มหาวิทยาลัยศรีปทุมเปิดตัว “ต้นแบบเรือนไม้ประหยัดพลังงาน” (Japanese Tea Pavilion) ภายใต้รูปแบบการก่อสร้างและการเข้าไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ ผสมสานเข้ากับศาสตร์และนวัตกรรมลดการใช้พลังงาน เพื่อตอบโจทย์รูปแบบการก่อสร้างและธุรกิจอย่างยั่งยื่นในอนาคต ภายใต้ความร่วมมือครั้งสำคัญกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยประเทศญี่ปุ่นผ่านการจัดตั้ง Wood training center ฝึกกอบรม “ทักษะช่างไม้ในงานก่อสร้างแบบญี่ปุ่น” ทั้งรูปแบบหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาว เป็นการเพิ่มโอกาสนักศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ต่อยอดองค์ความรู้และขยายสู่เส้นทางวิชาชีพโอกาสร่วมงานกับบริษัทออกแบบและก่อสร้าง ไทย – ญี่ปุ่น
ดร.รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า ในโอกาสครบรอบ 50 ปีมหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้เดินหน้าขยายเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างมหาวิทยาลัยกับผู้ประกอบการภาคธุรกิจชั้นแนวหน้าระดับประเทศ ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน เรียนกับตัวจริงประสบการณ์จริง ดังนั้นการที่นักศึกษาได้เรียนรู้ลงมือปฏิบัติจริง จะช่วยเพิ่มพูนทักษะและประสบการณ์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อความก้าวหน้าในวิชาชีพเมื่อจบการศึกษา
และต้นแบบเรือนไม้ประหยัดพลังงาน ตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยศรีปทุมประกอบด้วย 2 อาคาร คืออาคารศาลาพักผ่อน ซึ่งสามารถดัดแปลงเป็นบ้านเรือนพักอาศัย และอาคารดื่มน้ำชา เพื่อสะท้อนถึงวัฒนธรรมการดื่มน้ำชาของญี่ปุ่น และมีการใช้วัสดุไม้ที่มีชื่อว่า ไม้สุกิ มีลักษณะพิเศษคือมีกลิ่นหอมและมีคุณค่าเทียบเท่าไม้สักของคนไทย นอกจากนี้ตัวอาคารยังมีการติดตั้งนวัตกรรมและวัสดุที่น่าสนใจประกอบไปด้วย นวัตกรรมป้องกันแผ่นดินไหวอุปกรณ์ป้องกันปลวก แผ่นป้องกันเสียง รวมทั้งการป้องกันความร้อนและความเย็นโดยใช้เทคโนโลยีวัสดุด้านInsulation ที่ทำงานร่วมกับผนังได้เป็นอย่างดี นี้เป็นการตอบโจทย์กระแสความต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมก่อสร้างในปัจจุบัน ที่นอกจากความสวยงามของอาคารแล้ว ยังมีการคำนึงถึงเรื่องลดการใช้พลังงานภายในตัวอาคาร เป็นการตอบโจทย์ให้กับผู้บริโภค เนื่องจากในปัจจุบันเทรนด์โลกให้ความสำคัญเรื่องของการช่วยกันลดการใช้พลังงาน เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับโลก
ทางด้าน Prof. Shin Murakami ผู้อำนวยการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย Sugiyama กล่าว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นการผสานองค์ความรู้ทางวิชาการครั้งสำคัญ ซึ่งสถาบันการศึกษาทั้งสองประเทศจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกัน โดยเฉพาะในด้านทักษะการออกแบบและการใช้ไม้ มาเป็นส่วนประกอบในงานสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะรายละเอียดการออกแบบงานไม้แบบญี่ปุ่นและแบบไทย ซึ่งทั้งสองศาสตร์ถือว่ามีเอกลักษณ์และเทคนิคที่สามารถนำมาประยุกต์เข้ากันได้ ช่วยให้โครงสร้างออกมาสวยงามเหมาะสมกับสภาพอากาศสภาพแวดล้อม และสิ่งที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งนั้นคือเมื่อนักศึกษาที่จบจากโปรแกรมนี้ ยังมีโอกาสในอนาคตสำหรับการเข้าร่วมทำงานกับบริษัทก่อสร้างในประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย
ทั้งนี้คณะสถาปัตยกรรม ได้ร่วมมือกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ Sugiyama university แต่ยังรวมอีกทั้ง Waseda University, Ryukyus University จากเมืองมิตซึเอะ จ.นาระ และภาคเอกชนประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในการพัฒนาหลักสูตรและการฝึกอบรม “ทักษะช่างไม้ในงานก่อสร้างแบบญี่ปุ่น” อันมีรูปแบบการก่อสร้างและการเข้าไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ผสานเข้ากับศาสตร์และนวัตกรรมลดการใช้พลังงาน เป็นการตอบโจทย์รูปแบบการก่อสร้างและธุรกิจที่ยั่งยืนในอนาคต จึงร่วมกันจัดตั้ง wood training center หลักสูตรระยะสั้นผ่านการฝึกปฏิบัติโครงการสหกิจศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นระยะเวลา 4 เดือน และระยะยาวในรูปแบบ Dual Degree ถือเป็นโอกาสทางการศึกษาสำหรับนักศึกษาและผู้ที่สนใจด้านการก่อสร้างอาคารไม้ในรูปแบบของการออกแบบเพื่อประหยัดพลังงาน