“กลุ่มป่าแก่งกระจาน” ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแห่งที่ 6 ของไทย และเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งที่ 3 ของไทย


ภายหลังจากที่ประชุมมีมติให้ขึ้นทะเบียนกลุ่มป่าแก่งกระจาน เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ วราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้แถลงผลการพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลกในวาระการขึ้นทะเบียนพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก ผ่านทางไลฟ์สดบน Facebook Fan-page : สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ผืนป่าแก่งกระจานที่มีพื้นที่กว่า 2.5 ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ ป่าอนุรักษ์ 4 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ตั้งแต่จังหวัดราชบุรี จังหวัด เพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก สำเร็จแล้ว ซึ่งจากการทำงานอย่างเต็มกำลังกว่า 16 ปี ประกอบกับความ พยายามถึง 4 ครั้งในการนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลก และได้สำเร็จลงในครั้งที่ 4 นี้

“การที่ผืนป่าแก่งกระจานได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ทำให้ผืนป่าแห่งนี้เป็นผืนป่าของประชาชนทั่วโลกที่พวกเราจะต้องช่วยกัน อนุรักษ์ รักษาไว้ และต้องทำให้สภาพผืนป่าดีที่สุด ที่ส่งต่อให้ลูกหลานตราบนานเท่านาน ซึ่งผืนป่าแก่งกระจานเป็นผืนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ มีความอุดมสมบูรณ์ทางความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้นน้ำที่สำคัญของแม่น้ำหลายสายของประเทศไทย ในนามของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ขอขอบคุณการทำงานที่เข้มแข็งของทุกภาคส่วน ตั้งแต่เจ้าหน้าที่ของกระทรวงฯ พี่น้องประชาชน ผู้นำชุมชนในพื้นที่ รวมไปถึงสำนักงานของกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งที่อยู่ในประเทศไทยและต่างประเทศ อีกทั้งสถานทูตที่อยู่ทั่วโลกที่ ร่วมกันทำงานและให้การสนับสนุน ทำความเข้าใจกับตัวแทนของประเทศต่างๆ ที่อยู่ทั่วโลกในการผลักดันให้ผืนป่าแก่งกระจานของประเทศไทย ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก” รัฐมนตรี ทส. กล่าว

ภารกิจหลังจากนี้คือ การรักษาผืนป่ากว่า 2.5 ล้านไร่ ให้มีความอุดมสมบูรณ์ ประกอบกับการดูแลพี่น้องประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ให้มีความสมดุล ทั้งการดำรงชีวิตและการอนุรักษ์ผืนป่า

กลุ่มป่าแก่งกระจานขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก

พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานนับเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 6 ของประเทศไทย และเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งที่ 3 ของไทย นับจากการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง ในปี พ.ศ. 2534 และกลุ่มป่าดงพญาเย็น- เขาใหญ่ ในปี พ.ศ. 2548 ซึ่งพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเนื่องจากเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิด พันธุ์พืชและพันธุ์สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ และมีคุณค่าโดดเด่นระดับโลก รวมไปถึงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญของแม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ำปราณบุรี และแม่น้ำภาชี เป็นป่าผืนใหญ่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีเนื้อที่ประมาณ 2.5 ล้านไร่ (4,089 ตารางกิโลเมตร) มีความยาว ตั้งแต่เหนือสุดถึงใต้สุดของพื้นที่มากกว่า 200 กิโลเมตร โดยพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้เกณฑ์ข้อที่ 10 ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ

ในการนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลก ได้มีการนำเสนอมาแล้วถึง 3 ครั้ง ได้แก่ ในปี พ.ศ. 2558, พ.ศ. 2559 และ พ.ศ. 2562 จนมาถึงครั้งที่ 4 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญ ครั้งที่ 44 ในปี พ.ศ. 2564 นี้ ซึ่งเป็นการจัดการประชุมผ่านระบบ ทางไกลแบบเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 16-31 กรกฎาคม 2564 โดยมีสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 106 กรกฎาคม-สิงหาคม 2564 คอลัมน์ Report โดยกองบรรณาธิการ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save