ระบบอัตโนมัติและการใช้พาหนะร่วมกัน การพลิกโฉมการผลิตในปี 2573


บริษัท Strategy & ของ PwC วางแนวคิดปฏิวัติวงการ อุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกครั้งสำคัญ ดึงเทรนด์การใช้ ยานพาหนะร่วมกันและระบบอัตโนมัติ ในฐานะที่ไทยเป็นหนึ่ง ในประเทศที่เป็นฐานการผลิตและประกอบยานยนต์และชิ้นส่วน ยานยนต์ที่สำคัญของโลก ทำให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาการผลิตยานพาหนะที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ (Connected Car) รวมไปถึงการผลิตยานพาหนะตามความต้องการเฉพาะของผู้บริโภค และ การเป็นผู้ให้บริการธุรกิจเคลื่อนที่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะพลิกโฉมรูปแบบการผลิตยานยนต์ รวมถึง Mindset ในการเดินทางขนส่งให้เปลี่ยนไปจากเดิม โดยมีเป้าหมายที่จะ เปลี่ยนโฉมหน้าการผลิตและกำลังแรงงานของอุตสาหกรรมนี้ภายในปี พ.ศ. 2573 ซึ่งยานยนต์ที่ถูกออกแบบเฉพาะความต้องการของบุคคลและเชื่อมต่อกับเทคโนโลยี จะยิ่งเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น

วิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานธุรกิจที่ปรึกษา PwC Thailand เปิดเผยถึงรายงาน Transforming Vehicle Production by 2030 : How Shared Mobility and Automation will Revolutionize the Auto Industry ที่จัดทำโดย บริษัท Strategy & (สแตร็ดติจี้ แอนด์) ของ PwC ว่า ได้คาดการณ์ถึงการเปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นอย่างมีนัยสำคัญต่อผู้ผลิตยานยนต์และชิ้นส่วน รวมถึงผู้ใช้ยานพาหนะในระยะข้างหน้า ภายในปี พ.ศ. 2573 การผลิตยานพาหนะจะถูกแบ่งออกเป็นการผลิตเพื่อใช้จำนวนมาก โดยส่วนใหญ่จะถูกผลิตออกมาแบบเรียบง่าย และผลิตตามความต้องการ (Cars on Demand) ซึ่งรถยนต์ในลักษณะนี้จะถูกนำไปใช้ให้เช่า เพื่อการเดินทางในแต่ละครั้ง (Journey-by-Journey) ในขณะที่อีกส่วนจะเป็นการผลิตยานพาหนะที่ออกแบบขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับผู้ใช้ที่ยังคงต้องการเป็นผู้ขับขี่ หรือเป็นผู้นั่งในยานพาหนะของตนเอง

แนวคิดการแบ่งปันยานพาหนะร่วมกัน (Shared Mobility) และระบบอัตโนมัติ ดังกล่าว จะทำให้ผู้ประกอบการที่รับจ้างผลิตสินค้าหรือชิ้นส่วนให้กับค่ายรถยนต์ (Original Equipment Manufacturers : OEM) ต่างต้องเร่งพัฒนารูปแบบของโรงงาน 2 ประเภท ประกอบด้วย

  1. โรงงานที่มุ่งเน้นไปที่การผลิตยานพาหนะที่เป็นแบบมาตรฐาน สามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์และทำงานได้อย่างอัตโนมัติ (Plug and Play Vehicles) เพื่อดึงดูดผู้ใช้รถในเมืองที่มีอายุน้อย
  2. โรงงานที่ผลิตยานพาหนะตามความต้องการเฉพาะของผู้บริโภค ซึ่งมี ความคล้ายคลึงกับตลาดรถหรูในปัจจุบัน
วิไลพร ทวีลาภพันทอง
วิไลพร ทวีลาภพันทอง

