กนอ. จับมือ โดวะฯ บริษัทเอกชนชั้นนำญี่ปุ่น ลงนามความร่วมมือกำจัดสารฟลูออโรคาร์บอน (FCs) สู้วิกฤติภาวะโลกร้อน ลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม


การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เดินหน้าโครงการส่งเสริมการจัดการสารฟลูออโรคาร์บอน หรือ FCs (Strategic Promotion of Recovery and Destruction of Fluorocarbons) พร้อมจับมือ 4 พันธมิตร ประกอบด้วย กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กนอ.) กรมศุลกากร ของไทย ร่วมด้วย บริษัท โดวะ อีโค่ ซิสเต็มส์ จำกัด และบริษัท เวสท์ แมเนจเมนท์ สยาม จำกัด ในการเก็บคืน และทำลายสารทำความเย็น รวมทั้งกำจัดสาร FCs ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก โดยยาดว่าปี 2020 จะสามารถลดการปลดปล่อยสาร FCs ได้ 219 ตันต่อปี ช่วยลดผลกระทบต่อมลภาวะสิ่งแวดล้อม

ซึ่งโครงการส่งเสริมการจัดการการบำบัดและกำจัดสารฟลูออโรคาร์บอน ได้มีพิธีลงนามความร่วมมือ โดยได้รับเกียรติจากผู้บริหารองค์กรพันธมิตร อาทิ นายจักรัฐ เลิศโอภาส รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) รวมถึง นายชัยยุทธ คำคุณ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร กรมศุลกากร นอกจากนี้ ยังมีตัวแทนจากประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วย นายโยชิโนริ ซูกา ผู้แทนถาวรอันดับหนึ่ง สถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ตลอดจน นายจุน ยามาโมโตะ ผู้แทนจากบริษัท โดวะ อีโค่ซิสเต็มส์ จำกัด และ นายอาคิโอะ โยชินาริ ประธานกรรมการบริษัท เวสท์ แมเนจเม้นท์ สยาม จำกัด

 ลงนามความร่วมมือกำจัดสารฟลูออโรคาร์บอน (FCs

ทั้งนี้ พิธีลงนาม MOU ความร่วมมือโครงการส่งเสริมการจัดการ การบำบัดและกำจัดสารฟลูออโรคาร์บอน และทำการส่งมอบทำรความเย็นระหว่างกรมศุลกากร และโครงการเตาเผา ได้นำสื่อมวลชนเยี่ยมชมโรงงานในส่วนการจัดการสารทำความเย็นและเตาเผาสำหรับไฮบริดแบตเตอรี่แห่งแรกในประเทศไทย

ทางด้านนายจักรัฐ เลิศโอภาส รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า กนอ. ได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับ บริษัท โดวะ อีโค่ ซิสเต็มส์ จำกัด (DES) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินโครงการส่งเสริมการจัดการสาร FCs ร่วมกับ กนอ. ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงสิ่งแวดล้อมญี่ปุ่น (Ministry of the Environment, Government of Japan หรือ MOEJ) และ กนอ. มอบหมายให้นายจักรรัฐ เลิศโอภาส รองผู้ว่าการ เป็นผู้แทน กนอ.ในการลงนามดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้มีการจัดการบำบัดและกำจัดสาร FCs เช่น CFCs, HCFC และ HFCs โดยคำนึงถึงวิธีการจัดการและทำลายสาร FCs ที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยมุ่งเน้นการดูแล และรักษาชั้นโอโซน รวมทั้งการเก็บกลับคืนสาร FCs ที่ใช้แล้วจากอุปกรณ์ทำความเย็น และเครื่องปรับอากาศอย่างถูกต้อง เพื่อเป็นการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยระบบเตาเผาแบบฟลูอิดไดส์เบด (Fluidized Bed) ในนิคมอุตสาหกรรมบางปู

นายจักรัฐ เลิศโอภาส รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)

