หลักการของการตลาดแห่งอนาคตที่กำลังพูดกันอย่างกว้างขวางในปัจจุบันอีกเรื่องหนึ่งก็คือ “หลักการตลาดแบบ Blue Ocean” คือ เน้นในการสร้างความต้องการหรืออุปสงค์ขึ้นมาใหม่ (Demand Creation) โดยไม่สนใจและให้ความสำคัญกับคู่แข่งเดิมๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดประโยชน์หรือคุณค่าทั้งต่อองค์กรเองและลูกค้า โดยลูกค้าจะได้รับคุณค่าที่แตกต่างจากสินค้าอื่นๆ ในตลาด ในขณะที่องค์กรก็ลดต้นทุนในส่วนที่ไม่จำเป็นและนำไปสู่การเติบโตขององค์กรได้ด้วย
การตลาดแห่งอนาคต จึงเป็นความสามารถในการบริหารจัดการ และวิเคราะห์ข้อมูลที่จะช่วยให้เข้าถึงผู้บริโภค คู่แข่ง และเข้าใจสถานการณ์ ความเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่จะมีผลต่อการประกอบกิจการ ทำให้สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
แนวความคิดเกี่ยวกับกลยุทธ์ Blue Ocean จุดประกายให้หลายประเทศเกิดกระแสการตื่นตัวในเรื่องของการสร้างความต้องการสินค้าใน ตลาดที่ไร้การแข่งขัน คือ ทำอย่างไรให้สินค้าเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคโดยใช้แนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากนวัตกรรมในแบบใหม่ๆ ควบคู่กับการลดต้นทุนการผลิตในสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าต่อองค์กรและลูกค้า
สรุปก็คือ การแสวงหาวิธีที่ทำอย่างไรให้สินค้าของเราขายได้ ภายใต้โลกไร้พรมแดน โดยมีนวัตกรรมและลดต้นทุนได้ด้วย
ความเป็นจริงในวันนี้ก็คือ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติมีแนวโน้มเปลี่ยนไปในทางที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพพลานามัย และความปลอดภัยของประชากรโลก ทำให้หลายประเทศร่วมกันหารือถึงแนวทางในการแก้ไขป้องกันความเสียหายที่เกิดจากการทำลายสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะ เห็นได้จากการออกกฎบัตรเกียวโตว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยสมาชิกจากประเทศส่วนใหญ่ ได้ตั้งเป้าร่วมกันว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงร้อยละ 5.2 ภายในปี พ.ศ. 2555 รวมทั้งการออกมาตรฐานสากลที่เกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14000) มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000) หรือ มาตรฐานการจัดการพลังงาน (ISO 50001) จึงทำให้วิธีคิดของนักธุรกิจเปลี่ยนไป กลยุทธ์ต่างๆ ก็ต้องเปลี่ยนไปด้วย
จากจุดเริ่มต้นดังกล่าวทำให้แนวความคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของโลกเปลี่ยนไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ที่เน้นการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้คนรุ่นหลังๆ
การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ใน 3 ส่วน คือ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม จะต้องดำเนินไปพร้อมๆ กันเพื่อให้ สอดรับกับการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งโลก
เมื่อไม่นานมานี้ องค์กร UNIDO ของสหประชาชาชาติได้มีนโยบายประกาศออกมาว่า ต่อจากนี้การพัฒนาต้องอยู่บนพื้นฐานของการเติบโตอย่างยั่งยืนแบบ Inclusive Growth คือ ภาคเอกชนและภาคราชการ จะต้องเติบโตไปอย่างมีความรับผิดชอบที่ต้องมีการแบ่งปัน เพื่อลดความเหลื่อมล้าของภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะความกินดีอยู่ดีของประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน
Inclusive Growth คือ การพัฒนาการเติบโตโดยที่ไม่ได้โตเพียง คนเดียวหรือเก็บทรัพยากรต่างๆ ไว้ใช้เพียงคนเดียว พนักงานหรือคนงาน ชุมชนและสังคมก็ได้รับประโยชน์ร่วมกันด้วย แต่เป็นการเติบโตขึ้นมาโดย ที่ภาคส่วนอื่นๆ ได้รับประโยชน์ มีการแบ่งปันจากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดที่ทุกคนมีความเป็นเจ้าของร่วมกัน
จากผลการวิจัยของสหรัฐอเมริกาบอกว่า ในอีก 40 ปีข้างหน้า ถ้าผลิตภัณฑ์ใดที่ออกมาแล้วไม่รับผิดชอบต่อสังคม หรือวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ไม่คำนึงถึงผลต่อสิ่งแวดล้อม สินค้าเหล่านั้นจะขายไม่ได้และ จะหายไปจากโลก นี่คือกระแสและแนวโน้มของโลกที่ผู้บริโภคทุกคนจะยอมจ่ายเงินมากขึ้น
ดังนั้นผู้ประกอบการต้องลงทุนไปเกือบ 2 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงการผลิตและสภาพแวดล้อม และติดตั้งระบบดับเพลิงทั้งหมด จึงเป็นการเตรียมการสำหรับ “การตลาดแห่งอนาคต”
ดังนั้นการตลาดแห่งอนาคตจึงเป็นการตลาดที่ปราศจากสีเขียวไม่ได้ เป็นการตลาดที่ปราศจากความรับผิดชอบต่อสังคมไม่ได้ โดยต้อง เป็นการตลาดที่เปี่ยมล้นด้วยคุณธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม ครับผม!
Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 99 พฤษภาคม-มิถุนายน 2563 คอลัมน์ Marketing โดย ดร. วิฑูรย์ สิมะโชคดี