วช. ร่วมกับเครือข่ายนักวิจัยพัฒนานวัตกรรมรับมือฝุ่นจิ๋ว พร้อมแนะแนวทางแก้ปัญหาในแต่ละภูมิภาคของประเทศ


สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับ เครือข่ายนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) จัดงานเสวนาวิชาการเรื่อง “วิจัย นวัตกรรม สู้ฝุ่นจิ๋ว” เพื่อนำเสนองานวิจัยและนวัตกรรมในการแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 และแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ในแต่ละภูมิภาคของประเทศ

วช. เผย 2-3 ปีที่ผ่านมาปัญหาฝุ่น PM2.5เริ่มรุนแรงมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะในช่วงเข้าสู่ฤดูหนาว

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ รักษาราชการแทน ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวว่า ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 เป็นปัญหาที่ไทยได้รับผลกระทบมาอย่างต่อเนื่องในทุกๆ ปี แต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาสถานการณ์เริ่มรุนแรง มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเข้าสู่ฤดูหนาวในประเทศไทย ในช่วง เดือนธันวาคม-เดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพและกระทบกับสิ่งแวดล้อมในวงกว้างขึ้น สำหรับแนวทางในการแก้ปัญหา รัฐบาลยกระดับมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองเป็นวาระแห่งชาติ ร่วมกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนร่วมทำวิจัย สร้างนวัตกรรมที่ช่วยชะลอ ยับยั้ง ตรวจสอบพื้นที่ที่มีปัญหาฝุ่น PM2.5 ซึ่ง วช. ก็เป็นอีกหนึ่ง

หน่วยงานที่ได้เข้าร่วมขับเคลื่อนด้วย ในฐานะที่เป็นหน่วยงานบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม ตามแพลตฟอร์มที่ 2 การวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ท้าทายของสังคม โปรแกรมที่ 7 โจทย์ท้าทายด้านทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และการเกษตร แผนงานที่สไคัญ (Flagship Project) กลุ่มเรื่อง PM2.5 เพื่อใช้การวิจัยและนวัตกรรมจัดการกับปัญหา ท้าทายเร่งด่วนสไคัญของประเทศในเรื่องคุณภาพอากาศและฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน เพื่อมุ่งเน้นการลดปัญหามลพิษทางอากาศ สร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมการป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพ วิจัยศึกษาองค์ประกอบและแหล่งกไเนิดมลพิษทางอากาศ การตรวจสอบ คุณภาพการแพร่กระจายของหมอกควัน การใช้งานระบบพยากรณ์คุณภาพ อากาศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการบริหารจัดการเชื้อเพลิง รวมทั้งการติดตามการเฝ้าระวังและการเตือนภัยคุณภาพอากาศของประเทศไทย เป็นต้

ต้นเหตุการเกิดฝุ่น PM2.5

โดย วช. ได้มอบทุนให้กับหน่วยงานต่างๆ ที่จะนำไปใช้ทำงานวิจัย สร้างนวัตกรรมในการตรวจสอบฝุ่น PM2.5 เช่น เครื่องวัดฝุ่นละออง ขนาดเล็ก หรือ Dustboy ที่สามารถวัดค่า PM2.5 ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ รายงานค่าที่วัดได้แบบเรียลไทม์ ที่สำคัญพยากรณ์สภาพอากาศล่วงหน้าได้อย่างน้อย 3 วัน ขณะนี้ได้นำไปติดตั้งจุดพื้นที่เสี่ยงที่เกิดฝุ่น PM2.5 แล้วกว่า 200 จุดทั่วประเทศ

นอกจากนี้ วช. ได้ใช้งานวิจัยพัฒนานวัตกรรมเรื่องฝุ่น PM2.5 สร้าง เครือข่ายงานวิจัยสนับสนุนผลงานเชิงรุกเพิ่มเติมทั่วประเทศ เพื่อให้แต่ละพื้นที่นำงานวิจัยนวัตกรรมที่คิดค้นได้ไปช่วยให้ฝุ่นในแต่ละพื้นที่ลดลงอย่างยั่งยืน

