โซเด็กซ์โซ่ ผู้นำระดับโลกด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการบริหารจัดการแบบครบวงจรจากประเทศฝรั่งเศส และผู้นำการบริการด้านอาหารระดับโลก เปิดตัวโครงการ “WasteWatch” ซึ่งได้ร่วมทำงานกับบริษัท Leanpath กลุ่มผู้นำธุรกิจที่ได้มาตรฐานสูงสุดในการบริหารจัดการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมระดับโลก เพื่อช่วยลดขยะอาหาร รวมทั้งช่วยสนับสนุนการขจัดความหิวโหยและช่วยลดภาวะโลกร้อน โดยตั้งเป้าภายในปี พ.ศ.2568 บริษัทฯ จะลดจำนวนขยะอาหารและการสูญเสียอาหารระหว่างขั้นตอนการผลิตลงถึง 50%
นำร่องโครงการ “WasteWatch” ให้ลูกค้าโรงพยาบาล – โรงเรียนในไทยแล้ว 7 แห่ง
อาร์โนด์ เบียเลคกิ ประธานบริหาร โซเด็กซ์โซ่ ประเทศไทย กล่าวว่า ขยะที่เกิดจากอาหารจะต้องมีการจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อช่วยลดการสูญเสียอาหารก่อนที่จะกลายมาเป็นขยะอากาศ ซึ่งโซเด็กซ์โซ่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องผ่านโครงการลดขยะอาหาร “WasteWatch” ที่ทั่วโลกได้เริ่มดำเนินโครงการนี้มานานแล้วกว่า 10 ปี และประสบความสำเร็จในการลดการสูญเสียอาหารจึงได้มีนำมาทดลองใช้ในประเทศไทย เนื่องจากในแต่ละวัน ประเทศไทยจะสูญเสียอาหารกลายเป็นขยะอาหารจำนวนมากหลายร้อยตันทั้งจากต้นทางที่เป็นผู้ผลิตอาหาร ที่ต้องคัดเลือกอาหารต่างๆให้ดีที่สุดเพื่อส่งต่อและผลผลิตอาหารที่ไม้คุณภาพจะถูกคัดทิ้ง ระหว่างทางในการจัดการอาหาร ตัดแต่ง พืช ผักและส่วนประกอบก่อนปรุงอาหารเพื่อส่งต่อแก่ผู้บริโภคและปลายทางที่เป็นผู้บริโภคอาหาร จึงต้องสร้างความตระหนักในการตักอาหารทานแต่พอรับประทาน ไม่ตักมากจนเหลือทิ้งในแต่ละมื้อ ซึ่งจำเป็นที่จะต้องมีเทคโนโลยีและผู้เชี่ยวชาญ นักโภชนาการเข้าไปช่วยแนะนำให้กับผู้ประกอบการร้านอาหาร โรงแรม โรงเรียน สถานที่ที่ทำอาหารและอื่นๆอย่างเร่งด่วน
เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพและลดขยะอาหารได้อย่างต่อเนื่อง โซเด็กซ์โซ่จึงได้เปิดตัวโครงการ “WasteWatch” ขึ้นโดยได้ร่วมทำงานกับบริษัท Leanpath กลุ่มผู้นำธุรกิจที่ได้มาตรฐานสูงสุดในการบริหารจัดการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมระดับโลก เพื่อช่วยลดขยะอาหาร รวมทั้งช่วยสนับสนุนการขจัดความหิวโหยและช่วยลดภาวะโลกร้อนขึ้น สำหรับประเทศไทยได้เริ่มดำเนินโครงการเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ.2563 ที่ผ่านมา โดยเริ่มโครงการให้ลูกค้าของโซเด็กซ์โซ่ 7 ราย ประกอบด้วย โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์,โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท, โรงพยาบาล กรุงเทพภูเก็ต, โรงพยาบาลวิชัยยุทธ, โรงพยาบาลพญาไท, โรงพยาบาลเปาโล สะพานควายและโรงเรียนนานาชาติคอนคอร์เดียน