ด้วยแนวโน้มดังกล่าว การผลิตและกำลังแรงงานของอุตสาหกรรมที่ถูกออกแบบเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีอัตโนมัติ จะทำให้ขนาดของกำลังแรงงานในสาย การประกอบ ตัวถัง และสีรถยนต์จะลดลงกว่าครึ่ง หลังระบบอัตโนมัติและยานพาหนะ ประเภทใหม่ถูกผลิตขึ้น บทบาทของพนักงานที่ดูแลระบบโลจิสติกส์ภายในพื้นที่หน้างานจะลดลงประมาณ 60% หลังถูกแทนที่ด้วยพาหนะลำเลียงอัตโนมัติ ความต้องการวิศวกรข้อมูลจะเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในโรงงานบางประเภท และมากถึง 80% ในบางแห่ง ขณะที่วิศวกรซอฟต์แวร์จะเป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นถึง 90% และยานพาหนะที่สามารถแบ่งปันและใช้ร่วมกันได้ จะมีสัดส่วนคิดเป็น 30% ของตลาดในยุโรป

“นอกจากนี้ แนวโน้มดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่าง อย่างสิ้นเชิงต่อกำลังแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพราะหุ่นยนต์ได้เข้ามามีบทบาทในการทำงานมากขึ้น ทั้งในส่วนของสายการประกอบและในด้านของการวิจัยและพัฒนา โดยคาดว่า 40-60% ของแรงงานที่มีทักษะร่วมสมัยจะเป็นที่ต้องการเพื่อประจำการในพื้นที่หน้างาน ขณะที่ จำนวนความต้องการวิศวกรข้อมูลและวิศวกรซอฟต์แวร์จะเพิ่มขึ้นถึง 90%” วิไลพร กล่าว

ไฮโค เวเบอร์ หุ้นส่วนบริษัท Strategy& ของ PwC ประเทศเยอรมนี กล่าวว่า กระแสของการเปลี่ยนแปลงจะเริ่มทยอยเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ซึ่งผู้ประกอบการ OEM ต้องเริ่มสร้างกำลังแรงงานที่ตัวเองจะต้องการ ในอีก 10 ปีข้างหน้าตั้งแต่ตอนนี้ ทั้งการจ้างบุคลากรที่มีทักษะที่ใช่ การรักษา Talent และการฝึกอบรมทักษะเดิมของพนักงานที่มีอยู่ โดยภายในปี พ.ศ. 2573 จำนวนความต้องการวิศวกรข้อมูลจะเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในโรงงานที่ผลิตรถยนต์ตามความต้องการเฉพาะของลูกค้า และเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 80% ในโรงงานที่ผลิตรถยนต์ประเภท Plug and Play และเช่นเดียวกัน ความต้องการวิศวกรซอฟต์แวร์จะเพิ่มขึ้นถึง 90% ในโรงงานที่ผลิตรถยนต์ตามความต้องการเฉพาะของลูกค้า และ 75% ในโรงงานผลิตประเภท Plug and Play ตามลำดับ

ทั้งนี้ กระแสของการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ จะมีให้เห็นด้วยเช่นกัน อาทิ ระยะเวลาระหว่างการทำวิจัยและพัฒนากับการผลิตจะสั้นลงเหลือแค่ 2 ปี เปรียบเทียบกับปัจจุบันที่ราว 3-5 ปี ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการผลิตแบบ OEM จะเผชิญกับภาวะการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากบริษัทด้านเทคโนโลยีที่เข้ามาให้บริการ ระบบขนส่งเคลื่อนที่ (Mobility-as-a-Service : MaaS) ทั้งในลักษณะของการบริการยานยนต์เคลื่อนที่ อัตโนมัติเชิงพาณิชย์ และบริการระบบ ขนส่งมวลชนเคลื่อนที่ให้แก่ลูกค้า ได้โดยตรง ซึ่งผู้ผลิตแบบ OEM จะได้รับแรงกดดันในการต้อง สร้างกระบวนการผลิตให้เกิด คุ้มค่ามากขึ้นกว่าเดิม เพื่อรองรับ กับรูปแบบของยวดยานพาหนะและการออกแบบที่มีความหลากหลายมากขึ้น


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 92 มีนาคม-เมษายน 2562 คอลัมน์ AUTO Challenge โดย กองบรรณาธิการ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save