โครงการดาว เพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืน ปีที่ 9 จับมือ วช.และคณะวิศวฯ มก. เปิดตัวคู่มืออุตสาหกรรม 4.0 และรับรองโรงงาน Zero Plastic Waste เป็นครั้งแรกในไทย มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน


กรุงเทพฯ – 8 กันยายน 2563 : โครงการดาว เพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืน ปีที่ 9 ประกาศความร่วมมือยกระดับ SME ไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างต่อเนื่อง เปิดตัวคู่มืออุตสาหกรรม 4.0 ครั้งแรกในประเทศไทย เผยแพร่ฟรีเพื่อเป็นทางลัดให้ธุรกิจ SMEs ได้ใช้เป็นคู่มือในการพัฒนาศักยภาพ พร้อมกันนี้ได้เปิดตัวการรับรองโรงงานพลาสติกไร้ขยะพลาสติก (Zero Plastic Waste for Production Process) เป็นครั้งแรกในไทยมุ่งเป้าส่งเสริมศักยภาพ SMEs ไทย ยกระดับความปลอดภัย รวมทั้งแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และขยะพลาสติก

ฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย

ฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า กลุ่มบริษัทดาว ประเทศไทยได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญเพื่้อช่วยเหลือ SMEs ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดของเสีย และปรับปรุงกระบวนการ เพื่อความปลอดภัยและพัฒนาอย่างยั่งยืน ปัจจุบัน โครงการ ดาว เพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืน ซึ่งดำเนินมา 8 ปี ได้ลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ไปได้มากกว่า 1.5 ล้านกิโลคาร์บอน หรือ เทียบเท่าการปลูกต้นไม้ 150,000 ต้น รวมทั้งเพิ่มคุณภาพชีวิตให้แรงงานและชุมชนรอบโรงงาน 40 แห่งในโครงการ ถึงเกือบ 1 ล้านคน สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัทฯ ในการเป็นบริษัทชั้นนำทางด้าน Material Science ที่มุ่งเน้นป้องกันการเกิดภาวะโลกร้อน และลดปัญหาขยะ

“ปัญหาขยะพลาสติกเป็นที่สนใจในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีสื่อสาร ผู้บริโภคตื่นตัวต่อประเด็นสิ่งแวดล้อม การที่ SMEs อยู่รอดได้ต้องปรับตัว โดยเฉพาะการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ไม่สูญเปล่า และความปลอดภัย อีกทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีประเทศใดเติบโตได้โดยไม่คำนึงถึงประสิทธิภาพในการผลิต ไม่คำนึงถึงความปลอดภัย และไม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม” ฉัตรชัย กล่าว

กลุ่มบริษัทดาว ประเทศไทยใช้นวัตกรรม ที่ไม่สามารถทำสิ่งที่เกิดขึ้นได้ในอดีตให้ทำได้ในปัจจุบัน เช่น การผลิตอาหาร บรรจุภัณฑ์สำคัญที่สุด จะต้องผลิตจากวัสดุที่มีหลายชั้น (Multi Layer) ที่เป็น Multi Material ซึ่งสามารถรักษาประสิทธิภาพแต่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ เรามีนวัตกรรม Multi Layer ที่ให้คุณสมบัติเหมือน Multi Material แต่สามารถรีไซเคิลได้ โดยที่บรรจุภัณฑ์ของดาว ทำให้ถุงบางลงแต่แข็งแรง ลดการใช้ทรัพยากรและนำไปรีไซเคิลได้ ซึ่งเป็นนวัตกรรมของดาว เพื่อลดการใช้พลาสติกและนำไปรีไซเคิลได้

นวัตกรรม และ ความยั่งยืน

“ดังนั้นนวัตกรรม และ ความยั่งยืน คือคำตอบที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตและอยู่รอดได้ในระยะยาวโครงการ ดาว เพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืน จึงมุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพให้ SMEs ไทย ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อมของไทย ให้ก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 ด้วยการใช้เทคโนโลยี IoT หรือ Internet of Things ซึ่งสามารถตรวจวัดและควบคุมการทำงานของเครื่องจักรเดิมซึ่งในอดีตไม่สามารถทำงานประสานกันได้ให้ผสานความสามารถกันได้ จนเกิดประสิทธิภาพการทำงานที่ดียิ่งขึ้น ลดความสูญเสีย ลดการใช้ทรัพยากร ลดขยะที่เกิดขึ้น และ เพิ่มความปลอดภัยซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายความยั่งยืนของดาวที่จะทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนวางแผนแม่บทเพื่อความยั่งยืน และตั้งเป้าหยุดขยะและโลกร้อน” ฉัตรชัย กล่าว

กลุ่มบริษัทดาว ประเทศไทย ร่วมกับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันพลาสติก และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ในปีนี้กลุ่มบริษัทดาว ประเทศไทย ร่วมกับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันพลาสติก และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกาศความร่วมมือสนับสนุน SMEs ไทย สู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างต่อเนื่อง โดยปีนี้มี 2 หน่วยงานใหม่ ได้แก่ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เข้าร่วมในโครงการ โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้คิดค้นระบบคำนวณของเสียพลาสติก

ณัฐพล รังสิตพล

ณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(กสอ.) กล่าวว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ขานรับนโยบายรัฐบาลในการพัฒนา 3 เศรษฐกิจ คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) หรือ BCG Model ขับเคลื่อน ในภาคอุตสาหกรรมเพื่อก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 อย่างเป็นรูปธรรม ผ่านโครงการดาว เพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืน พร้อมกันนี้ได้เปิดตัว “คู่มืออุตสาหกรรม 4.0” ออนไลน์ครั้งแรก เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการดำเนินงาน พร้อมทั้งสามารถทำแบบประเมินตนเองเพื่อทราบว่าขณะนี้องค์กรอยู่ในระยะใดในอุตสาหกรรม 1.0 ถึง 4.0 เพื่อการวางแผนการพัฒนาศักยภาพองค์กรได้เป็นการเฉพาะตัว

ทั้งนี้ หัวใจสำคัญของการพัฒนาไปสู่การเป็นอุตสาหกรรม 4.0 ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต โดยการปรับใช้เทคโนโลยีลดความสูญเสียในภาคการผลิต การคำนวณและการจัดการการผลิตที่ดี ความปลอดภัยของพนักงาน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ทั้งยังสร้างกำลังใจในการทำงาน ความรักความผูกพันต่อองค์กร ทั้งยังช่วยเพิ่มศักยภาพในภาคการผลิต และ การดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งการลดการปล่อยสารเคมี การใช้เทคโนโลยีกำจัดขยะ และการลดใช้พลาสติก

“ความร่วมมือในโครงการจนถึงวันนี้มีขนาดใหญ่ขึ้น และคาดว่าในปีต่อไปจะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ โดยร่วมมือทางด้านการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ความปลอดภัย และการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นที่ทราบกันดีคว่าปีนี้เกิดวิกฤต COVID-19 ซึ่งกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมค่อนข้างมาก ทั้งนี้ผู้ประกอบการจะต้องเปลี่ยนระบบการบริหารจัดการ อย่างไรก็ตาม ในวิกฤต COVID-19 อุตสาหกรรมอาหารเติบโต ทำให้บรรจุภัณฑ์อาหารเติบโตตามไปด้วย ซึ่งถือเป็นจุดดี ประเด็นคือต้องยืนให้ถูกที่ เพื่อให้ธุรกิจเติบโต ปีนี้ภาพของBCG Model ชัดเจนขึ้น ต่างจากที่่นายกรัฐมนตรีเคยพูดไว้เมื่อปีที่ผ่านมาที่ทุกคนยังมองภาพไม่ออก เศรษฐกิจสีเขียวมีความสำคัญ ผู้บริโภคเริ่มมองถึงเรื่องความปลอดภัย และมาตรฐานต่างๆมากขึ้น” ณัฐพล กล่าว

ในการพัฒนามีผู้เชี่ยวชาญจาก 2 มหาวิทยาลัยชั้นนำ และสถาบันพลาสติกรวมทั้งกลไกจากกสอ. ที่มุ่งให้ปรับปรุงกลไกรับ New Normal โดยปีนี้มีเรื่องใหม่คือ ประเมินตนเองเพื่อทราบว่าขณะนี้องค์กรอยู่ในระยะใดในอุตสาหกรรม 1.0 ถึง 4.0 เพื่อวางแผนการพัฒนาศักยภาพองค์กรได้เป็นการเฉพาะตัวเป็นกลไกที่ดำเนินการร่วมกับวช.และ 2 มหาวิทยาลัย คือ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วันนี้ถือเป็นวันประกาศความมุ่งมั่นในการผลักดัน SMEs สู่อุตสาหกรรม4.0 ภายใต้โครงการ ดาว เพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืน ทั้งนี้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของระบบวิจัยในประเทศ เริ่มจากความเหมาะสมของนักวิจัย โดยเปลี่ยนเป็นมุ่งไปสู่การใช้งานของประเทศเป็นหลัก โดยวช.ทำหน้าที่ส่งเสริมการขับเคลื่อนการวิจัยที่สนับสนุนความท้าทายในการแข่งขันของประเทศ ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้วช. มีโครงการทะเลไทยไร้ขยะ ทำให้ไทยไม่มีขยะ ยกตัวอย่างเช่น ทำอย่างไรให้ทะเลของไทยไม่มีขยะ การต่อยอดงานวิจัยที่นำไปใช้จริง จึงเป็นหัวใจสำคัญของประเทศ

“ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีการพูดถึง เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) หรือ BCG Model เพื่อให้ระบบเศรษฐกิจในประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ในปีนี้พบปัญหาเชื้อ COVID-19 ทำให้ BCG มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้วิกฤต COVID-19 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่ออุตสาหกรรมต่างๆ ภาคอุตสาหกรรมต้องปรับตัว ถ้าปรับไม่ทัน จะทำให้เกิดวิกฤตซ้ำซ้อนได้” ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์กล่าว

สำหรับโครงการ ดาว เพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืน ปีที่ 9 นับเป็นครั้งแรกที่วช.จะนำระบบการรับรอง Zero Plastic Waste มาสนับสนุนให้ใช้กับ SMEs อย่างจริงจัง โดยสอดแทรกเป็นหนึ่งในเนื้อหาของการให้คำปรึกษาเชิงลึกในโครงการ ดาว เพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืน เพื่อสร้างต้นแบบให้ SMEs รายอื่นๆ ได้เห็นว่าเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก และนอกจากจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยังเป็นประโยชน์ต่อองค์กร ซึ่งจะทำให้การรับรองนี้ขยายออกไปในหมู่ SME มากขึ้น และ กลายเป็นมาตรฐานใหม่ในที่สุด ในส่วนของวช. ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทำการตรวจประเมินและรับรองโรงงานที่สามารถลดขยะพลาสติกจากกระบวนการผลิต ทั้งนี้การประเมินจะขึ้นกับพัฒนาการและผลการปฏิบัติงานเป็นหลัก โดยจะเริ่มจากบริษัท SMEs ที่เข้าร่วมในโครงการให้คำปรึกษาเชิงลึกในโครงการ ดาว เพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืนในปีพ.ศ. 2563 ก่อนเป็นกลุ่มแรกโดยวช. ร่วมกับ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะตรวจประเมินและรับรองโรงงานที่สามารถลดขยะพลาสติกจากกระบวนการผลิต ทั้งนี้การประเมินจะขึ้นกับพัฒนาการและผลการปฏิบัติงานเป็นหลัก โดยเริ่มจากบริษัท SMEs ที่เข้าร่วมในโครงการให้คำปรึกษาเชิงลึกในโครงการ ดาว เพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืนในปีพ.ศ. 2563 ก่อนเป็นกลุ่มแรก

“วช.ให้ทุนสนับสนุนวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในการพัฒนา Zero Plastic Waste ประเทศไทยไร้ขยะ โดยวช.พร้อมเป็นฟันเฟืองที่จะสนับสนุนอุตสาหกรรมไทยสู่สังคม Zero Plastic Waste โดยยกระดับการบริหารจัดการขยะ ตั้งแต่ต้นทาง กลางทางและปลายทาง เพื่อให้ไทยเป็นที่ยอมรับในภูมิภาคอาเซียน และพัฒนาอย่างยั่งยืน” ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ กล่าว

สำหรับคู่มืออุตสาหกรรม 4.0 มีเนื้อหาด้านการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 ที่ง่าย ไม่ซับซ้อน ปฏิบัติได้จริง มีตัวอย่างขั้นตอนและโรงงานที่ติดตั้งแล้ว รวมทั้งแบบประเมินศักยภาพเพื่อทราบถึงสถานะปัจจุบันของโรงงานซึ่งสามารถส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจให้คะแนนได้ฟรี ผู้ประกอบการที่สนใจสามารถดาวน์โหลดคู่มือฉบับแรก ได้แล้ววันนี้ที่ https://m.facebook.com/dow.dcsi ทั้งนี้ในปีถัดไปจะมีการปรับปรุงเนื้อหา และเพิ่มเติมตัวอย่างจริงจากบริษัทที่เข้าร่วมรับคำปรึกษาเชิงลึกจากโครงการ ดาว เพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืนในปีนี้เพื่อให้เนื้อหามีการอัพเดทใหม่อย่างต่อเนื่อง

โครงการ ดาว เพื่ออุตสาหกรรมยั่งยืนดำเนินโครงการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 9 โดยปีนี้ได้เปิดรับสมัคร SMEs ในกลุ่มอุตสาหกรรมพลาสติก และ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร รวมทั้งสิ้น 20 แห่ง เพื่อเข้าร่วมการให้คำปรึกษาเชิงลึกโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งจะได้รับการตรวจประเมินและสิทธิพิเศษมากมายในการยกระดับสู่อุตสาหกรรม 4.0 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต สร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน ส่งเสริมความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม โดยสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ ได้ที่สถาบันพลาสติก โทร 02 391 5340-43 เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 21 กันยายน ศกนี้ ทั้งนี้คาดว่าในช่วงปลายปี จะได้กรณีศึกษา (Case Study) และจัดกลุ่มได้ว่าอุตสาหกรรมต่างๆ อยู่ในระดับใด


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save