นำเทคโนโลยีและแอปพลิเคชันที่ทันสมัย มุ่งลดขยะอาหารประจำวัน
สำหรับการดำเนินโครงการในไทยนั้น โซเด็กซ์โซ่ ได้นำเทคโนโลยีและแอปพลิเคชันที่ทันสมัยร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดกับบริษัท Leanpath กลุ่มผู้นำธุรกิจที่ได้มาตรฐานสูงสุดในการบริหารจัดการด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมระดับโลก รวมทั้งมุ่งมั่นในการลดขยะอาหารประจำวันในครัวโลก เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในแต่ละประเภทของการจัดการอาหารเพื่อส่งต่อแก่กลุ่มผู้บริโภคของลูกค้านั้น ๆด้วย อีกทั้งเป็นการส่งมอบเป้าหมายการลดขยะอาหารโดยการวัด การจัดการ และการควบคุมขยะอาหาร, การมีส่วนร่วมระหว่างเจ้าของธุรกิจและผู้บริโภคผ่านการรายงานข้อมูลของขยะอาหาร, ช่วยให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากพนักงานจะใช้เวลาในการจัดการกับขยะของเสียน้อยลง, ผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมโดยลดผลกระทบต่อน้ำ พลังงาน และสภาพภูมิอากาศ, ลดการซื้ออาหาร และทิ้งอาหารน้อยลงและลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดขยะ เพราะขยะอินทรีย์จะลดน้อยลง
โดยเบื้องต้น โซเด็กซ์โซ่จะส่งเจ้าหน้าที่ พร้อมด้วยทีมคณะทำงานเข้าไปอธิบายขั้นตอนในการทำงานแก่กลุ่มโรงพยาบาลและโรงเรียนที่นำร่องโครงการก่อนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและตระหนักในการตัดตกแต่งอาหารให้น้อยที่สุด เพื่อลดปริมาณการสูญเสียอาหารระหว่างการดำเนินการ เช่น การรับส่งสินค้าวัตถุดิบ พืช ผักและอาหารอื่นๆก่อนที่จะนำมาปรุงส่งต่อแก่กลุ่มผู้บริโภคนั้น มีแหล่งการผลิตจากที่ไหน วัตถุดิบมีความเสียหายอย่างไรบ้าง แล้วนำมาชั่งทุกครั้ง รวมทั้งจดบันทึกเข้าออกของวัตถุดิบในแต่ละวัน จากนั้นจะแนะนำในการตัดแต่งวัตถุดิบพืช ผัก เนื้อ และอื่นๆ เมื่อตัดแต่งแล้วชั่งส่วนที่ตัดทิ้งและส่วนที่นำไปใช้ปรุงอาหารพร้อมจดบันทึก
“แม้กระทั่งการต้มไก่ หรือย่างไก่ 1 ตัว หากมีข้อผิดพลาดระหว่างปรุงอาหารสูญเสียไก่ที่ทำการปรุงอาหารต้องทิ้งก็ต้องจดบันทึกด้วยว่าสูญเสียไก่ในแต่ละวันไปกี่ตัว ดีที่สุดคือแยกประเภทของพืช ผัก ผลไม้ วัตดิบ สดทุกชนิดที่รับเข้าในแต่ละวันมีจำนวนเท่าไร กี่กิโลกรัม กี่ตัว แล้วภายหลังที่ตัด แต่ง นำไป ปรุงอาหารแล้วดเหลือปริมาณอาหารนั้น ๆเท่าไร่ หลังจากที่นำไปส่งมอบแก่ผู้บริโภคภายในโรงพยาบาลและโรงเรียนแล้ว อาหารที่ปรุงไปเหลือรับประทานในแต่ละมื้อเท่าไร โดยในช่วงแรกๆจะยุ่งยากในการจดบันทึกและชั่งทุกขั้นตอน แต่เมื่อดำเนินการไปเรื่อย ๆ ก็จะง่าย สะดวกและเข้าใจในระบบการดำเนินโครงการนี้มากขึ้น “ อาร์โนด์ เบียเลคกิ กล่าว
แปรรูปเศษอาหารทั้งหมดเป็นปุ๋ย -น้ำหมักชีวภาพ ตั้งเป้าปี’68 ลดขยะอาหารและลดการสูญเสียอาหาร 50%
เบื้องต้นในการวางโปรแกรมการทำงานภายหลังที่ตัด ตกแต่งอาหารแล้ว จะมีการวางแผนว่าเศษอาหารที่ตัดตกแต่งแล้วเสร็จรวมทั้งเศษอาหารที่เหลือจากการรับประทานแล้วจะนำไปใช้ประโยชน์ในการนำไปฝังกลบเพื่อเป็นปุ๋ย นำไปทำน้ำหมักชีวภาพ นำส่งต่อเป็นอาหารแก่สัตว์เลี้ยงและนำไปหมักเพื่อใช้ในการผลิตเป็นพลังานไฟฟ้า เป็นต้น ส่วนในอนาคตอาจจะนำเศษอาหารที่ได้ไปผลิตปุ๋ยและสารชีวภาพออกจำหน่ายเพื่อนำเงินกลับมาใช้ประโยชน์ในการช่วยเหลือสังคมในด้านอื่นๆหรือจะนำปุ๋ยที่ได้จากเศษอาหารนี้ไปบริจาคให้กับภาคส่วนต่างๆ เป็นต้น โดยตั้งเป้าภายในปี พ.ศ.2568 บริษัทฯ จะลดจำนวนขยะอาหารและการสูญ เสียอาหารระหว่างขั้นตอนการผลิตลงถึง 50% พร้อมกันนี้ได้ตั้งเป้าขยายโครงการลดขยะอาหาร “WasteWatch” ให้ได้ 200 สาขาทั่วโลกในปีพ.ศ.2564 จากที่มีอยู่ 3,000 กว่าสาขา แต่ทั้งนี้ต้องดูสถานการณ์ COVID-19 ประกอบด้วยว่าจะรุนแรงขึ้นหรือลดลง เนื่องจากมีผลต่อการตัดสินใจของลูกค้าที่จะเข้าร่วมโครงการ อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น การตัดตกแต่งอาหาร และการใช้ภาชนะในการใส่อาหารหลังปรุงสุกแล้วเพื่อส่งต่อแก่ผู้บริโภคจะต้องใช้ภาชนะที่เป็นใช้ครั้งเดียวทิ้งเพื่อลดการติดเชื้อและการแพร่เชื้อ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนในการดำเนินการเพิ่มสูงขึ้นด้วย
ทั้งนี้การนำโปรแกรมและแอปพลิเคชั่นของโครงการ “WasteWatch” ไปติดตั้งและแนะนำในแต่ละประเทศจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3 เดือนให้การทำงานเป็นระบบจะช่วยลดการสูญเสียของอาหารได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ลูกค้าสามารถเพิ่มโปรแกรมลดการสูญเสียอื่น ๆเพิ่มเติมจากการทำงานร่วมกับโซเด็กซ์โซ่ได้ในช่วงดำเนินโครงการที่มีสัญญาทำงาน 3 ปีต่อครั้งต่อสถานที่ทำโครงการอีกด้วย
ความยากง่ายในการดำเนินโครงการขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมอาหารของแต่ละประเทศ
