เมื่อกัญชาไม่ใช่ยาผีบอก จากภูมิปัญญาชาวบ้านสู่การแพทย์เชิงประจักษ์


กัญชา กัญชา เป็นยาวิเศษ…ฮ้า ไฮ้ ฮ้า ไฮ้ กว่า 6 เดือนมาแล้ว ที่เรื่องราวของกัญชาวิ่งเข้าหาคนไทย ไม่ว่าท่านจะเป็นนักการเมือง แพทย์ นักการศึกษา นักวิจัย วิสาหกิจชุมชน เกษตรกร ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยเป็นมะเร็งที่รอวันจากไปหรือเป็นเบาหวานที่นับวันต้องเพิ่มยา โรคพาร์กินสัน อัลไซเมอร์ ปลอกประสาทอักเสบ รวมทั้งโรควิตกกังวล (Generalized Anxiety) โรคผิวหนัง เช่น สะเก็ดเงิน โรคหนังเกล็ดปลาผิวหนังอักเสบ รวมถึงมะเร็งผิวหนัง โรคต่างๆ เหล่านี้ทางกระทรวงสาธารณสุขใช้คำว่า “เป็นโรคที่สารสกัดจากกัญชา น่าจะมีประโยชน์ในการควบคุมอาการของโรค” มาพร้อมศัพท์ใหม่แทน “ยาผีบอก” ด้วยคำว่า “การแพทย์เชิงประจักษ์” (Evidence-Based Medicine) เป็นกระบวนการเวชปฏิบัติโดยอิงการวิจัยที่เชื่อถือได้ ประสบการณ์ของคลินิกจากผู้เชี่ยวชาญ รวมทั้งความคาดหวังของผู้ป่วย และคุณค่าที่จะได้รับ

กัญชา เป็นพืชดอกล้มลุก สูง 120-150 ซม. ในแถบเอเชียกลาง ในตระกูล Cannabaceae ในภาษาอังกฤษเรียกกัญชาว่า Cannabis, Hemp, Marijuana เป็นพืชที่มีต้นตัวผู้และตัวเมียอยู่แยกกันคนละต้น สารทางยาได้แก่ สารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) มีมากกว่า 100 ตัวยา ที่สำคัญ คือ เตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (THC : Tetrahydrocannabinol) ซึ่งมีมากในยอดดอกกัญชา เป็นสารที่มีผลกระตุ้นระบบประสาท จึงควรมีการใช้อย่างระมัดระวัง

พืชกัญชา กัญชา กัญชง

ท่านที่เริ่มจะสนใจเรื่องของกัญชาและกัญชง ควรเริ่มจากชื่อต่างๆ ซึ่งน่าสับสนทั้งชื่อไทยและชื่อภาษาอังกฤษ เนื่องจากมีสารที่มีประโยชน์ต่อเนื่องกัน กัญชา คนไทยมักเรียกว่า Cannabis ซึ่งเป็นชื่อเรียกรวมๆ ของกลุ่มกัญชาที่ถูกต้อง ถ้าหมายถึงกัญชา ควรใช้คำว่า Marijuana (มาริฮวนนา) เนื่องจากมีคุณสมบัติทางยาแตกต่างกัน ส่วนกัญชงนิยมเรียกว่า Hemp (เฮมพ์) จึงเป็นความเหมือนที่แตกต่าง นอกจากนี้ ยังมีเรื่องควรรู้ว่าปัจจุบันกฎหมายไทยได้รวมกัญชาและกัญชงไว้เป็นพืชสมุนไพรควบคุมกลุ่มเดียวกัน

หากจะเข้าใจกัญชาแบบง่ายๆ ก็คือ กัญชากับกัญชงเป็นของคู่กันเหมือนไข่ขาวกับไข่แดง ต่างเอื้อคุณค่าซึ่งกันและกัน กัญชามีสารที่เรียกว่า CBD ต่ำ แต่มี THC สูงที่ทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้ม (เมา) ส่วนกัญชงมี CBD สูง และมี THC ต่ำ นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยลดอาการเคลิบเคลิ้มอีกด้วย