ผลการศึกษาพบ กทม. มีฝุ่นละเอียดที่มีสารก่อมะเร็งเกิดจากการเผาไหม้ของรถยนต์จำนวนมาก

ผศ. ดร.สุรัตน์ บัวเลิศ

ผศ. ดร.สุรัตน์ บัวเลิศ คณบดีคณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ทำงานวิจัยฝุ่น PM2.5 เมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา โดยได้รับเงินสนับสนุนงานวิจัยจาก วช. ในการวิจัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เบื้องต้นได้ศึกษาชั้นบรรยากาศและมลภาวะทางอากาศบนตึกสูงของกรุงเทพมหานคร พบว่า กรุงเทพมหานครนั้นมีฝุ่นละเอียดที่มีองค์ประกอบของสารก่อมะเร็งที่เกิดจากการเผาไหม้ของรถยนต์จำนวนมาก และมีวัฏจักรเกิดฝุ่น 4 แบบในรอบปี ได้แก่ 1. ฝุ่นหลังเที่ยงคืน ที่ความเข้มข้นของฝุ่นสูงมากถึง 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มักจะเกิดในช่วงเดือนพฤศจิกายน- เดือนธันวาคม เกิดจากการเผาไหม้ของรถยนต์ในพื้นที่เป็นส่วนใหญ่ 2. ฝุ่นจากอุณหภูมิผกผัน ซึ่งอุณหภูมิที่ผกผันทำให้เกิดสภาวะลมนิ่งเหมือน มีฝาชีครอบ ทำให้ฝุ่นระบายออกจากพื้นที่ไม่ได้ ทำให้อากาศไม่บริสุทธิ์หายใจอึดอัด และส่งผลให้เกิดโรคทางเดินหายใจตามมาได้ มักจะเกิดในช่วงเดือนธันวาคม-เดือนกุมภาพันธ์ เช่น เหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อ 14-15 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา จากการเผาไหม้ของรถยนต์และการเผาในภาคการเกษตร เป็นต้น 3. ฝุ่นเคลื่อนที่ระยะไกล ซึ่งเป็นฝุ่นที่ถูกพัดพามาจากพื้นที่อื่น เกิดขึ้นได้ตลอดเวลาของทุกๆ เดือน แต่เกิดใน ปริมาณมากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-เดือนมีนาคม และจะมีปริมาณฝุ่นมากน้อยขึ้นอยู่กับสภาพอากาศในแต่ละช่วงปีประกอบด้วย และ 4. ฝุ่นทุติยภูมิ ที่เกิดขึ้นเมื่อมีแสงแดดจัดและทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีกลายเป็น ฝุ่นขนาดเล็ก จึงจำเป็นต้องมีการทำวิจัยฝุ่นในแต่ละช่วงอย่างละเอียดและสร้างนวัตกรรม ลดการใช้รถยนต์ในบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมทั้ง การฉีดพ่นน้ำเพื่อกำจัดฝุ่นในพื้นที่ที่มีปริมาณฝุ่นจำนวนมากให้เบาบางลง เช่น พื้นที่เขตดินแดง อโศก สุขุมวิท ในช่วงเวลาการจราจรเร่งด่วน ในช่วงเช้า 07.00-09.00 น. และช่วงเย็น 16.00-18.00 น. และควรใช้ กฎหมายที่ควบคุมห้ามรถบรรทุกทุกชนิดเข้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในช่วงเวลาที่เกิดปัญหาฝุ่น PM2.5 โดยเด็ดขาด อีกทั้งควรมีการควบคุมการก่อสร้างอาคารสูงให้มีการใช้ผ้าคลุมในระหว่างทำการก่อสร้างใหม่ หรือทุบทิ้งอาคารเก่า ซึ่งหลายๆ ครั้งจะพบว่าการก่อสร้างจะส่งผลให้เกิด ฝุ่นจำนวนมากเช่นเดียวกัน

