วิศวฯ จุฬาฯ ผนึกพลังภาครัฐและเอกชน เดินหน้าโครงการติดตั้งเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM 2.5


คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คิดค้นองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อสร้างประโยชน์แก่สังคมไทยอีกครั้งด้วยการต่อยอดการพัฒนาโครงการติดตั้งเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM 2.5 ปีที่ 2 หรือโครงการ Sensore for All ซึ่งได้รับความรว่มมือจาก บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)และบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งผลการดำเนินการในปีแรกนั้นประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย ดังนั้น ทางคณะวิศวฯ จุฬาฯ จึงได้ดำเนินการต่อเนื่องโดยส่งมอบเครื่องเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM 2.5 ให้แก่การเคหะแห่งชาติ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝ่ายมัธยม และสภาวิศวกร เพื่อนำไปติดตั้งยังพื้นที่ที่เหมาะสมต่อไป พร้อมกันนี้ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ยังได้มอบทุนสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม จำนวน 200,000 บาท (รวมมอบทุนทั้งโครงการ 400,000 บาท) รวมไปทั้งชุดอุปกรณ์ NB-loT ชิพเซ็ต พร้อมซิมการ์ด จำนวน 30 ชุด

ศ. ดร. สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัญหามลภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2. 5 นับวันยิ่งทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นและมีแนวโน้มอยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทย คณะวิศวฯจุฬาฯ ซึ่งสั่งสมองค์ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมไว้มากมายจึงได้จัดตั้งคณะทำงานที่เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM 2. 5 โดยเริ่มจากนำไปติดตั้งที่จังหวัดน่าน ภายใต้การทำงานของ ศ. ดร. เพียรมนกุล และ ผศ. ดร.สรรเพชญ ชื้อนิธิไพศาล ที่ได้เริมทำงานและผลักดันโครงการนี้มาโดยตลอดจนประสบผลสำเร็จตามเป้าหมาย

เซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM 2. 5

“ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาคณะวิศวฯจุฬาฯได้ร่วมกับโครงการอาศรมความคิดอรณสรเทศน์ ณ ลานเกียร์ (เปิดโลกลานเกียร์) หลอมรวมศาสตร์และนวัตกรรมด้านวิศวกรรมเพื่อผลักดันประเทศไทยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยได้รับการสนับสนุนที่ดีเยี่ยมจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อคนไทยต้องเผชิญภาวะปัญหามลภาวะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2. 5 ทางคณะวิศวฯ จุฬาฯ ไม่ได้นิ่งนอนใจ จึงเริ่มโครงการ Sensore for All เป็นการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM 2. 5 และปรากฎว่าเทคโนโลยีเซนเซอร์สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในการตรวจวัดสภาพอากาศและจัดเก็บข้อมูลเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการศึกษาวิจัยเพื่อหาต้นตอสาเหตุปัญหา จึงได้เริ่มโครงการในระยะที่ 2 ภายใต้ความร่วมมือจากหลายภาคส่วนเพื่อขยายการจัดเก็บข้อมูลสภาพอากาศให้ขยายวงกว้างยิ่งขึ้นตลอดจนการพัฒนาแอพพลิเคชั่นและเว็บไซต์คอยให้คำแนะนำสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่คนไทย”

เสวนาในหัวข้อ “การจัดการข้อมูล PM 2.5 และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต”

พร้อมกันนี้ทางโครงการ Sensor for All ได้จัดเสวนาในหัวข้อ “การจัดการข้อมูล PM 2.5 และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อการเสริมสร้างคุณภาพชีวิต” โดยวิทยากรรับเชิญประกอบด้วย ณัฐพงศ์ พันธเกียรติไพศาล ประธานคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ ดร.ภัทรชาติ โกมลกิติ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ. ดร.สรรเพชญ ชื้อนิธิไพศาล รองคณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านนวัตกรรมและความยั่งยืน บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และดร.วงกต วิจักรขณ์สังสิทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจดิจิทัล บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

โครงการ Sensor for All เป็นการนำองค์ความรู้ที่มีในด้านเทคโนโลยี loT และ Big Data มาพัฒนางานวิจัยเชิงนวัตกรรมเพื่อสังคมด้านการดูแลคุณภาพอย่างยั่งยืน ทั้งนี้เซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM 2. 5 ที่พัฒนาขึ้นโดยคณะวิศวฯจุฬาฯสามารถตรวจวัดได้ทั้งฝน PM 2. 5, PM 10, อุณหภูมิและความชื้นพร้อมทั้งคำนวณค่า AOI และแสดงผลผ่านทั้งหน้าจอเซนเซอร์และเว็บไซต์ www. sensorforall. eng. chula. ac. th เพื่อบ่งบอกระดับผลกระทบต่อสุขภาพโดยความร่วมมือในโครงการนี้จะมีการติดตั้งเซนเซอร์ตรวจวัดปริมาณ PM 2. 5 ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑลในระยะแรกจำนวน 30 จุด และพร้อมเปิดรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ต้องการร่วมเป็นเครือข่ายในการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2. 5 เพื่อหาแนวทางจัดการมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครที่มีความหนาแน่นของประชากรสูง การดำเนินการดังกล่าวเป็นการเพิ่มความสามารถในการจัดการและแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้อย่างถูกจุดตามสภาพปัญหาจริงของแต่ละชุมชนด้วย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save