เรามาดูกันว่าในทางการแพทย์แล้ว กัญชาและกัญชง มีประโยชน์ในเชิงประจักษ์อย่างไร บทความจาก Infographic Thailand

การนำกัญชามาใช้ในทางการแพทย์
ในทางการแพทย์นั้นได้มีการใช้กัญชาเพื่อบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยได้หลายอย่าง ในประเทศอเมริกานั้นยังออกกฎหมายให้สามารถนำกัญชามาใช้ในทางการแพทย์ได้ถึง 14 รัฐ
  1. สารที่พบในกัญชา คือ สาร Cannabinol, Cannabidiol, Tetrahydrocannabinol (THC) และยังพบน้ำมันระเหย เช่น Cannabichromenic Acid, Linolledie Acid, Lecihin, น้ำมัน โปรตีน วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 Choline เป็นต้น
  2. ยางจากช่อดอกเพศเมียมีสารเสพติดหลายชนิด เช่น Tetrahydrocannabinol
  3. กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ได้นำสาร THC มาศึกษาทดลองทางคลินิก โดยนำมาใช้รักษาในหลายอาการ เช่น ลดอาการปวด ลดอาการลดเกร็งและชักกระตุกของกล้ามเนื้อ อาการของโรคทางกระเพาะปัสสาวะ โรคพาร์กินสัน โรคลมชัก โรคอัลไซเมอร์ ซึ่งผลการตอบสนองของการรักษาเป็นไปในทิศทางที่ดี
  4. สาร Cannabinol มีฤทธิ์ทำให้เคลิ้มฝัน ยับยั้งการจับตัวของเกล็ดเลือด
  5. สารในกลุ่ม Cannabinol มีฤทธิ์ระงับอาการปวด พบว่าผู้ชายที่สูบกัญชาวันละ 8-20 มวน เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ จำนวนเชื้อของอสุจิจะลดลง
  6. เมล็ดกัญชาที่สกัดด้วยแอลกอฮอล์ แล้วนำมาแยกสารจากแอลกอฮอล์อีกที จะได้สารที่มีลักษณะเป็นสารเหนียวคล้ายกับนมผึ้ง เมื่อนำมาฉีดเข้าในลำไส้เล็กของแมวที่ถูกทำให้สลบในปริมาณ 2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะพบว่าหลังจากฉีดยาผ่านไปแล้วครึ่งชั่วโมง ความดันโลหิตจะลดลง
    ไปครึ่งหนึ่งจากระดับปกติ แต่มีระดับการหายใจปกติ ไม่มีเปลี่ยนแปลง
  7. จากการทดลองในห้องแล็บพบว่า Cannabidiol สามารถรักษาแผลในเซลล์ลำไส้ที่เกิดจากอาการอักเสบของโรค Crohn’s Disease ได้ เนื่องจากมีคุณสมบัติเป็นตัวดูดซับอนุมูลอิสระซึ่งเป็นอันตรายต่อเซลล์ Cannabidiol จึงช่วยชะลอการทำงานของเซลล์ภูมิต้านทาน Microglia ที่อาจจะถูกกระตุ้นจากอนุมูลอิสระมากเกินไปและทำให้เกิดการอักเสบมากขึ้น โดยการทดสอบนี้เกิดขึ้นในสมองและตาจากการทดสอบในตาจึงอาจนำไปสู่การใช้ในผู้ป่วยเบาหวานที่กำลังจะสูญเสียตาได้อีกด้วย
  8. จากการทดลองของนักวิทยาศาสตร์จากเมืองมาดริด ประเทศสเปนได้พบว่าสาร THC สามารถฆ่าเซลล์มะเร็งในสมอง ผิวหนัง และตับอ่อนได้ โดย THC จะทำลายกระบวนการเกิดมะเร็ง โดยเนื้อร้ายจะสร้างร่างแหเส้นเลือดขึ้นเลี้ยงตนเองและป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งเคลื่อนย้ายไปที่อื่น จากนั้นสาร THC จะเข้าไปจับกับโปรตีนรีเซพเตอร์บนผิวเซลล์มะเร็ง กระตุ้นเซลล์สร้างสารประเภทไขมันที่เรียกว่า “Ceramide” แล้วทำให้เซลล์ทำลายตัวเอง โดยไม่ส่งผลต่อเซลล์ดี และรายงานก่อนหน้านี้ยังแสดงให้เห็นว่า THC สามารถต่อสู้กับมะเร็งเต้านมและโรคลูคีเมียได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการทดสอบกัญชากับเบาหวาน โรคอักเสบตามข้อต่อการอุดตันของเส้นเลือดเลี้ยงสมอง โรคจิตเสื่อม และโรคลมบ้าหมูอีกด้วย สาร THC สามารถช่วยเร่งให้หนูทดลองลืมประสบการณ์ที่ไม่ดีได้เร็ว สำหรับในคนสาร THC ที่อยู่ในรูปแคปซูลจะทำให้นอนหลับดีขึ้น และหยุดฝันร้ายได้

