มเข้าเครื่อง 1 ครั้งจะสามารถใช้งานได้ยาวนานมาก เพราะเครื่องนี้จะกินไฟฟ้าเพียง 30 วัตต์ต่อการย่อยสลายเศษขยะเศษอาหารใน 1 ครั้ง

นวัตกรรม

นอกจากนี้การแยกเซ็ตโปรแกรมการทำงานมีการออกแบบ 3 ระดับ คือ ระดับ A จะเป็นโหมดการย่อยเศษผัก และเศษอาหารที่ย่อยง่าย, ระดับ B จะเป็นโหมดการย่อยเศษอาหารที่มีลักษณะชิ้นใหญ่ขึ้นและมีลักษณะที่ย่อยสลายยาก เช่น เศษกระดูกอ่อน เป็นต้นและระดับ C จะเป็นโหมดการย่อยเศษอาหารที่ผสมผสาน ซึ่งจะมีการกำหนดการใส่เศษขยะและอาหารลงไปไม่เกิน 3 กิโลกรัม แล้วตั้งเวลาย่อยเหมือนตั้งระบบการทำงานของเครื่องซักผ้าแต่เครื่องนี้จะตั้งเวลาเอาไว้ 24 ชั่วโมงในการย่อยต่อ1 ครั้ง เพื่อให้การย่อยสลายมีขนาดเล้กและแห้งสนิทเมื่อเสร็จแล้วจะกลายปุ๋ยสามารถนำไปใส่ต้นไม้ได้ทันที ซึ่งปุ๋ยที่ได้จากเครื่องนี้จะไม่มีกลิ่นรบกวนรุนแรง ไม่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค ที่สำคัญลดเศษขยะเศษอาหารในครัวเรือนของแต่ละบ้านแต่ละชุมชนลงได้

ภายหลังจากการนำเครื่องนี้ไปติดตั้งทดลองใช้ที่ชุมชนบางชนะ อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานีแล้วทำให้เกิดกระแสการรักษ์สิ่งแวดล้อมภายในชุมชนเพิ่มขึ้น

นวัตกรรม

นำเครื่องกำจัดขยะเศษอาหารเป็นปุ๋ยอัตโนมัติไปใช้ในชุมชนบางชนะ ได้ผลดีเกินคาด

พจนาพร แผ้วชนะ ชาวบ้านชุมชนบางชนะ กล่าวว่า ชุมชนบางชนะส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงและปลูกผัก ทำให้มีเศษขยะจากปลา เศษอาหารทะเลที่หาได้และเศษผักที่เกิดขึ้นจำนวนมาก เมื่อก่อนนำเศษขยะเหล่านั้นไปทิ้งใส่ถังขยะและนำไปใส่โคนต้นไม้เลย ทำให้มีกลิ่นรบกวน นอกจากนี้มีสัตว์เข้าไปคุยเขี่ยทำให้ขยะเรี่ยราด จนกระทั่งมีอาจารย์นักศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานีและผู้เชี่ยวชาญ สวทช.ได้นำเครื่องกำจัดขยะเศษอาหารเป็นปุ๋ยอัตโนมัติมาให้ชาวบ้านในชุมชนทดลองใช้ผลปรากฏว่าใช้งานได้ดีเกินคาด เศษอาหารจากครัวเรือนและอื่นๆในชุมชนเมื่อนำมาผ่านการย่อยสลายจากเครื่องนี้เมื่อย่อยสลายทิ้งให้แห้งกลายเป็นปุ๋ยเมื่อนำไปใส่ต้นไม้ ใส่พืชผักเจริญงอกงามดีขึ้นกว่าที่ผ่านมา โดยเฉพาะผักสลัดที่บ้านทำการเพาะปลูกเพื่อส่งจำหน่ายยังร้านอาหารในตัวเมืองได้รับการตอบรับจากลูกค้าขายส่งทุกวันนี้ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดและช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีในชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย

ood Waste)


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save