สนค. กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับ ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ มช. ปลุกกระแสบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยงบประมาณจากกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการจากความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง ผ่านงาน The Future for Sustainable Eco-Packaging ต้อนรับผู้เข้าร่วมงานและผู้เชี่ยวชาญกว่า 679 รายจาก 25 ประเทศ


เมื่อวันที่ 2 – 3 กันยายนที่ผ่านมา สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ ร่วมกับ ศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ (Food Innovation and Packaging Center, FIN) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการจากความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง (AHKFTA Economic and Academic Cooperation) จัดงานสัมมนาเชิงวิชาการและกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ “The Future for Sustainable Eco-Packaging (Webinar)” ในรูปแบบงานสัมมนาออนไลน์เต็มสองวัน พร้อมกิจกรรมการจับคู่ธุรกิจออนไลน์ระหว่างผู้ประกอบการจากประเทศไทย จับคู่กับผู้ซื้อในทั่วอาเซียน ซึ่งภายในงานแบ่งออกเป็นงานสัมมนาเชิงวิชาการ การบรรยายความรู้และแบ่งปันประสบการณ์ จาก 16 ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทชั้นนำและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากประเทศไทยและต่างประเทศ ที่ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และอภิปรายในประเด็นอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์รักษ์สิ่งแวดล้อมในแง่มุมต่าง ๆ ตลอดจนข้อเสนอแนะสำหรับ SMEs เกษตรกร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และรัฐบาล ในการนำแนวคิดดังกล่าวไปปรับใช้กับการพัฒนาโมเดลของธุรกิจและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์เพื่อให้สอดรับกับแนวคิด Eco-Packing Recycle และ Bio-Plastic Trend อย่างแท้จริง

ตลอดการจัดงาน 2 วันผ่านทางระบบออนไลน์ มีผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานสัมมนาออนไลน์มากกว่า 966 ราย จาก 34 ประเทศ อาทิ ไทย ฟิลิปปินส์ เมียนมา เขตบริหารพิเศษฮ่องกงฯ อินโดนีเซีย อินเดีย สปป. ลาว เวียดนาม สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์ ซึ่งเป็น 10 ประเทศที่มีผู้เข้าชมงานสูงสุด แบ่งเป็นสัดส่วนชาวไทยร้อยละ 66 และต่างชาติร้อยละ 34 ในส่วนของกิจกรรมจับคู่ธุรกิจ ผู้จัดฯ นำผู้ประกอบการชั้นนำในตัวแทนฝั่งประเทศไทย ประกอบด้วย บริษัท แอดวานซด์ โนวฮาว จำกัด / บริษัท ไบโอ-อีโค จำกัด / บริษัท ไบโอฟอร์ม (ประเทศไทย) / บริษัท ซีไอพี 168 จำกัด / บริษัท นารายณ์ซูเปอร์แบค จำกัด และ บจก. แป้งไทย ที่เข้าร่วมกิจกรรมจับคู่ธุรกิจตลอด 2 วัน ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้ซื้อมากกว่า 49 ราย จาก 6 ประเทศ และความสำเร็จของการจับคู่ธุรกิจครั้งนี้มากถึง 32 ราย ซึ่งเกินความคาดหมายตามที่ได้มุ่งหวังไว้ โดยเฉพาะในการเพิ่มศักยภาพของ SMEs และเกษตรกร ให้ตระหนักและเข้าใจถึงศักยภาพและโอกาสของตลาดบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งตลอดสองวันนี้ก็เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องและควรผลักดันต่อเนื่องเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค ตลอดจนเพื่อชี้แนะทางเลือกใหม่ให้กับ ทั้งผู้ประกอบการ SMEs เกษตรกร ผู้ผลิต และบริษัทชั้นนำในตลาดให้ตระหนักถึงความสำคัญของบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสามารถเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่คุณค่าโลกในอุตสาหกรรมดังกล่าวได้

สรุปงานสัมมนา The Future for Sustainable Eco-Packaging

งานสัมมนาและกิจกรรมในครั้งนี้จะสำเร็จไม่ได้หากปราศจากความร่วมมือจาก สมาคมอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย / สวทช. / บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล (มหาชน) จำกัด / บริษัท เนสท์เล่ ประเทศไทย / สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย / สถาบันพลาสติก / สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (Tistr) / บริษัท TechSci Research / บริษัท บรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม จำกัด (มหาชน) หรือ Gracz / บริษัท วงษ์พาณิชย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และ Euromonitor International พร้อมได้รับเกียรติจากรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ / ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์ และ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าและประธานร่วมคณะกรรมการร่วมความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง กล่าวต้อนรับและเข้าร่วมงานในครั้งนี้

งานสัมมนาในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบูรณาการผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อเชื่อมโยงเข้าสู่ห่วงโซ่คุณค่าโลก ภายใต้โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการของความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง โดยอาเซียนเป็นหนึ่งในฐานการผลิตพลาสติกชีวภาพที่สำคัญระดับโลกซึ่งมีอัตราการเติบโตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งการผลิตเพื่อใช้ภายในภูมิภาคและการส่งออกไปต่างประเทศ ดังนั้นแนวทางในการผลักดันและส่งเสริมอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จึงต้องดำเนินการอย่างบูรณาการร่วมกันทั้งจากทั้งภาครัฐ-ภาคเอกชน เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งและสร้างความยั่งยืนให้กับห่วงโซ่คุณค่าโลกในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง พร้อมผลักดันให้เกิดการใช้งานบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนสืบไป

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชม https://www.fin.cmu.ac.th อีเมล fininfo.fin@gmail.com โทร. 053-948286

The Future for Sustainable Eco-Packaging


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save