สำหรับ เตาเผาฟลูอิดไดส์เบด เป็นเตาเผาที่ใช้ทรายเป็นตัวกลางในการนำความร้อน และสามารถควบคุมอัตราการป้อนสาร FCs ได้ โดยหลักการทำงานของเตาเผาฟลูอิดไดส์เบดจะเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการจัดเก็บสารทำความเย็นจากอุปกรณ์ต่างๆ เช่น แอร์ ตู้เย็น เครื่องทำความเย็น ระบบทำความเย็นในรถยนต์ โดยจะดูดสารทำความเย็นใส่ไว้ใน ถังเก็บ (Cylinder) ก่อนที่จะส่งมากำจัดที่เตาเผา ก๊าซร้อนที่เกิดขึ้นจากห้องเผาจะถูกส่งไปยังหม้อไอน้ำ (Boiler) เพื่อผลิตไอน้ำ ก่อนจะส่งต่อเข้าสู่ระบบบำบัดมลพิษทางอากาศของเตาเผา ด้วยการควบคุมอัตราการป้อนสารที่กำหนด จะทำให้เตาเผาสามารถกำจัดสาร FCs ได้มากกว่า 99.99% โดยสามารถตรวจวัดได้จากอัตราการระบายมลพิษทางอากาศที่ปล่องระบายอากาศของโครงการ ทั้งนี้ เตาเผาฟลูอิดไดส์เบดนี้สามารถเผาของแข็งได้ประมาณ 150 ตันต่อวัน และเผาของเหลวได้ประมาณ 123 ตันต่อวัน มีศักยภาพในการป้อนสาร FCs ได้ไม่เกิน 3% หรือ 4.5 ตันต่อวัน

อย่างไรก็ตาม กนอ. ได้ประสานขอความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการดังกล่าวไปยังหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น กรมศุลกากรให้การสนับสนุนในเรื่องของสาร FCs ที่จะนำมาใช้ทดลองในโครงการฯ ซึ่งเป็นสาร FCs ที่ได้จากการจับกุมสินค้าลักลอบนำเข้าอย่างผิดกฎหมาย และคดีเป็นที่สิ้นสุดเรียบร้อยแล้วประมาณ 130 ตัน นอกจากนี้ยังมีสารทำความเย็นที่มาจากโรงงานในนิคมฯ อื่นๆ ที่ใช้สารทำความเย็นในกระบวนการผลิต เช่น โรงงานผู้ผลิตเครื่องทำความเย็น เครื่องปรับอากาศ รวมถึงระบบทำความเย็นในรถยนต์ที่หมดอายุการใช้งานแล้ว และถูกส่งไปทำลาย โดยในเบื้องต้น บริษัท เวสท์ แมเนจเม้นท์ สยาม จำกัด จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งสารดังกล่าวมากำจัดด้วยเตาเผาฟลูอิดไดส์เบดในนิคมอุตสาหกรรมบางปู

 ลงนามความร่วมมือกำจัดสารฟลูออโรคาร์บอน (FCs

“การลงนามความร่วมมือ (MOU) นี้ยังถือเป็นการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของพิธีสารมอนทรีออล ที่ประเทศภาคีสมาชิกต่างๆ รวมถึงประเทศไทยต้องปรับเปลี่ยนไปใช้สารทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายชั้นโอโซน และทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนต่ำ โดยดำเนินงานอย่างบูรณาการกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดการใช้สารทดแทนในระยะยาวเป็นไปอย่างยั่งยืน รวมถึงต้องหาแนวทางและมาตรการที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และกำจัดสารเหล่านี้ให้หมดไป ซึ่งการลงนามบันทึกความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นไปเพื่อทำให้เกิดการบริหารจัดการ บำบัด และกำจัดสารฟลูออโรคาร์บอนในประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในทุกด้าน ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อนำมาซึ่งสภาพแวดล้อมที่สะอาดขึ้น รวมถึงสภาวะความเป็นอยู่ของผู้คนในชุมชนที่ดีขึ้น สอดคล้องตามวิสัยทัศน์ของ กนอ. ที่มุ่งเน้นการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” นายจักรัฐ กล่าวทิ้งท้าย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save