เดินหน้าหลักสูตรสะเต็มกำลังสอง (STEM²) สู่ความยั่งยืนทางไฟฟ้า


การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย( กฟผ.) ร่วมกับ ศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มศว ทำหลักสูตรพหุวิทยาการ STEM2 เรื่องพลังงานไฟฟ้าในประเทศ ภายใต้หัวข้อ “ถ้าพรุ่งนี้ไม่มีไฟฟ้า” โดยนำเสนอประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย ผ่าน 8 สาระวิชาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พร้อมตั้งเป้าหมายขยายผลใช้หลักสูตรนี้สอนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นทั่วประเทศ หลังจากประสบความสำเร็จแล้ว 80 โรงเรียน

สมรักษ์ เพ็ชรเจริญ ผู้ช่วยผู้ว่าการแผนงานโรงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ผศ.ดร.จรรยา ดาสา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา และศาสตราจารย์ ดร.ปานสิริ พันธุ์สุวรรณ รองอธิการฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ร่วมในงานแถลงข่าวโครงการการขยายผลการใช้หลักสูตร “STEM2 เรื่อง พลังงานไฟฟ้าในประเทศ” และร่วมกิจกรรมประกาศผลและมอบรางวัลแก่นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ใช้หลักสูตรดังกล่าวส่งผลงานเข้าประกวด ณ หอดนตรีและการแสดงอโศกมนตรี 2 อาคารนวัตกรรมศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

หลักสูตรสะเต็มกำลังสอง สู่ความยั่งยืนทางไฟฟ้า

ในงานแถลงข่าวยังได้มีการจัดเสวนาในหัวข้อ “หลักสูตรสะเต็มกำลังสอง สู่ความยั่งยืนทางไฟฟ้า” โดยมี ทิเดช เอี่ยมสาย ผู้อำนวยการฝ่ายวิศวกรรมโรงไฟฟ้า กฟผ. รศ.ดร.ณสรรค์ ผลโภค อดีตผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา และผศ.ดร.จรรยา ดาสา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา ร่วมเสวนา

สมรักษ์ เพ็ชรเจริญ ผู้ช่วยผู้ว่าการแผนงานโรงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ. เห็นความสำคัญของการเรียนรู้แบบบูรณาการในโรงเรียน ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ผ่านรายวิชาต่าง ๆ ที่มีการเรียนการสอนอยู่แล้วในชั้นเรียน จึงร่วมกับศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มศว พัฒนาหลักสูตรพหุวิทยาการ STEM2 เรื่องพลังงานไฟฟ้าในประเทศ ภายใต้หัวข้อ “ถ้าพรุ่งนี้ไม่มีไฟฟ้า” สำหรับครูผู้สอน และขยายผลหลักสูตรไปยังครูผู้แทนจากโรงเรียนในภูมิภาคต่าง ๆ รวมถึงพัฒนาเว็บไซต์ (http://stem2.science.swu.ac.th/) สำหรับเป็นสื่อกลางเพื่อให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นทั่วประเทศ โดยปัจจุบันมีโรงเรียนที่สนใจเข้าร่วมใช้หลักสูตรนี้ และนำไปใช้ในหลักสูตรการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ของโรงเรียนแล้ว จำนวน 80 โรงเรียน พร้อมตั้งเป้าหมายจะขยายผลใช้หลักสูตรนี้สอนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นทั่วประเทศ

สมรักษ์ เพ็ชรเจริญ ผู้ช่วยผู้ว่าการแผนงานโรงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

ทั้งนี้ หลักสูตร STEM2 เป็นหลักสูตรสำคัญที่นำเสนอประเด็นปัญหาเกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานไฟฟ้าของประเทศไทย สถานการณ์การใช้ไฟฟ้า การผลิตไฟฟ้า พฤติกรรมและแนวโน้มการใช้ไฟฟ้า ผ่านการเรียนการสอนของ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ในระดับชั้นมัธยมตอนต้น ได้แก่ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ และกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาพลศึกษา ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียน มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง มีความตระหนักรู้เกี่ยวกับแหล่งพลังงานต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า สร้างสำนึกและปลูกฝังเยาวชนให้ใส่ใจในคุณค่าของพลังงาน และนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

ผศ.ดร.จรรยา ดาสา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)

ผศ.ดร.จรรยา ดาสา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) กล่าวเพิ่มเติมว่า “ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นมิติใหม่ของการสร้างการเรียนรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าให้กับนักเรียนระดับมัธยมต้น ด้วยการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบบูรณาการในทุกสาระวิชา ด้วยการสอดแทรกเนื้อหาสาระเกี่ยวกับพลังงานไฟฟ้าที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเข้าใจสถานการณ์อย่างรอบด้าน เห็นความเชื่อมโยงของการเรียนกับชีวิตจริง และส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา การสร้างนวัตกรรม และสอดคล้องกับแนวทางการจัดการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542”

รศ.ดร.ณสรรค์ ผลโภค อดีตผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา

รศ.ดร.ณสรรค์ ผลโภค อดีตผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตรศึกษา กล่าวในการเสวนาว่า หลักสูตรสะเต็มศึกษา เป็นการเปลี่ยนจากการเรียนรู้ แนวคิดวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี มาเป็นการสำรวจ ตรวจสอบ และประยุกต์ทักษะความรู้ในแต่ละสาขาวิชา

“เมื่อก่อนการศึกษาบ้านเรา จะแบ่งแยกสาขาการเรียนชัดเจน เช่น เด็กสายวิทย์ กับเด็กสายศิลป์ ก็จะมองสิ่งรอบตัวคนละแบบกัน แต่หลักสูตรสะเต็มกำลังสอง เน้นให้มีการศึกษาแบบบูรณาการ คนที่มีความสามารถและประสบความสำเร็จระดับต้นๆ ของโลก ส่วนใหญ่เกิดจากการรู้จักบูรณาการสิ่งต่างๆ รอบตัว ดังนั้นการเรียนรู้แบบบูรณาการถือเป็นเรื่องสำคัญ และหลักสูตรสะเต็มกำลังสอง ยังเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เห็นถึงการทำงานร่วมกัน กับคนต่างสาขา ต่างวิชาชีพ ซึ่งถือเป็นสมรรถนะหนึ่ง ที่คนยุคใหม่ต้องมี เพราะการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันไม่สามารถใช้ความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเท่านั้น แต่เรายังต้องการความรู้และทักษะด้านอื่นๆ ควบคู่กับการมีคุณธรรม จริยธรรม” รศ.ดร.ณสรรค์กล่าว

ทั้งนี้พบว่า ระดับชั้นที่มีมาตรฐานและตัวชี้วัดของสาระวิชาเหมาะสมกับเนื้อหาคือ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยได้กำหนดเป็นสถานการณ์กระตุ้นการเรียนรู้และเนื้อหาในการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนเข้าใจสถานการณ์ปัญหาและข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้อง จากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ จนสามารถบูรณาการความรู้และข้อมูลที่ได้จากการเรียนรู้มาออกแบบแนวทางหรือวิธีการผลิตพลังงานไฟฟ้าเพื่อให้มีพลังงานไฟฟ้าใช้อย่างยั่งยืน มั่นคง และออกแบบการนำเสนออย่างสร้างสรรค์


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save