อาร์โนด์ เบียเลคกิ กล่าวว่า เนื่องจากการบริโภคอาหารของแต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ดังนั้นความยากง่ายในการตัด ตกแต่งอาหาร การปรุงอาหารจึงมีความแตกต่างกันด้วย ซึ่งความยากง่ายในการจัดการนั้นอยู่ที่การทำอาหารของแต่ละประเทศ โซเด็กซ์โซ่ดูแล 46 ประเทศทั่วโลก ในการจัดการเรามีการตกแต่ง สุขอนามัยของอาหาร มีทั้งกรรมวิธีตัด ตกแต่ง อาหารที่เหมือนกันและแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทของอาหาร เช่น ในประเทศยุโรป จะมีการรับประทานอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ พืชผัก ผลไม้แบบตะวันตกมากกว่าการรับประทานอาหารแบบตะวันออก โดยอาหารในแต่ละมื้อจะปรุงเมนูที่คล้ายๆกันในทุก ๆวัน ความสูญเสียของกระบวนการตัด ตก แต่งอาหารก่อนปรุงและการรับประทานหลังปรุงเสร็จจะน้อยกว่าในทางเอเชีย เพราะประเทศในเอเชียจะมีอาหารที่หลากหลาย และทานมากกว่า 3 มื้อต่อวัน ดังนั้นการตัด ตกแต่ง ปรุงอาหารรับประทานจึงมีปริมาณของวัตถุดิบมาก เช่น ในประเทศไทย จะมีอาหารไทย อาหารญี่ปุ่น อาหารฮาลาล และอาหารตะวันตกผสมผสานการรับประทานในแต่ละมื้อ การปรุงเมนูแต่ละชนิด จะมีการสูญเสีย อาหารที่แตกต่างกัน ตามกระบวนการนำไปปรุงอาหาร เช่น เมนูอาหารญี่ปุ่น จะสับแซลมอนเป็นตัว และนำหัวและเศษอื่น ๆไปต้มซีอิ้วเพื่อรับประทาน แต่บางประเทศจะทิ้งเศษหัว เศษก้างและอื่นๆของแซลมอนทั้งหมดนำไปปรุงอาหารเฉพาะเนื้อเท่านั้น เป็นต้น
สำหรับในประเทศไทย การนำร่องโครงการที่โรงพยาบาล และโรงเรียนที่ทางโซเด็กซ์โซ่ดูแลนั้น จะมีความยากง่ายที่แตกต่างกัน ในส่วนโรงพยาบาล อาหารจะมีความหลากหลายกว่า เพราะมีผู้ป่วยที่ต้องรับประทานอาหารเฉพาะเจาะจงตามคำสั่งของแพทย์ เช่น ผู้ป่วย เบาหวาน ผู้ป่วยเพิ่งผ่าตัดใหม่ๆและผู้ป่วยโรคหัวใจ ลักษณะอาหารจะเป็นอาหารอ่อนๆ ใช้วัตถุดิบน้อยชนิด การสูญเสียในการปรุงจะน้อยลง แต่การสูญเสียจากการที่ญาติผู้ป่วยนำอาหารมารับประทานด้วยจะเพิ่มขยะและเศษอาหารในแต่ละวันในปริมาณที่สูงขึ้น ขณะที่ในโรงเรียน จะกำหนดอาหารเป็นเมนูประจำในแต่ละวันอยู่แล้ว จึงง่ายและสูญเสียอาหารน้อยกว่าโรงพยาบาล แต่จะมีเมนูในวันพิเศษ ในช่วงเทศกาลของโรงเรียนปริมาณอาหารจะเพิ่มขึ้น ซึ่งการสูญเสียเป็นเศษอาหารเหลือทิ้งก็จะเพิ่มมากขึ้นด้วย
โซเด็กซ์โซ่ หวังเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดการสูญเสียจากการตัด ตกแต่งอาหารก่อนและหลังปรุงทั้งจากผู้ผลิตอาหารและผู้บริโภคอาหาร และมุ่งหวังให้ทุกคนตระหนักในการบริโภคอาหารที่ตักรับประทานในแต่ละจานให้หมด และมั่นใจว่าการทำงานของโปรแกรมในโครงการ “WasteWatch” จะสามารถตอบโจทย์ช่วยเร่งการรณรงค์และจัดการกับขยะอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งช่วยลดความหิวโหยของเพื่อนมนุษย์ทั่วโลก ให้โลกของเราน่าอยู่ด้วยสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อสิ่งมีชีวิตในโลกนี้ได้อย่างยั่งยืน