ต้นเหตุการเกิดฝุ่น PM2.5

นอกจากนี้ กรุงเทพมหานครควรร่วมกับพื้นที่ใกล้เคียงหาวิธีการ และแนวทางในการควบคุมการเผาในภาคการเกษตร ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่ง สาเหตุในอนาคตที่จะเพิ่มความรุนแรงของฝุ่น PM2.5 เข้าในพื้นที่ โดยร่วมกับหน่วยงานการเกษตรลงพื้นที่แนะนำเกษตรกรให้เข้ามามี ส่วนร่วมในการลดการเผาเศษเหลือจากการทำการเกษตรไปทำเป็นปุ๋ยหมัก นำไปฝังกลบเพื่อเพิ่มธาตุอินทรีย์ในดิน หรือแม้กระทั่งใช้มาตรการรุนแรงทางกฎหมาย จับและปรับเกษตรกรที่เผาเศษเหลือจากการทำการเกษตรให้เป็นกรณีตัวอย่าง เป็นต้น

แหล่งกำนิดของ PM2.5 ในพื้นที่ภาคอีสานมาจากรถยนต์-โรงงาน-การเผา

รศ. ดร.นเรศ เชื้อสุวรรณ

รศ. ดร.นเรศ เชื้อสุวรรณ หัวหน้าวิจัยสถานวิจัย สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) กล่าวว่า ส่วนใหญ่แล้วแหล่งที่มาของ PM2.5 มาจากการเผาไหม้จากเชื้อเพลิงรถยนต์ทุกประเภทที่ไม่สมบูรณ์ประมาณ 30% โรงงานภาคอุตสาหกรรมประมาณ 30% การเผาจากการทำการเกษตรประมาณ 30% และการใช้ ชีวิตประจำวันของคนเราประมาณ 10% ขึ้นอยู่กับการเก็บข้อมูลในแต่ละพื้นที่ด้วย จึงจำเป็นต้องทำการศึกษาและเก็บข้อมูลเป็นสถิติในทุกๆ ปีเพื่อนำมาสังเคราะห์ วิเคราะห์ เพื่อที่จะทำการสร้างนวัตกรรมในการที่จะเริ่มแก้ไขปัญหาในแต่ละปัญหาอย่างเป็นระบบ ซึ่งประเทศไทยเพิ่ง จะทำการวิจัยและคิดค้นสร้างนวัตกรรมในการควบคุม ตรวจสอบฝุ่น PM2.5 อย่างจริงจังเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมานี้เอง

“อยากให้หลายงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันเก็บรวบรวมข้อมูลที่ตัวเอง มีอยู่แล้วนำมาสู่หน่วยงานกลาง รวบรวมแหล่งกำเนิดหลักว่าปัญหาของ ฝุ่น PM2.5 จะเปลี่ยนแปลงไปตามพื้นที่ใดบ้าง และการเปลี่ยนแปลงจะ เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เพื่อมาจัดทำมาตรฐานสภาพอากาศของไทย โดยนำมาตรฐานสภาพอากาศของสากลมาเปรียบเทียบด้วย” รศ. ดร.นเรศ กล่าว

สำหรับในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น ส่วนใหญ่แล้วปัญหา PM2.5 จะเกิดจากการเผาทางการเกษตร เผาฟางข้าว เศษใบอ้อย เป็น ส่วนใหญ่ เนื่องจากเป็นพื้นที่ทำการเกษตร รองลงมาจะมาจากการใช้ รถยนต์ รถบรรทุก และรถอื่นๆ สัญจรนั่นเอง การที่จะสามารถทราบสภาพอากาศ สภาพฝุ่น PM2.5 ได้แบบเรียลไทม์มากขึ้น คือ การสร้างสถานีตรวจวัดสภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษ และปัจจุบันนี้มีการ สร้างสถานีตรวจวัดสภาพอากาศที่มากขึ้น ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีที่ในตัวเมืองจังหวัดนครราชสีมา ในตัวเมืองขอนแก่น และในตัวเมืองเลย เป็นต้น แต่สิ่งที่จำเป็นและต้องปรับให้ทันกับฝุ่น PM2.5 คือ การบังคับ ใช้กฎหมายในทุกๆ พื้นที่ควบคุมแก้ปัญหาเรื่องฝุ่น PM2.5 อย่างเข้มงวดและทำงานร่วมกันโดยมีหน่วยงานภาครัฐหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นศูนย์รวมการจัดทำบัญชีแหล่งกำเนิดของฝุ่น PM2.5 อาจจะเป็น กรมควบคุมมลพิษ กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งแห่งใด เพื่อให้หน่วยงานเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้ไปใช้ แก้ปัญหาการเกิดฝุ่น PM2.5 สะดวก รวดเร็ว แก้ปัญหาได้ตรงจุด มากที่สุด

