หุ่นยนต์รีไซเคิล…เพื่อแก้ปัญหาวิกฤตขยะพลาสติกชนิดอ่อน


การพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิลทำให้การรีไซเคิลพลาสติกมีหลายวิธี แต่มีพลาสติกบางชนิดที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ต้องกำจัดด้วยวิธีฝังกลบเท่านั้น หนึ่งในนั้นคือ ขยะพลาสติกชนิดอ่อน เช่น ฟิล์มแรปอาหาร ถุงบรรจุภัณฑ์ชนิดอ่อน และถุงพลาสติก พลาสติกเหล่านี้คิดเป็น 94 เปอร์เซ็นของขยะพลาสติกทั้งหมดที่ถูกนำไปฝังกลบในช่วงปี 2016-2017

การรีไซเคิลขยะพลาสติกอ่อนเป็นเรื่องยุ่งยาก พวกมันมักไปติดค้างในเครื่องจักรขัดแยกขยะ นอกจากนี้ยังเข้าไปปะปนกับวัสดุรีไซเคิลอื่น ที่ผ่านมาต้องอาศัยแรงงานคนในการคัดแยกพลาสติกชนิดอ่อนเหล่านี้ ซึ่งเป็นขั้นตอนการทำงานที่ซ้ำซากและไม่ปลอดภัย

นักวิจัยจาก Center for Internet of Things (IoT) และโทรคมนาคมแห่งมหาวิทยาลัยซิดนีย์ได้ร่วมมือกับพันธมิตรในอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทุนสนับสนุนโครงการศูนย์วิจัยความร่วมมือของรัฐบาลกลาง เพื่อพัฒนาวิธีการพิเศษในการรีไซเคิลพลาสติกอ่อน โดยได้พัฒนาระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติที่ทำงานร่วมกับ AI และคอมพิวเตอร์วิทัศน์เพื่อเรียนรู้วิธีระบุรูปแบบต่าง ๆ ของขยะรีไซเคิล ระบบจะทำการคัดแยกประเภทของขยะแต่ละอย่าง และแยกพลาสติกอ่อนออกจากวัสดุรีไซเคิลอื่นเพื่อให้สามารถนำไปรีไซเคิลได้

หุ่นยนต์รีไซเคิล เครดิต: มหาวิทยาลัยซิดนีย์

หลังจากแยกจากขยะอื่นแล้ว พลาสติกอ่อนจะถูกนำไปรีไซเคิลเพื่อผลิตเป็นน้ำมันและสารเคมีที่มีค่าอื่น ๆ ซึ่งเป็นเทคโนโลยี Catalytic Hydrothermal Reactor (Cat-HTR) ที่จดสิทธิบัตรโดย Licella Holdings Licella ก่อตั้งโดยศาสตราจารย์ Thomas Maschmeyer จากคณะวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ Dr Len Humphreys CEO ของ Licella และได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์เป็นเวลา 14 ปี

ทั้งนี้ ขยะพลาสติกอ่อนเป็นขยะส่วนใหญ่ในหลุมฝังกลบ และถือเป็นความท้าทายสำหรับภาคเศรษฐกิจหมุนเวียนและการจัดการขยะมาอย่างยาวนาน เนื่องจากขาดวิธีในการคัดแยกที่เหมาะสมและปัญหาในด้านความปลอดภัย

จากข้อมูลระหว่างปี 2018-2019 ออสเตรเลียสร้างขยะพลาสติกกว่า 2.5 ล้านตัน ซึ่งรวมถึงพลาสติกอ่อน แต่มีเพียง 9 เปอเซนต์เท่านั้นที่ถูกนำไปรีไซเคิล ในขณะที่อีก 84 เปอเซนต์ถูกนำไปยังหลุมฝังกลบ

ด้วยเทคโนโลยี IoT ล่าสุดที่สามารถสร้างหุ่นยนต์ที่สร้างโปรแกรมได้เองเพื่อแก้ไขปัญหาการคัดแยกขยะ ทำให้สามารถนำขยะพลาสติกอ่อนกลับมาสู่กระบวนการรีไซเคิลได้มากขึ้น และลดขยะในหลุมฝังกลบให้น้อยลง


Ref. : Recycling robot could help solve soft plastic waste crisis
www.sydney.edu.au/news-opinion/news/2021/06/23/recycling-robot-could-help-solve-soft-plastic-waste-crisis-.html


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save