กฟผ. เตรียมลุยโครงการไฮบริดที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ‘พลังน้ำ’ ผสาน ‘โซลาร์เซลล์บนเขื่อน’


การหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นเรื่องที่ทุกประเทศให้ความสนใจกันอย่างล้นหลาม เพราะเป็นพลังงานที่สะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่พลังงานหมุนเวียนก็ยังมีข้อจำกัดที่ว่า ‘ยังไม่เสถียร’ เพราะพลังงานหมุนเวียนแต่ละชนิดจะมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน การนำพลังงานหมุนเวียนหลากหลายรูปแบบเข้ามาผสานกันเพื่อสร้างเสถียรภาพ (Firm) ด้วยระบบ Integrated Renewable Firm Power System จึงเป็นหนึ่งทางเลือกที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อแก้ไขข้อจำกัด ให้พลังงานหมุนเวียนสามารถจ่ายไฟฟ้าได้เต็มศักยภาพ และเสถียรมากที่สุด

โครงการ Hydro-Floating Solar Hybrid ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน (ASEAN)

รูปแบบที่ กฟผ. จะดำเนินการเป็น “ระบบ Hydro-Floating Solar Hybrid” หรือระบบผลิตไฟฟ้าผสมผสานระหว่าง ‘พลังน้ำจากเขื่อน’ และ ‘พลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์เซลล์ลอยน้ำบนเขื่อน’ ซึ่งจะเป็นโครงการไฮบริดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน (ASEAN) ที่มีจุดเด่นของโครงการคือ

1. ราคาต่ำ โดยองค์ประกอบที่ทำให้ราคาต่ำ ได้แก่

– เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีกำลังผลิตมากกว่า 30 เมกะวัตต์ขึ้นไป (Economy of Scale)
– ใช้โครงสร้างของระบบไฟฟ้าเดิมที่ กฟผ. มีรองรับอยู่เช่น ระบบเชื่อมต่อไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า โดยใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และบริหารจัดการพื้นที่ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Maximized Existing Facility)

2. เสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า ด้วยระบบ Integrated Renewable Firm Power System โดยโครงการจะเริ่มที่ระบบ Hydro-Floating Solar Hybrid และในอนาคตสามารถพัฒนาร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) เพื่อให้ระบบไฟฟ้ามีความมั่นคงมากขึ้น