“สำหรับประเทศไทย กัญชา/กัญชง ได้ก้าวข้ามแพทย์แผนไทยสู่การแพทย์เชิงประจักษ์”

กัญชายาวิเศษ ของกำนัลจากสวรรค์ให้กับคนเอเชียใต้รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งเกือบจะตกเป็นสิทธิบัตรของชาวตะวันตกที่มีการพัฒนาด้านการแพทย์ก้าวหน้ากว่าเรา ก็หวังว่ากรมทรัพย์สินทางปัญญา จะพิจารณาการขอสิทธิบัตรอย่างรอบคอบไม่ขัดกฎหมาย และที่สำคัญไม่ขัดต่อความรู้สึกคนไทย กระทรวงสาธารณสุขต้องขยายการวิจัยพัฒนาและผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของคนไทย จึงควรมีการเชื่อมโยงการวิจัยพัฒนากับภาคเอกชน เนื่องจากปริมาณที่ต้องผลิตในปัจจุบันเกินกำลังของหน่วยงานเดิมที่ดูแล วันนี้เกจิอาจารย์ที่เคยใช้กัญชารักษามะเร็งมาช้านานไม่ต้องหลบๆ ซ่อนๆ และยังสามารถพัฒนาต่อยอดสู่การแพทย์เชิงประจักษ์ตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุขอีกด้วย

10 คำขอสิทธิบัตรกัญชา กรมทรัพย์สินทางปัญญายังไม่ยกเลิก

ความเห็นเชิงประจักษ์ ผู้เขียนยอมรับว่าน้ำมันกัญชา ซึ่งประกอบด้วยกัญชาและกัญชงที่ผลิตตามภูมิปัญญาชาวบ้านและนักวิชาการมีผลต่อการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยบรรเทาโรคไม่ติดต่อหลายโรคได้ประจักษ์จริงๆ หากเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนร่วมวิจัยพัฒนาและขยายการผลิต คนไทยจะมีผลิตภัณฑ์ยาจากกัญชา/กัญชงที่คุณภาพดี มีความบริสุทธิ์ และมีปริมาณ (Dose) ที่แน่นอน ไม่ต่างจากผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศที่สั่งซื้อได้ในขณะนี้

*ต้องขอบคุณเจ้าของข้อมูลทั้งหลายที่ได้คัดลอกมาลง หากข้อมูลคลาดเคลื่อนประการใดขออภัยเป็นอย่างสูง


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 93 พฤษภาคม-มิถุนายน 2562 คอลัมน์ GREEN Focus โดย พิชัย ถิ่นสันติสุข


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save