PM 2.5 กับ วิศวฯ จุฬาฯ


ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2561 จนถึงต้นปี พ.ศ. 2562 นับว่าเป็นวิกฤตการณ์ครั้งสำคัญของคนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่ภาคเหนือที่เผชิญกับปัญหาฝุ่น PM 2.5 มีปริมาณสูงเกินกว่ามาตรฐานเป็นเวลาหลายสัปดาห์ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบหายใจและระบบหมุนเวียนเลือด โดยจากฐานข้อมูลของ Google นับเป็นครั้งแรกที่คนไทยต้องตื่นตัวจากมลพิษทางอากาศชนิดนี้อย่างเด่นชัดและเป็นผลให้มีการค้นหาผ่านเว็บไซต์ต่างๆ อย่างมากมายในช่วงเวลาดังกล่าว

การค้นหาด้วยคำสำคัญ “PM 2.5” ตลอดช่วงระยะเวลา 5 ปีย้อนหลัง
การค้นหาด้วยคำสำคัญ “PM 2.5” ตลอดช่วงระยะเวลา 5 ปีย้อนหลัง (https://trends.google.com/)

ในช่วงเวลาของวิกฤตการณ์ มีหน่วยงานและองค์กรมากมายร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหามลพษิ ดังกล่าว ทั้งในด้านวิชาการ การให้ความรู้ การรณรงค์การช่วยเหลืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง โดยในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนับเป็นหนึ่งในองค์กรที่นอกจากจะออกมาเคลื่อนไหวในการให้ความรู้กับประชาชน ทั้งในด้านการวิเคราะห์ปัญหาและการป้องกันตนเองจากมลพิษทางอากาศแล้วนั้น ยังมีกิจกรรมอีกส่วนหนึ่งที่เริ่มต้นดำเนินการเพื่อสนับสนุนภาครัฐและช่วยเหลือภาคประชาชนในระยะยาวอย่างกิจกรรม “PM 2.5 Sensor for All” ที่เริ่มต้นโดยการจัดเวิร์คช็อปสำหรับผู้ที่สนใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เข้าร่วมการอบรมการจัดทำเครื่องวัดมลพิษทางอากาศที่สามารถวัดได้ทั้งฝุ่นขนาด PM 2.5 และ PM 10 โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมจะทำการประกอบองค์ประกอบหลักของเครื่องวัดมลพิษด้วยตนเอง

ข้อมูลความเข้มข้นฝุ่น PM 2.5 และ PM 10 รอบพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ข้อมูลความเข้มข้นฝุ่น PM 2.5 และ PM 10 รอบพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (แสดงผลผ่านเว็บไซต์ https://cusense.net/)

หลังจากกิจกรรมเวิร์คช็อปแล้วเสร็จ ทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องวัด PM 2.5 ดังกล่าวตามพื้นที่ต่างๆ โดยเริ่มต้นจากบริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาทิ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาคารจามจุรีสแควร์ เป็นต้น โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มจุดวัด PM 2.5 ให้มากขึ้นตามพื้นที่ต่างๆ ที่เหมาะสม โดยข้อมูลความเข้มข้นของมลพิษตามจุดที่ติดตั้งแล้วเสร็จได้แสดงผลอยู่ที่เว็บไซต์ https://cusense.net/ ซึ่งสามารถเข้าถึงและตรวจสอบคุณภาพอากาศได้ตลอดเวลา

ความเข้มข้นฝุ่น PM 2.5 ในส่วนหนึ่งของเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ตัวอย่างแผนที่อากาศแสดงความเข้มข้นฝุ่น PM 2.5 ในส่วนหนึ่งของเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร

ไม่เพียงเท่านี้ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังมีแผนที่จะต่อยอดข้อมูลมลพิษทางอากาศที่วัดได้ควบคู่กับข้อมูลอุตุนิยมวิทยา ข้อมูลการจราจร ข้อมูลโรงงานอุตสาหกรรม และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการสร้างแบบจำลองทางมลพิษอากาศแบบเรียลไทม์ โดยผลจากการสร้างแบบจำลองและการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเชิงลึกจะทำให้สามารถค้นหาสาเหตุของการเกิดมลพิษรวมไปถึงสามารถคาดการณ์มลพิษที่จะเกิดขึ้นได้ โดยข้อมูลดังกล่าวจะมีประโยชน์อย่างมากในการต่อยอดแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ รวมไปถึงออกนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกัน แก้ไข และเยียวยาปัญหามลพิษทางอากาศทั้งในเขตกรุงเทพมหานครบริเวณรอบโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนพื้นที่ภาคเหนือที่เป็นเขตพื้นที่หลักที่ประสบปัญหามลพิษทางอากาศอย่างต่อเนื่อง โดยทางคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์ มีเป้าหมายที่ดำเนินการโครงการนี้ให้แล้วเสร็จภายในเวลา 1 ปี เพื่อนำข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่างๆ เผยแพร่สู่ประชาชนเพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจของภาคประชาชน และรักษาคุณภาพอากาศในประเทศไทยให้ดีขึ้นและยั่งยืน

นอกเหนือจากการสนับสนุนด้านข้อมูลและเทคโนโลยีแล้วนั้น คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยังได้ร่วมกับคณะจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและปฏิรูปประเทศด้านการจัดการมลพิษทางอากาศ PM 2.5 ทั้งระบบโดยในวันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ได้มีการจัดเวิร์คช็อปเพื่อระดมความคิดจากผู้ที่เกี่ยวข้องในการเสนอนโยบาย “การบริหารจัดการเชิงรุกฝุ่น PM 2.5 อย่างยั่งยืน” โดยใช้หลักการ Design Thinking ที่ให้ผู้เข้าร่วมแบ่งเป็นกลุ่มย่อยแล้วร่วมกันระดมความคิดโดยใช้บอร์ดขนาดใหญ่เป็นสื่อกลางในการช่วยผสานความคิดของผู้เข้าร่วมให้เป็นเครือข่าย โดยภายในงานมีนโยบายที่เกี่ยวข้องกับ PM 2.5 เบื้องต้นออกมาถึง 3 นโยบาย ซึ่งเป็นนโยบายเกี่ยวกับการจัดการการเผาทางการเกษตรนโยบายการจัดการฝุ่นจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมไปถึงนโยบายการจัดการฝุ่นที่เกิดจากควันรถยนต์ โดยนโยบายเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นในการต่อยอดความคิดของผู้เข้าร่วมเพื่อนำเสนอต่อกรรมการยุทธศาสตร์ชาติในด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อทำการพัฒนาและอาจนำไปสู่การประยุกต์ใช้จริงได้ในอนาคต


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 92 มีนาคม-เมษายน 2562 คอลัมน์ GREEN Article
โดย ศ. ดร.พิสุทธิ์ เพียรมนกุล, ดร.กริชชาติ ว่องไวลิขิต


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save