วว. จับมือพันธมิตรฝึกอบรมออนไลน์ จัดการขยะชุมชน/ของเหลือทิ้งภาคเกษตร มุ่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้ของเหลือทิ้งตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน


ศ. (วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กล่าวว่า วว. โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานสะอาดและสิ่งแวดล้อม ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ และสำนักดิจิทัลและสารสนเทศ ร่วมกับ ผศ.ดร.สุนันทา เลาวัลย์ศิริ จากคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดกิจกรรมอบรมออนไลน์ ภายใต้การดำเนินโครงการจัดตั้งสถานีจัดการขยะชุมชนร่วมกับของเหลือทิ้งภาคการเกษตรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ให้แก่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ต้นแบบ 3 จังหวัด เมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา ได้แก่ จังหวัดหนองคาย (ชุมชนตำบลหาดคำ) จังหวัดเชียงราย (ชุมชนหนองปึ๋ง และโรงเรียนจันจว้าวิทยาคม) และจังหวัดชลบุรี (โรงเรียนวัดราษฎร์ศรัทธา) โดยมีประชาชนเข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 50 คน

นอกจากนี้ในอนาคต วว. จะขยายผลการดำเนินโครงการฯ ไปยังจังหวัดระยอง และพื้นที่อื่นๆของประเทศ เพื่อให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของประเทศต่อไป

“เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 ยังไม่คลี่คลาย แต่การผลักดันวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ด้านการจัดการขยะสู่ชุมชนยังคงต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง วว. จึงได้ปรับรูปแบบการดำเนินกิจกรรมการอบรมจากเดิม ซึ่งเป็นการจัดอบรมลงในพื้นที่เป้าหมาย เป็นการอบรมออนไลน์ผ่านโปรแกรม zoom ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากพี่น้องประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรม และประสบความสำเร็จตามเป้าหมายของโครงการที่มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของเหลือทิ้ง อีกทั้งยังสร้างความรัก สามัคคี ในชุมชน ด้วยมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม” ผู้ว่าการ วว. กล่าว

สำหรับหลักสูตรการอบรมออนไลน์ดังกล่าวประกอบด้วยเนื้อหาที่ประโยชน์ต่อชุมชน ดังนี้ 1.การจัดการขยะชุมชนที่ต้นทางด้วยการคัดแยกขยะพลาสติกให้ได้ราคา 2.การใช้งานแอปพลิเคชันออมขยะ 3.การผลิตเชื้อเพลิงขยะอัดแท่ง (RDF) 4.การผลิตก๊าซชีวภาพจากเศษอาหาร 5.การผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนและน้ำหมักชีวภาพจากขยะอินทรีย์ และ 6.การผลิตผลิตภัณฑ์นวัตอัตลักษณ์มูลค่าเพิ่มจากของเหลือทิ้ง อาทิ เทียนหอมสมุนไพร กระดาษจากตอซัง และประการังเทียมจากเปลือกหอย

โครงการจัดตั้งสถานีจัดการขยะชุมชนร่วมกับของเหลือทิ้งภาคการเกษตรเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนการจัดการขยะชุมชนที่ต้นทาง การใช้ประโยชน์ สร้างมูลค่าเพิ่มตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน ร่วมกับการจัดการขยะชุมชน น้ำเสีย และการผลิตพลังงานทดแทนชีวภาพ ขับเคลื่อนโครงการให้ประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม จึงต้องมีการถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมให้กับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ชุมชน วัด โรงเรียน เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการขยะประเภทต่างๆ และการนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อเปลี่ยนขยะเป็นทรัพยากร สร้างมูลค่าเพิ่มและการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งจะทำให้เกิดการพึ่งพากันในชุมชน เกิดการจัดการขยะชุมชนเพื่อคัดแยกและแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ สร้างอาชีพ สร้างรายได้ กลับคืนสู่ชุมชน ช่วยลดผลกระทบจากของเหลือทิ้งภาคการเกษตร และลดมลพิษจากการเผาไหม้ในที่โล่งแจ้ง เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทดแทนให้เกิดประโยชน์ ด้วยนวัตกรรมสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะชุมชนร่วมกับของเหลือทิ้งภาคการเกษตร เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ผลักดันให้เกิดการขยายผลจากท้องถิ่นสู่ระดับประเทศ ด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (วทน.) จาก วว. และหน่วยงานเครือข่าย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save