3. ไม่กระทบต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม

– จะใช้พื้นที่ผิวน้ำบนเขื่อน กฟผ. ในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ ทำให้ไม่กระทบกับพื้นที่การเกษตร และเส้นทางการเดินเรือของชุมชน และผู้ที่ใช้ชีวิตประจำวันในบริเวณพื้นที่เขื่อน
– ใช้เทคโนโลยีในการสำรวจ และตรวจสอบสภาพสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบสารสนเทศ (GIS) และหุ่นยนต์ถ่ายภาพใต้น้ำ
– วัสดุที่ใช้ในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ลอยน้ำเป็นแบบเดียวกับท่อประปา จึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นเรื่องที่ทุกประเทศให้ความสนใจกันอย่างล้นหลาม เพราะเป็นพลังงานที่สะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่พลังงานหมุนเวียนก็ยังมีข้อจำกัดที่ว่า ‘ยังไม่เสถียร’ เพราะพลังงานหมุนเวียนแต่ละชนิดจะมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน การนำพลังงานหมุนเวียนหลากหลายรูปแบบเข้ามาผสานกันเพื่อสร้างเสถียรภาพ (Firm) ด้วยระบบ Integrated Renewable Firm Power System จึงเป็นหนึ่งทางเลือกที่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อแก้ไขข้อจำกัด ให้พลังงานหมุนเวียนสามารถจ่ายไฟฟ้าได้เต็มศักยภาพ และเสถียรมากที่สุด โครงการ Hydro-Floating Solar Hybrid ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน (ASEAN) รูปแบบที่ กฟผ. จะดำเนินการเป็น “ระบบ Hydro-Floating Solar Hybrid” หรือระบบผลิตไฟฟ้าผสมผสานระหว่าง ‘พลังน้ำจากเขื่อน’ และ ‘พลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์เซลล์ลอยน้ำบนเขื่อน’ ซึ่งจะเป็นโครงการไฮบริดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน (ASEAN) ที่มีจุดเด่นของโครงการคือ 1. ราคาต่ำ โดยองค์ประกอบที่ทำให้ราคาต่ำ ได้แก่ - เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีกำลังผลิตมากกว่า 30 เมกะวัตต์ขึ้นไป (Economy of Scale) - ใช้โครงสร้างของระบบไฟฟ้าเดิมที่ กฟผ. มีรองรับอยู่เช่น ระบบเชื่อมต่อไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้า โดยใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และบริหารจัดการพื้นที่ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Maximized Existing Facility) 2. เสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า ด้วยระบบ Integrated Renewable Firm Power System โดยโครงการจะเริ่มที่ระบบ Hydro-Floating Solar Hybrid และในอนาคตสามารถพัฒนาร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System) เพื่อให้ระบบไฟฟ้ามีความมั่นคงมากขึ้น 3. ไม่กระทบต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม - จะใช้พื้นที่ผิวน้ำบนเขื่อน กฟผ. ในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ลอยน้ำ ทำให้ไม่กระทบกับพื้นที่การเกษตร และเส้นทางการเดินเรือของชุมชน และผู้ที่ใช้ชีวิตประจำวันในบริเวณพื้นที่เขื่อน - ใช้เทคโนโลยีในการสำรวจ และตรวจสอบสภาพสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบสารสนเทศ (GIS) และหุ่นยนต์ถ่ายภาพใต้น้ำ - วัสดุที่ใช้ในการติดตั้งโซลาร์เซลล์ลอยน้ำเป็นแบบเดียวกับท่อประปา จึงเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เดินหน้าโครงการนำร่อง 2 เขื่อน ปัจจุบัน กฟผ. อยู่ในช่วงสำรวจการติดตั้งโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำใน 9 เขื่อน ทั่วประเทศไทย พบว่า มีศักยภาพติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้มากถึง 2,725 เมกะวัตต์ จึงมีแผนจะเริ่มโครงการนำร่องก่อน จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ 1. เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี กำลังผลิต 45 เมกะวัตต์ 2. เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น กำลังผลิต 24 เมกะวัตต์ ช่วยบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด หลักการทำงานของระบบดังกล่าว ไม่เพียงช่วยเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า แต่ยังช่วยในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้ - ในกรณีที่ปริมาณน้ำมีมากพอ เขื่อนจะผลิตไฟฟ้ารองรับความพร้อมจ่ายของระบบสูงสุดได้' - ในกรณีที่ปริมาณน้ำมีจำกัด โซลาร์เซลล์จะช่วยให้มีการบริหารจัดการน้ำมีความยืดหยุ่น เช่น ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงกลางวัน และการนำพลังน้ำมาเสริมในช่วงความต้องการไฟฟ้าสูง (กำลังการผลิตมากเพื่อเสริมช่วง Peak) ในเวลากลางคืน หรือการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำต่อเนื่อง แต่กำลังการผลิตน้อยเพื่อเสริมความต้องการของระบบไฟฟ้า แนวคิดการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้งานผสมผสานเพื่อเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า เป็นความพยายามของ กฟผ. ในการพัฒนาพลังงานสะอาดควบคู่ไปกับภารกิจการสร้างเสถียรภาพทางไฟฟ้าให้คนไทยตามวิสัยทัศน์ กฟผ. ที่ว่า “นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าเพื่อชีวิตที่ดีกว่า” ข้อมูล: https://www.egat.co.th

เดินหน้าโครงการนำร่อง 2 เขื่อน

ปัจจุบัน กฟผ. อยู่ในช่วงสำรวจการติดตั้งโครงการโซลาร์เซลล์ลอยน้ำใน 9 เขื่อน ทั่วประเทศไทย พบว่า มีศักยภาพติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้มากถึง 2,725 เมกะวัตต์ จึงมีแผนจะเริ่มโครงการนำร่องก่อน จำนวน 2 โครงการ ได้แก่

1. เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี กำลังผลิต 45 เมกะวัตต์
2. เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น กำลังผลิต 24 เมกะวัตต์

ช่วยบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

หลักการทำงานของระบบดังกล่าว ไม่เพียงช่วยเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า แต่ยังช่วยในเรื่องของการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดได้

– ในกรณีที่ปริมาณน้ำมีมากพอ เขื่อนจะผลิตไฟฟ้ารองรับความพร้อมจ่ายของระบบสูงสุดได้’
– ในกรณีที่ปริมาณน้ำมีจำกัด โซลาร์เซลล์จะช่วยให้มีการบริหารจัดการน้ำมีความยืดหยุ่น เช่น ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในช่วงกลางวัน และการนำพลังน้ำมาเสริมในช่วงความต้องการไฟฟ้าสูง (กำลังการผลิตมากเพื่อเสริมช่วง Peak) ในเวลากลางคืน หรือการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังน้ำต่อเนื่อง แต่กำลังการผลิตน้อยเพื่อเสริมความต้องการของระบบไฟฟ้า

แนวคิดการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้งานผสมผสานเพื่อเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า เป็นความพยายามของ กฟผ. ในการพัฒนาพลังงานสะอาดควบคู่ไปกับภารกิจการสร้างเสถียรภาพทางไฟฟ้าให้คนไทยตามวิสัยทัศน์ กฟผ. ที่ว่า “นวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าเพื่อชีวิตที่ดีกว่า”

ข้อมูล: https://www.egat.co.th


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 91 มกราคม-กุมภาพันธ์ 2562 คอลัมน์ RE Update โดย กองบรรณาธิการ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save