สิ่งที่จะทำให้การประกอบกิจการโรงงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเกิดความยั่งยืน ก็คือ การสร้าง “วัฒนธรรมสีเขียว” (Green Culture) ให้เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กร
สำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแล้ว จะต้องพัฒนาองค์กรเข้าสู่ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตาม มาตรฐาน มอก. ISO 14001 หรือตามมาตรฐานอื่น ๆ ที่เทียบเท่าให้ได้ก่อน หลังจากนั้นผู้บริหารจะต้องมีกระบวนการสงวัฒนธรรมองค์กรที่สามารถนําไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผลได้
การสร้างวัฒนธรรมจะเริ่มด้วยการมีกระบวนการในการสร้างค่านิยม และจิตสํานึกด้านการอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อมอมอย่างแพร่หลายด้วยการประกาศนโยบายที่ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องทำให้พนักงานใน องค์กรทุกคนยอมรับค่านิยมนั้น ๆ ด้วยการปฏิบัติตามคู่มือ และมาตรการการทำงานจนเป็นนิสัย
องค์กรจะต้องมีกระบวนการที่ทำให้บุคลากรภายในองค์กรเกิดความเชื่อมั่นเกี่ยวกับผู้บริหาร และความ สามารถขององค์กร (ผู้บริหารและทีมงาน) ในการดําเนินการเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และลดผล กระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนด้วย
ที่สำคัญก็คือ องค์กรจะต้องมีกิจกรรมส่งเสริมเพื่อให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะสะท้อนถึง การแสดงออกของค่านิยมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น การเลือกทิ้งขยะลงถังที่แยกไว้ สำหรับขยะแห้ง ขยะเปียก และขยะประเภทถ่านไฟฉายหรืออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ดังนั้นผู้บริหารจะต้องกําหนดแนวทางสําหรับการปฏิบัติ โดยจัดทำเป็นคู่มือหรือมาตรฐานการทำงาน เพื่อให้พฤติกรรมของทุกคน (ทั้งผู้บริหารและพนักงาน) คงอยู่อย่างยั่งยืนจนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ ความสำคัญและใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม (ทั้งด้านการอนุรักษ์และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต) และเพื่อให้เกิดประสิทธิผลอย่างแท้จริง องค์กรจะต้องมีการกําหนดวิธีการในการตรวจประเมินความคง อยู่ของวัฒนธรรมองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมด้วย
นอกจากที่กล่าวขั้นต้นแล้ว องค์กรจะต้องมีการกำหนดวิธีการในการประเมินผลกระทบจากการตัดสิน ใจ และการดําเนินการต่าง ๆ ขององค์กรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะผลกระทบด้านลบที่สําคัญ ๆ
องค์กรจะต้องมีการประเมินผลกระทบด้านลบที่สําคัญ ๆ ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในกรณีที่มีการตัดสินใจเกี่ยวกับการพัฒนาและหรือการปรับปรุงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ หรือบริการ กระบวนการผลิต รวมทั้งเครื่องจักร หรืออุปกรณ์ สถานที่ประกอบการ ตลอดจนกลยุทธ์ทางธุรกิจด้วย
องค์กรจะต้องจัดทําแผนงาน หรือกําหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อรองรับ และป้องกันผลกระทบด้านลบที่ สําคัญ ๆ พร้อมกันนั้นองค์กรจะต้องมีการทบทวนและทวนสอบมาตรการป้องกันผลกระทบที่สําคัญ ๆ เป็นระยะ ๆ เพื่อให้มั่นใจว่า มาตรการต่าง ๆ ที่มีอยู่ยังคงเหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
ในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดในกระบวนการผลิตหรือเกิดจากการทํางาน องค์กรจะต้องมีการกําหนด มาตรการที่เหมาะสม เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และปฏิบัติการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้น ซ้ำอีกพร้อมทั้งบันทึกผลการดําเนินการต่าง ๆ ไว้เป็นหลักฐานเพื่อการตรวจสอบและการเรียนรู้ต่อไป
ทั้งหมดทั้งปวงนี้สิ่งที่จะทำให้เกิด “วัฒนธรรมสีเขียว” (Green Culture) ก็คือ ผู้บริหารระดับสูง และทีมงานจะต้องมุ่งมั่นและจริงจังในการดำเนินการต่าง ๆ ทั้งประเภทที่มีรูปแบบเป็นทางการ (ที่ประกาศเป็น ลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน) และอื่น ๆ ที่ไม่เป็นทางการ (การพูดจูงใจ การให้กำลังใจ) ในทุกรูปแบบที่สะท้อน ถึงความเป็นวัฒนธรรมองค์กร ในการให้ความสำคัญกับการประกอบกิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมี ความรับผิดชอบต่อชุมชนรอบข้าง รวมตลอดถึงผลกระทบที่จะมีต่อสังคมด้วย
ในวันนี้การสร้างวัฒนธรรมสีเขียวนี้ แม้จะเป็นเรื่องยาก แต่ก็ควรจะทำให้เกิดขึ้นเพื่อภาพลักษณ์และ ความยั่งยืนขององค์กร ครับผม !
Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 97 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2563 คอลัมน์ GREEN Industry โดย ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี