“ฝุ่น PM 2.5 แก้ปัญหาอย่างไรให้ยั่งยืน” เพื่ออากาศสะอาดที่ทุกคนมีสิทธ์ได้รับ


ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่เป็นวาระแห่งชาติ เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดเวทีจุฬาฯ เสวนา ครั้งที่ 22 เรื่อง “ฝุ่น PM 2.5 แก้ปัญหาอย่างไรให้ยั่งยืน” ณ ห้องประชุมสารนิเทศ หอประชุมจุฬาฯ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์และหาทางออกของปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั้งในกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ และการเสวนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต รองอธิการบดี จุฬาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดงาน รวมทั้งมีการนำเสนอข้อมูลความรู้ต่าง ๆ จากผู้เชี่ยวชาญอาทิ รศ.ดร.จักรพันธ์ สุทธิรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาฯ รศ.ดร.ศิริมา ปัญญาเมธีกุล ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ และ รศ.ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันการขนส่ง จุฬาฯ รวมถึง ศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์ ผู้อำนวยการศูนย์ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาฯ อีกทั้ง รศ.ดร.คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ และสุดท้าย รศ.ร.ต.อ.หญิง ภญ.ดร.สุชาดา สุขหร่อง คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ

ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต
ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต

ศ.ดร.พิรงรอง รามสูต รองอธิการบดี จุฬาฯ กล่าวว่า สาเหตุของ PM 2.5 เป็นสิ่งที่มองไม่เห็นพอ ๆ กับขนาดที่เล็กของ PM 2.5 นั้นคือความรุนแรงจากโครงสร้างทางสังคมที่ขัดขวางไม่ให้ประชาชนได้รับสิ่งที่จำเป็นคืออากาศสะอาด ทุกคนมีสิทธิ์ได้รับอากาศสะอาด ปราศจากมลพิษ ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่มีสาเหตุจากการขนส่ง ควรมีการปรับปรุงรูปแบบของรถโดยสาร ซึ่งประเทศไทยช่วงอายุรถโดยสารทั้งประจำทางและไม่ประจำทางที่ตรวจสภาพไม่ผ่านเกณฑ์อยู่ในช่วง 11 – 20 ปี ผลการตรวจสภาพรถโดยสารที่ไม่ผ่านเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 50 มาจากสาเหตุควันดำ ข้อเสนอในการลดฝุ่นและมลพิษอื่น ๆ จากภาคขนส่ง ควรได้รับการยกระดับมาตรฐานรถใหม่และน้ำมันเชื้อเพลิงควบคู่กันไป

“เนื่องจากฝุ่น PM 2.5 มีขนาดเล็กทำให้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายโดยผ่านระบบทางเดินหายใจผลกระทบต่อร่างกาย มีตั้งแต่ระยะสั้นคือก่อให้เกิดการระคายเคือง อาการแพ้ ไปจนถึงผลกระทบระยะยาวที่อาจก่อให้เกิดโรคเรื้อรัง การป้องกันผลกระทบจากฝุ่นจึงมีความสำคัญการแก้ไขที่ต้นเหตุคือการลดฝุ่น ซึ่งส่วนใหญ่ที่อาจจะมาจากการเผาไหม้ ควันรถท่อไอเสีย โรงงานอุตสาหกรรม จะต้องเร่งดำเนินการในระดับนโยบายในการควบคุม ติดตาม และปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้ประชาชนได้รับอากาศสะอาดปราศจากมลพิษ”

ฝุ่น PM 2.5 แก้ปัญหาอย่างไรให้ยั่งยืน

ดังนั้น การแก้ไขอาจต้องใช้เวลา ส่วนในระดับบุคคลควรจะต้องร่วมมือกันในการลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดฝุ่น และมีการติดตามคุณภาพอากาศเสมอเพื่อประเมินความเสี่ยง และควรหลีกเลี่ยงการออกนอกอาคารเมื่อคุณภาพอากาศไม่ดี หากจำเป็นต้องมีกิจกรรมนอกบ้านก็ควรสวมหน้ากากป้องกัน และส่งเสริมให้ลดการใช้รถส่วนบุคคล โดยการยกระดับขนส่งมวลชน มีการส่งเสริมปรับปรุงการให้บริการให้สะดวก สะอาด ปลอดภัยต่อประชาชนมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการลดลมพิษในท้องถนน


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save