“หากแก้ปัญหาในระดับมหภาคไม่ได้ ก็ให้เริ่มแก้ปัญหาเรื่องฝุ่น PM2.5 ที่ตัวเราก่อน เริ่มจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ รถยนต์ส่วนบุคคลมาใช้รถบริการสาธารณะที่มีอยู่ ปั่นจักรยาน ไปสอนในมหาวิทยาลัย ปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่สีเขียว รวมทั้งช่วยกันปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีในการไม่ก่อมลพิษฝุ่น PM2.5 ให้แก่เยาวชน อีกด้วย” รศ. ดร.นเรศ กล่าว

ปัญหาฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือเกิดขึ้นจากฝีมือคนไทยและประเทศเพื่อนบ้าน

รศ. ดร.เสริมเกียรติ จอมจันทร์ยอง

รศ. ดร.เสริมเกียรติ จอมจันทร์ยอง ผู้อำนวยโครงการประเทศไทยไร้หมอกควัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ปัญหาฝุ่น PM2.5 เป็นปัญหาซับซ้อน ไม่สามารถอธิบายได้ด้วยวิชาการเพียงอย่างเดียว และเป็นปัญหาเชิงพฤติกรรมทางสังคม นับเป็นความท้าทายของรัฐบาลไทยและเป็นโจทย์ใหญ่ เพราะมีทั้งฝุ่นที่ เกิดขึ้นจากฝีมือคนไทยและมาจากประเทศเพื่อนบ้าน แต่หากทำได้ก็จะเป็นการแก้ไขปัญหาได้ระยะยาว

สำหรับภาคเหนือใน 10 จังหวัดนั้น มีหลายปัจจัยทำให้ เกิดฝุ่น ทั้งลักษณะภูมิประเทศที่เป็นแอ่งกระทะ มีทั้งแอ่งลำพูน แอ่งเชียงใหม่ และแอ่งลำปาง เป็นต้น ลักษณะภูมิอากาศที่เอื้อให้เกิดฝุ่นตามฤดูกาล อีกทั้งในพื้นที่เกิดไฟป่าทุกปี แต่ละปีมีกว่า 30-50 ไร่ที่ถูกเผาโดยน้ำมือมนุษย์ และอีกประมาณ 10 กว่าไร่ที่ถูกเผาโดยธรรมชาติ ซึ่งในอดีตไม่มีผลกระทบมากนัก แต่เมื่อช่วงปี พ.ศ. 2558-พ.ศ. 2559 เป็นต้นมา มีปัญหามากขึ้น เพราะบริบททางสังคม เศรษฐกิจ อากาศ และอาชีพของคนเปลี่ยนไปเป็นการประกอบอาชีพนำพืชผลเชิงเดี่ยวที่มีมูลค่าไปปลูกมากขึ้นเนื่องจากราคาพืชผลชนิดนี้มีราคาสูงและตลาดมีความต้องการ จึงเป็นปัญหายากที่จะแก้จวบจนปัจจุบัน

การแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 ต้องอาศัยความร่วมมือจาก ท้องถิ่น ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ เปรียบเสมือนต้นน้ำของปัญหา เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกับภาครัฐ ซึ่งเป็นกลางน้ำในการนำนโยบายการแก้ไขปัญหาเข้าไป แนะนำไม่ให้มีการเผาในพื้นที่ซ้ำซาก พร้อมแนะนำให้ชาวบ้านปลูกพืชเศรษฐกิจพอเพียงกันมากขึ้น รวมทั้งนำงานวิจัย นวัตกรรม และเจ้าหน้าที่ ซึ่งเป็นปลายน้ำเข้าไปช่วยแก้ปัญหาให้เข้มข้น เพื่อลดสาเหตุและต้นเหตุ ของแหล่งที่เกิดไฟป่า ซึ่งจะช่วยให้พื้นที่ภาคเหนือที่ปัจจุบันกลาย เป็นแหล่งไม่น่าเที่ยว ไม่มีนักท่องเที่ยวไปท่องเที่ยวในช่วงเวลาที่เกิดมลพิษฝุ่น PM2.5 ซึ่งเป็นช่วงฤดูท่องเที่ยว และผลผลิตไม้ผลเมืองหนาวออกสู่ตลาดให้กลับเข้ามาท่องเที่ยวอย่างเดิมอีกครั้ง” รศ. ดร.เสริมเกียรติ กล่าว

ฝุ่น PM2.5 ในภาคใต้มาจากรถติดและจากการเผาป่าพรุในอินโดนีเซีย

ศ. ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล

ศ. ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยมลพิษทางอากาศและผลกระทบต่อสุขภาพ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) กล่าวว่า ปกติภาคใต้มีอากาศสะอาดทั้งปี เพราะมีพื้นที่ขนาบด้วยทะเลทั้งสองฝั่ง อาจมีปัญหารถติดในพื้นที่จังหวัดท่องเที่ยวบ้าง เช่น จังหวัดภูเก็ต สุราษฎ์ธานี ตรัง และนครศรีธรรมราช รวมทั้งปัญหาฝุ่นละอองจากประเทศเพื่อนบ้านจากการเผาป่าพรุในอินโดนีเซียในช่วงประมาณเดือนกันยายนจนถึงต้นเดือนมกราคมในปีถัดไป หากในปีนั้น มีช่วงฤดูฝนในพื้นที่ภาคใต้น้อยกว่าปกติ ซึ่งฝุ่นละอองขนาดเล็กจากอินโดนีเซียนี้มีระยะทางพัดไกลกว่า 1,000 กิโลเมตร จะถูกกระแสลมบนพัด มาถึงประเทศไทยในเวลาเพียง 1-2 วัน ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ต่างก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน ยิ่งมีปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino) ยิ่งทำให้ไฟป่ารุนแรงและมีปริมาณ ฝุ่น PM2.5 ที่สูงมาก และพบความเป็นพิษของฝุ่นสูง ทำให้เกิด โรคทางเดินหายใจในพื้นที่มากขึ้นตามไปด้วย จึงต้องแก้ปัญหาทั้งระบบอย่างจริงจัง หากเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศก็ควรพูดคุย เจรจากันในระดับรัฐ ส่วนในระดับประเทศไทยนั้น ในเชิงการทำงานควรร่วมมือกันอย่างจริงจังในการแก้ปัญหาที่แหล่งกำเนิดทั้งในชุมชน ในสังคมเมือง โดยให้เจ้าของพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในทุกกระบวนการ

“อย่าทำเพียงภาครัฐ หรือทำเพียงชุมชนครั้งสองครั้งแล้วละทิ้ง ไม่มีการต่อยอดการทำงาน จะสูญเสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ ที่สำคัญ ต้องสร้างการตระหนักรู้ด้วยองค์ความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้เจ้าของพื้นที่อนุรักษ์และรับผิดชอบพื้นที่ พร้อมดูแลให้ เรื่องฝุ่น PM2.5 เป็นเรื่องที่ทุกๆ คนต้องช่วยกันอย่างจริงจัง หากจำเป็นต้องใช้กฎหมายพิเศษเข้าไปจัดการก็ควรชี้แจงให้ประชาชนในแต่ละพื้นที่ทราบ ไม่ใช้กฎหมายบังคับเพราะจะไม่ได้ความร่วมมือในการแก้ปัญหา และการเก็บข้อมูลเชิงพื้นที่ในแต่ละพื้นที่เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมี เพื่อที่จะนำมาเปรียบเทียบ สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบต่อไป” ศ. ดร.พีระพงศ์ กล่าว

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง Update!!


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 103 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2564 คอลัมน์ Report โดย ทัศนีย์ เรืองติก


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save