นศ.มข. คว้ารางวัลชนะเลิศระดับชาติ ออกแบบหลักสูตรการอนุรักษ์น้ำฯ หวังกระตุ้นจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมเด็กไทย


เมื่อเร็ว ๆ นี้ นักศึกษาชั้นปีที่ สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับรางวัลชนะเลิศในกิจกรรมประกวดการออกแบบหลักสูตรการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำเชิงสร้างสรรค์ หัวข้อ สอนน้องรักษ์น้ำ” จัดโดย กรมทรัพยากรน้ำ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ บริษัท ซันโทรี่ เป๊ปซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความตระหนักในการมีส่วนร่วมดูแล และรักษาทรัพยากรน้ำแก่เยาวชน ผ่านกระบวนการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความสำคัญของน้ำ และการอนุรักษ์  กระตุ้นให้เยาวชนสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลการแข่งขันปรากฏว่า ทีม The guardian of water” ผู้พิทักษ์รักษ์น้ำ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบด้วย 1) นายพงศกร พรมเสน 2) นายวัชรินทร์ สีดา และ 3) นายสุรเดช แก้วเหล่า นักศึกษาชั้นปีที่ สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มี รศ.ดร.อังคณา ตุงคะสมิต อาจารย์ประจำสาขาวิชาสังคมศึกษา เป็นที่ปรึกษา  คว้ารางวัลชนะเลิศ รับโล่เกียรติยศ และทุนการศึกษา 60,000 บาท จากนางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นางสาววิภาวรรณ ทัศนปรีชาชัย ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายบรรษัทสัมพันธ์บริษัทซันโทรี่ เป๊บซี่โค เบเวอเรจ (ประเทศไทย) จำกัด และนายพิทยา ปราโมทย์วรพันธุ์ รองอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เป็นผู้มอบโล่เกียรติยศ และทุนการศึกษา เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2566 ที่ผ่านมา

รศ.ดร.อังคณา ตุงคะสมิต อาจารย์ประจำสาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเผยว่า ผลงานหลักสูตร สอนน้องรักษ์น้ำ” ระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย ของทีม ถูกออกมาให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำในชีวิตประจำวัน เพื่อให้ปฏิบัติตนในการอนุรักษ์น้ำอย่างสร้างสรรค์ และเห็นความสำคัญของทรัพยากรน้ำ โดยมีการนำเอาแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active leaning) และนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เช่น การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหา (SSCS) การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (5E) เป็นต้น มาใช้ในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ผสานกับเทคนิคเกมมิฟิเคชัน (Gamification) และเทคนิคเกมจำลองสถานการณ์ (Simulation Game) จนเกิดเป็นนวัตกรรมด้านสื่อการเรียนรู้ของหลักสูตรที่มีความหลากหลายและน่าสนใจ เช่น บอร์ดเกมการศึกษาเกี่ยวกับการอนุรักษ์น้ำ “The value of water” เป็นต้น ซึ่งนวัตกรรมเหล่านี้สามารถนำไปบูรณาการเข้ากับกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้บรรลุตามความมุ่งหวังของหลักสูตรและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

นายพงศกรพรมเสน นักศึกษาชั้นปีที่3  สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่นเผยว่า ขอขอบพระคุณอาจารย์ที่ปรึกษาและเวทีการประกวด ที่ทำให้นักศึกษาอย่างเราได้มีเวทีฝึกทักษะ เค้นศักยภาพออกมา โดยได้นำการเรียนในห้องเรียนไปประยุกต์ใช้อย่างมาก อาทิ การวัดและประเมินผล นวัตกรรมการเรียนการสอน เรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดแก้ปัญหา (SSCS) การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะ (5E)  ออกแบบเป็นหลักสูตรเข้าใจง่าย สำหรับเด็กประถมวัย ไม่เกิน 10 ชม. ผสานกันเป็นเกมจำลองสถานการณ์ (Simulation Game) หรือ บอร์ดเกม  เช่น หากมีน้ำท่วม น้ำเสียในชุมชน เด็กจะแก้ไขสถานการณ์อย่างไร  นอกจากนี้ยังมีบัตรคำ การสร้างโมเดล กราฟฟิก และเว็บไซต์ให้เรียนรู้ ซึ่งเหล่านี้จะส่งเสริมให้นักเรียนตระหนักเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ  คิดว่าจุดเด่นที่ทำให้ได้รับรางวัลชนะเลิศ คือ หลักสูตรเข้าใจง่าย นักเรียนใช้แล้วเห็นผลจริง และความสามัคคีภายในกลุ่ม  อยากให้มีเวทีการประกวดแบบนี้ต่อไป


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save