ประเทศจีนได้ประกาศแผนการห้ามผลิตเครื่องสำอางที่มีเม็ดพลาสติกขนาดเล็ก หรือ Microbeads เป็นส่วนประกอบ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2563 โดยสินค้าที่ผลิตแล้วและมีส่วนประกอบของ Microbeads จะยังคงสามารถจำหน่ายได้ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ถือเป็นหนึ่งในความตั้งใจของประเทศตลาดเครื่องสำอางที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ที่ต้องการลดปัญหามลพิษไมโครพลาสติก
การประกาศห้ามการใช้ Microbeads ดังกล่าว จะมีผลกระทบอย่างมากต่อผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคลซึ่งใช้ในชีวิตประจำวัน และมีผลต่ออุตสาหกรรมเครื่องสำอางของประเทศจีน ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ Microbeads เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์
เนื่องจากจีนเป็นตลาดเครื่องสำอางที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ดังนั้นการประกาศห้ามผลิตเครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของ Microbeads ในครั้งนี้ จึงเป็นขั้นตอนที่เด็ดขาดต่อการจัดการกับมลพิษทางไมโครพลาสติก และจะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญต่อแนวทางการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตเครื่องสำอางของอุตสาหกรรมเครื่องสำอางจีน ซึ่งปัจจุบันมีกำลังการผลิตเครื่องสำอางมากกว่า 1.2 ล้านตันต่อปี นอกจากนี้คาดว่าประกาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคตดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อแบรนด์เครื่องสำอางระดับโลกหลายแบรนด์ที่มีจำหน่ายในประเทศจีนด้วย
สำหรับการประกาศห้ามใช้ Microbeads ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง นอกจากประเทศจีนแล้ว ก่อนหน้ามีหลายประเทศที่ได้ประกาศห้ามแล้ว อาทิ ในหลายมลรัฐของสหรัฐฯ ที่มีการห้ามสินค้าที่มีส่วนผสมของ Microbeads รวมถึงอังกฤษที่ได้ใช้มาตรการห้ามการผลิตเม็ดพลาสติกขนาดเล็ก หรือ ไมโครบีดส์ (Microbeads) ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกายต่างๆ แล้ว นั่นทำให้แบรนด์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายที่สำคัญหลายแห่งได้ทำการเลิกใช้ หรือกำลังเปลี่ยนแนวทางการผลิตที่ไม่ใช้ Microbeads เป็นส่วนประกอบแล้ว
ไมโครบีดส์ (Microbeads)ไมโครบีดส์ (Microbeads) หรือ เม็ดบีดส์ คือชิ้นส่วนเล็ก ๆ ของพลาสติกที่เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ยาสีฟัน น้ำยาทำความสะอาด และผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายส่วนบุคคลอื่น ๆ อีกมากมาย ส่วนใหญ่จะทำจากโพลีเอทิลีน แต่สามารถทำจากพลาสติกปิโตรเคมีอื่น ๆ ได้ เช่น โพลีโพรพิลีนและโพลีสไตรีน โดย Microbeads มีขนาดเล็กกว่า 0.5 มิลลิเมตร และด้วยขนาดที่มีความเล็กมากทำให้เม็ดบีดส์สามารถทะลุลอดผ่านตัวกรองทุกชนิด จากบ้านเรือนลงสู่ท่อระบายน้ำ ผ่านระบบบำบัดน้ำเสีย และเนื่องจากไมโครบีดส์ทำจากพลาสติก จึงทำให้ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เมื่อ Microbeads ไหลจากท่อน้ำลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ สุดท้ายกลายเป็นไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำและมหาสมุทร ไมโครบีดส์ ที่ปนเปื้อนในแหล่งน้ำทำหน้าที่เป็นเหมือนตัวดูดซับสารพิษต่างๆ ที่มีอยู่ในน้ำ และเมื่อสัตว์น้ำ สัตว์ทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา กินเม็ดพลาสติกเหล่านี้เข้าไป ทำให้สารพิษต่างๆ เหล่านี้ถูกสะสมในเนื้อเยื่อ ไมโครบีดส์จึงกลายเป็นเหมือนพาหะ ที่นำพาสารพิษต่างๆ จากแหล่งน้ำ จากทะเลสู่ สัตว์ทะเล และนำสารพิษต่างๆ ไปสู่คนได้ผ่านการบริโภคอาหารทะเล จากปัญหาข้างต้นทำให้หลายประเทศในโลกตะหนักถึงมลพิษของไมโครบีดส์ และหันมาออกกฏหมายห้ามอุตสาหกรรมเครื่องสำอางในประเทศใช้ Microbeads เป็นส่วนประกอบ อาทิ
นอกจากนี้ การออกกฏหมายห้ามใช้ไมโครบีดส์ (Microbeads) ทำให้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์แบรนด์ดังหลายๆ แบรนนด์ หันมาพัฒนาเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติแทน รวมถึงความพยายามในการศึกษาวิจัย เพื่อผลิตเม็ดบีดส์ ที่สามารถย่อยสลายได้ทางธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้ทดแทนเม็ดบีดส์ที่เป็นพลาสติกด้วย |
ที่มาข้อมูล : China to ban microbeads in cosmetics by the end of 2020
chemicalwatch.com/85303/china-to-ban-microbeads-in-cosmetics-by-the-end-of-2020#overlay-strip