หมอฯ แนะคัดแยก “ขยะติดเชื้อ” ก่อนทิ้งลงถังแดง ลดการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19


ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาด ของ COVID-19 ที่ทุกคนกำลังเผชิญกันอยู่ ในขณะนี้ นอกจากความกังวลในการติดเชื้อ แล้ว สิ่งหนึ่งที่ตามมาคือ ปริมาณขยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ขยะติดเชื้อ” ที่เพิ่ม สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลจาก กรมอนามัย ในปี พ.ศ. 2563 ได้ระบุไว้ว่า ประเทศไทยมีสถานพยาบาลทั้งรัฐและเอกชนมากกว่า 37,000 แห่ง มีจำนวนเตียง ประมาณ 140,000 เตียง ซึ่งสถานพยาบาลเหล่านี้มีการผลิตขยะติดเชื้อประมาณ 65 ตันต่อวัน เป็นขยะติดเชื้อที่เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลประมาณ 20 ตันต่อวัน ที่เหลือเกิดขึ้นใน สถานพยาบาลในส่วนภูมิภาคอีกประมาณ 45 ตันต่อวัน ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า จาก สถานการณ์ COVID-19 จะส่งผลให้ปริมาณ ขยะติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีก 20 ตันต่อวัน ทั้ง จากโรงพยาบาลและภาคครัวเรือน รวมถึงโรงพยาบาลสนาม

คัดแยกขยะติดเชื้ COVID-19 ก่อนทิ้งลงถังแดง

ด้วยปริมาณขยะติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจากสถานการณ์ COVID-19 บริษัท คิงส์แพ็ค อินดัสเตรียล จำกัด ผู้ผลิตถุงขยะฮีโร่ จึงได้จัดทำโครงการ “ฮีโร่มำแล้ว” เพื่อบริจาคถุงขยะ ถุงแดง และถุงซิป ให้แก่โรงพยาบาลรัฐทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 1.2 ล้านใบ เพื่อช่วยให้แต่ละโรงพยาบาลได้ลดภาระค่าใช้จ่ายและช่วยเรื่องสิ่งแวดล้อม รวมถึง การป้องกันการกระจายของเชื้อโรคอีกด้วย

ทวี จุลศักดิ์ศรีสกุล

ทวี จุลศักดิ์ศรีสกุล กรรมการ บริษัท คิงส์แพ็ค อินดัสเตรียล จำกัด กล่าวว่า สถานการณ์ COVID-19 ที่ขยายวงอย่างรวดเร็วในช่วงนี้ เรามุ่งความช่วยเหลือ ไปที่โรงพยาบาลก่อน เพราะโรงพยาบาลคือที่พึ่งของผู้ป่วย เราได้ส่งทีมงานลงพื้นที่พูดคุยกับบรรดาบุคลากรทาง การแพทย์หลายๆ โรงพยาบาล พบว่าปริมาณขยะติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก เช่น โรงพยาบาลโพธาราม จ.ราชบุรี มีปริมาณขยะติดเชื้อสูงถึง 3.2 ตัน ในเวลาเพียงครึ่งปี ในขณะที่โรงพยาบาลสนามของโรงพยาบาลแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี มีปริมาณขยะติดเชื้อสูงถึง 423 กิโลกรัม ต่อวัน ส่วนโรงพยาบาลบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร ปริมาณขยะติดเชื้อสูงถึง 600 กิโลกรัมต่อวัน โดยหวังว่าถุงขยะที่นำมาบริจาคนั้นจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้โรงพยาบาลได้จัดการขยะได้อย่างไร้กังวล และช่วยลดการแพร่เชื้อได้อีกทางหนึ่ง

การลงพื้นที่ไปบริจาคถุงขยะให้แก่โรงพยาบาล ทั้ง 3 แห่ง พบจุดร่วมเดียวกัน คือ ปริมาณผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ทุกฝ่ายต้องทุ่มเทการทำงานเพิ่มขึ้นเป็นหลายเท่าตัว แต่ทุกโรงพยาบาลล้วนให้ความสำคัญกับ การแยกขยะและการกำจัดขยะติดเชื้อ เพื่อช่วยกันป้องกัน ไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคออกไป

นายแพทย์สุเทพ จันทรเมธีกุล

นายแพทย์สุเทพ จันทรเมธีกุล ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลโพธาราม จ.ราชบุรี กล่าวว่า ขยะติดเชื้อของทางโรงพยาบาลมีปริมาณเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ. 2562 โรงพยาบาล มีปริมาณขยะติดเชื้ออยู่ที่ 4.2 ตัน จากปริมาณขยะ ทั้งหมด 7.7 ตัน จากนั้นในปี พ.ศ. 2563 ปริมาณ ขยะติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็น 4.36 ตันต่อปี จากปริมาณ ขยะทั้งหมด 8.36 ตัน สำหรับตัวเลขล่าสุดในช่วง 5 เดือนแรกของปี พ.ศ. 2564 พบปริมาณขยะ ติดเชื้ออยู่ที่ 3.2 ตันต่อปี ส่งผลให้โรงพยาบาล มีความต้องการใช้ถุงขยะแดงจำนวนมาก โดยในปี พ.ศ. 2563 โรงพยาบาลมีปริมาณการใช้ถุงขยะแดง สูงถึงกว่า 3.9 ตัน

“ถุงขยะถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับโรงพยาบาล ไม่ว่าจะเป็นถุงขยะทั่วไปหรือถุงแดง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถุงขยะแดง เพราะโรงพยาบาลมีขยะติดเชื้อจำนวนมากในแต่ละวัน ไม่ว่าจะเป็น หน้ากากอนามัย ถุงมือยางแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ชุด PPE หลอดยา เข็มฉีดยา และอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้รักษาผู้ป่วยติดเชื้ออื่นๆ ซึ่งขยะติดเชื้อหากไม่ได้จัดเก็บอย่างถูกวิธีก็จะเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อบุคลากรทางการแพทย์หรือผู้ดำเนินการจัดการกำจัดขยะ ซึ่งเมื่อแยกขยะ ติดเชื้อออกแล้ว ก็จะนำไปกำจัดทิ้งโดยวิธีการ เผาด้วยความร้อน 1,200 องศาเซลเซียส” นายแพทย์สุเทพ กล่าว

แพทย์หญิงอนุธิดา ประทุม

แพทย์หญิงอนุธิดา ประทุม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแก่งกระจาน จ.เพชรบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการติดเชื้อกลุ่มใหญ่ล่าสุด กล่าวว่า สำหรับยอดผู้ป่วย COVID-19 ที่โรงพยาบาลรับตอนนี้ มีทั้งหมด 245 เตียง โดยรักษาตัวอยู่ที่ชะอำ-อีโค่ แคมป์ รีสอร์ท ซึ่งเป็นโรงพยาบาลสนามของ โรงพยาบาล จากจำนวนผู้ป่วยส่งผลให้มีขยะทางการแพทย์ 423 กิโลกรัมต่อวัน เพิ่มขึ้นจาก ก่อนช่วงมีวิกฤติ COVID-19 ประมาณ 20% โดยขยะติดเชื้อทั้งหมดจะดำเนินการแยกใส่ถุงขยะแดง ส่วนถุงซิปจะนำมาจัดเก็บสิ่งส่งตรวจเพื่อลดการ สัมผัสการติดเชื้อในเจ้าหน้าที่ ซึ่งถือว่ามีความจำเป็น อย่างยิ่ง การแยกขยะจะช่วยลดการปนเปื้อนในส่วนของขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้เป็นอย่างดี

นายแพทย์พรเทพ พงศ์ทวิกร

นายแพทย์พรเทพ พงศ์ทวิกร ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลบ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร มองว่า การปลูกฝังให้บุคลากรทางการแพทย์และพนักงาน ในโรงพยาบาลสร้างวินัยการแยกขยะเป็นการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดีที่สุด โดยเฉพาะขยะ อันตรายจากเคมีบำบัดที่ส่งผลต่อสุขภาพและอันตรายต่อทีมแพทย์มากที่สุด ได้แก่ ถ่าน และปรอท โดยการอบรมของเราจะเข้มงวดเป็นพิเศษ พนักงานใหม่ต้องเข้าร่วมปฐมนิเทศในการคัดแยก ขยะหลักๆ ได้แก่ ขยะทั่วไป ขยะติดเชื้อ ขยะมีพิษ ขยะรีไซเคิล โดยทีมควบคุมโรคและทีมสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ดำเนินการ

“ขณะนี้ รพ.บ้านแพ้ว ดูแลผู้ป่วย COVID-19 อยู่ที่ 42 คน ช่วง COVID-19 ปริมาณขยะทั่วไปและขยะติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นมาก ขยะติดเชื้อจากเดิม 360 กิโลกรัมต่อวัน เพิ่มมาเป็น 600 กิโลกรัม ต่อวัน ขยะทั่วไป 1,200 กิโลกรัมต่อวัน เพิ่มมาเป็น 1,371 กิโลกรัมต่อวัน ผลมาจากช่วง COVID-19 เราใช้อุปกรณ์ป้องกันตัว รวมถึงมีขยะติดเชื้อ ค่อนข้างมาก และเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ทีมเจ้าหน้าที่เรา เราจึงเข้มงวดกับแม่บ้านหรือ เจ้าหน้าที่ขนย้ายขยะติดเชื้อเป็นพิเศษ โดยจะต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันตนเองทุกครั้ง ประกอบด้วย สวมหมวก สวมผ้าปิดปาก ปิดจมูก สวมเอี๊ยมพลาสติกกันเปื้อน สวมถุงมือแม่บ้านยาวครึ่งแขน สวมรองเท้าบูทครึ่งน่อง ก่อนการทำงานอย่างเคร่งครัด” นายแพทย์พรเทพ กล่าว


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save