สมาร์ตซิตี (Smart City) หรือ เมืองอัจฉริยะ เป็นรูปแบบการประยุกต์ เทคโนโลยีดิจิตอล หรือข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสารในการเพิ่มประสิทธิและ คุณภาพของบริการสังคม เพื่อช่วยในการลดต้นทุน และลดการบริโภคของ ประชากร โดยยังคงเพิ่มประสิทธิภาพให้ประชาชนสามารถอยู่อาศัยได้ในคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น เมืองอัจฉริยะสร้างขึ้นจากโครงสร้างพื้นฐานของ Internet of Things (IoTs) ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างกันของอุปกรณ์เซ็นเซอร์ที่ทำหน้ารวบรวม ข้อมูลและส่งต่อผ่านระบบเครือข่ายสื่อสาร (Networking Communication) ไปยังศูนย์ข้อมูล (Data Center) เพื่อใช้ในการรวบรวมจัดเก็บข้อมูล (Big Data) เพื่อการวิเคราะห์และใช้ข้อมูลร่วมกันในขณะที่สื่อสารกันของระบบรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) ก็เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น
สมาคมวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์แห่งประเทศไทย (IEEE Thailand Section) และ IEEE Power & Energy Society – Thailand Chapter ได้เล็งเห็น ถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้จัดให้มีการสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “เมืองอัจฉริยะและศูนย์ข้อมูล: แนวคิด การออกแบบ และกรณีศึกษา (Smart City & Data Center: Concept, Design and Case Study)” เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต และการบริหารจัดการองค์กรหรือเมืองให้มีประสิทธิภาพตามนโยบาย Thailand 4.0 โดยการสนับสนุนวิชาการจาก วสท. สถาบันอุดมศึกษา และผู้เชี่ยวชาญในงาน ภาคปฏิบัติโดยตรง มีผู้ร่วมบรรยาย จากหลากหลาย ภาคส่วน ที่จะร่วมขับเคลื่อนสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ
ผศ. ดร.นพพร ลีปรีชานนท์ ภาควิชาไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในผู้ร่วมบรรยาย ได้กล่าวสรุปข้อมูลว่า ในงานสัมมนาครั้งนี้ สิ่งที่เป็นประโยชน์กับผู้รับฟัง คือเรื่องของคอนเซ็ป และการออกแบบ โครงการนี้เกิดขึ้นมาเมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว โดยคณะของ พพ. และสถาบันอาคารเขียว ว่าจะส่งเสริมให้ประเทศนี้เปลี่ยนแปลงยังไงให้เป็นสมาร์ททซิตี้ ทำยังให้ทุกคนอยู่ดี มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น แต่ละโครงการ ใช้เวลา ประมาณ 2 ปี เพื่อที่จะสร้างโมเดลขึ้นมาให้เห็นเป็นรูปธรรม และเราได้นำทั้งหมดที่ทำ มาบรรยายให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้ร่วมสัมมนาในเวลา 3 วัน ตั้งแต่เริ่มต้นที่เราพูดกันว่า สมาร์ทซิตี้คืออะไร ตั้งแต่เริ่มการออกแบบ มีที่มาที่ไปยังไง เราต้องใช้หลายหน่วยงานขึ้นมาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น สถาปัตย์ วิศวรโครงสร้าง วิศวกรคอมพิวเตอร์ เรียกได้ว่าเป็นงานที่ใช้วิศวกรทุกระบบที่มีในมหาวิทยาลัย รวมไปถึงสาขาวิชาอื่นๆ ก็มีความสำคัญด้วย ทั้งเศรษฐศาสตร์ กฎหมาย ก็มีส่วนขับเคลื่อนทั้งหมด อย่างเคสตัวอย่างที่ทำกันในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ถือเป็นการใช้ทรัพยากรในมหาวิทยาลัยได้คุ้มค่ามากที่สุด
“การจะเป็น สมาร์ทซิตี้ได้นั้น ไม่ได้ทำได้ภายในปีสองปี เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาพอสมควร สมาร์ทซิตี้ ไม่ใช่แค่เรื่องเทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องของคนด้วย และการพัฒนาคนขึ้นมารองรับเรื่องสมาร์ทซิตี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา ในฐานะที่ผมอยู่ภาคการศึกษา สิ่งที่ทำคือ การพัฒนาบุคคลากรขึ้นมาช่วยในหลายๆ ส่วนของสมาร์ทซิตี้ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่เราต้องเริ่มการพัฒนาอย่างจริงจัง เมืองอัจฉริยะจึงจะเกิดขึ้นได้จริง ” ดร.นพพรกล่าว