ทีมนักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริก สวิตเซอร์แลนด์ ได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรคาร์บอนเหลว จากแสงแดดและอากาศได้เป็นครั้งแรก โดยเป็นการแยกก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากอากาศ ก่อนที่จะเปลี่ยนให้กลายเป็นเชื้อเพลิงที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาในระหว่างกระบวนการเผาไหม้
สำหรับเทคโนโลยีใหม่ดังกล่าว นักวิจัยได้ทดลองสร้างโรงกลั่นขนาดเล็กจากพลังงานแสงอาทิตย์ไว้บนหลังคาของสถาบัน และสามารถผลิตน้ำมันได้ประมาณ 1 เดซิลิตรต่อวัน ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันว่าเทคโนโลยีใหม่นี้ มีความเป็นไปได้ แม้จะยังมีข้อจำกัดภายใต้เงื่อนไขด้านสภาพภูมิอากาศก็ตาม โดยล่าสุดทีมวิจัยได้ขยายขอบเขตการวิจัย ทำการทดสอบที่มีขนาดใหญ่ขึ้นบนหอพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ใกล้กรุงมาดริด ประเทศสเปน
ทั้งนี้เป้าหมายต่อไปของนักวิจัยคือ การยกระดับเทคโนโลยีนี้ให้สามารถนำไปใช้ได้ในเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งคาดว่าโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาด 1 ตารางกิโลเมตร จะสามารถผลิตน้ำมันได้กว่า 2 หมื่นลิตรต่อวัน ซึ่งปริมาณดังกล่าวครอบคลุมความต้องการด้านเชื้อเพลิงในภาคอุตสาหกรรมการบินทั้งหมด และที่สำคัญคือ เทคโนโลยีนี้เป็นการผลิตเชื้อเพลิงที่ยั่งยืน และยังช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อีกด้วย
Source: credit ภาพ – The solar reactor on the roof of the ETH, Sonneggstrasse, Zurich. (Alessandro Della Bella)
www.swissinfo.ch/eng/climate_carbon-neutral-solar-fuel-prototype-developed-in-zurich/45030700
www.sciencedaily.com/releases/2019/06/190613103146.htm