เอบีบีแนะไทยเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ด้วยการใช้พลังงานทดแทนสูงขึ้น พร้อมพัฒนา Grid ให้มีประสิทธิภาพสูง เชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้าน


ในการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติครั้งที่ 28 (COP28) ประเทศพันธมิตรที่เข้าร่วมเห็นพ้องต้องกันกับสัญญาณจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนผ่านของยุคเชื้อเพลิงฟอสซิล ด้วยการวางรากฐานสำหรับการเปลี่ยนผ่านที่รวดเร็ว ยุติธรรม และเท่าเทียมกัน โดยหน่วยงานต่างๆ ทั่วโลกต่างกำลังพยายามร่วมกันในการเปลี่ยนผ่านจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล มาสู่การใช้พลังงานสะอาด

ความก้าวหน้าของพลังงานสะอาดในรูปแบบที่หลากหลาย ถือเป็นเป้าหมายระดับโลกร่วมกัน รายงานจากทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (IRENA) พบว่า ในปี 2565 เอเชียมีกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนคิดเป็นสัดส่วน 60% หรือประมาณ 1.63 TW (เทราวัตต์) ของกำลังการผลิตทั่วโลก โดยประเทศจีนเป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดในการผลิตพลังงานหมุนเวียนนี้

บทบาทของเอเชียในการบรรลุเป้าหมายสภาพภูมิอากาศโลกเป็นสิ่งสำคัญ ภูมิภาคเอเชียมีการเติบโตในช่วงที่ผ่านมา ก่อให้เกิดกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมาก ตามรายงานเฉพาะด้านเรื่องภูมิภาคเอเชียกับการเปลี่ยนผ่านพลังงานเพื่อบรรลุเป้าหมายสู่ Net Zero: คาดการณ์เศรษฐกิจเอเชีย ประจำปี 2566  (Asia in the Global Transition to Net Zero: Asian Development Outlook 2023) เอเชียเป็นภูมิภาคที่มีความเข้มข้นของการปล่อยมลพิษต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติถึง 41% สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก

มร.แอนเดรียส มอลทิเซน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานประจำภูมิภาคเอเชีย เอบีบี กล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานต้องใช้ระยะเวลา ทั้งนี้แต่ละประเทศก็มีวิวัฒนาการและความต้องการใช้พลังงานแต่ละประเทศที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่นญี่ปุ่นประชากรของญี่ปุ่นกำลังลดลง ดังนั้นการใช้พลังงานก็ค่อยๆลดลงด้วยเช่นกัน ในทางกลับกันประเทศที่มีประชากรจำนวนมากแห่งหนึ่งในเอเชีย คืออินโดนีเซียภายในปี 2050 คาดว่าความต้องการและพลังงานจะเพิ่มขึ้นถึง 300 เท่า มร.แอนเดรียส มอลทิเซน ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานประจำภูมิภาคเอเชีย เอบีบี

สำหรับประเทศเพื่อนบ้าน เช่นมาเลเซียจะเห็นว่าภายในปี 2050 มาเลเซียมีความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 60%  เนื่องจากถ้ามีประชากรเพิ่มขึ้น ความต้องการพลังงานก็จะเพิ่มขึ้นด้วยในเรื่องของการใช้เครื่องปรับอากาศและการคมนาคมขนส่งมากขึ้น แต่หากปัจจุบันประชาชนหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) มากขึ้นก็อาจจะทำให้การใช้พลังงานลดลงได้บ้าง

“ที่ไหนก็ตามที่เศรษฐกิจกำลังเติบโต จะเห็นได้ว่ามีการใช้ไฟที่มากขึ้น อย่างน้อยในอุตสาหกรรมที่มีอยู่ การใช้ไฟก็จะค่อยๆเพิ่มสูงขึ้นเมื่อธุรกิจเติบโต ดังนั้นเราเชื่อว่าเมื่อใดก็ตามที่เราต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้น หรือใช้พลังงานใหม่ๆขึ้นมา เราจะเลือกใช้พลังงานที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนที่ต่ำที่สุดหรือเท่ากับศูนย์หรือที่เรียกว่า Net Zero ให้ได้”  มร.แอนเดรียส มอลทิเซน กล่าว

สำหรับประเทศไทย เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร ไทยจึงอาจจะมีข้อจำกัดบางอย่างในเรื่องของพลังงานลม ขณะที่ซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ทางฝั่งนั้นจะมีลมนอกชายฝั่งมากกว่าประเทศที่อยู่ในแถบเส้นศูนย์สูตร ดังนั้น หากประเทศไทยจะใช้พลังงานทดแทน พลังงานที่เหมาะสม คือพลังงานแสงอาทิตย์ ทั้งนี้ พลังงานแสงอาทิตย์ของไทยมีประสิทธิภาพที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันสามารถที่จะทำให้ประสิทธิภาพของการใช้แผงโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้นได้ 20-28% ส่วนพลังงานอีกประเภทหนึ่ง คือ พลังงานน้ำ แม้ว่าในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาจะเห็นว่ามีการพัฒนาด้านนี้ไม่มาก เนื่องจากต้องมีสถานีพลังงานน้ำขนาดใหญ่ แต่ในขณะเดียวกัน ไทยยังมีศักยภาพในการใช้สถานีพลังงานน้ำขนาดเล็กที่มีอยู่ได้

เชื่อมกริดระหว่างประเทศเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานการใช้พลังทดแทน สิ่งที่จะต้องเข้าใจ คือเรื่องของ Grid ซึ่งเป็นเรื่องเทคโนโลยีของการส่งพลังงานข้ามประเทศ ขณะนี้ประเทศไทยยังมีโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่มีเสถียรภาพมากในการรับมือและจัดการกับพลังงานทดแทนที่เข้าสู่ระบบและมีกระแสไฟที่ไม่มีเสถียรภาพมากเพียงพอ เช่น ประเทศไทยกับมาเลเซียมีการส่งผ่านพลังงานผ่านทางสายส่ง 500 กิโลเมตร ซึ่งเป็นสายขนาดใหญ่ที่สุดเชื่อมระหว่างประเทศ แต่ไทยกับเมียนมา หรือไทยกับลาวไม่ได้มีสายขนาดใหญ่เท่ามาเลเซีย ถ้าไทยอาศัยมาเลเซียและอินโดนีเซีย หากทั้งสองประเทศสร้างพลังงานจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ต่างๆ แล้วจ่ายไฟ ไทยสามารถลดการใช้พลังงานจากโรงไฟฟ้าบางส่วนลงได้ อาจจะเทียบเท่ากับลดจำนวนโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะถึง 2 โรง แต่สายส่งนี้ยังไม่มีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะเรียลไทม์ เนื่องจากยังไม่สามารถเก็บไฟฟ้าเข้า Storage ได้

“ไทยสามารถทำเรื่องเหล่านี้ได้ ถ้าสามารถสร้างกริดที่เชื่อมระหว่างประเทศและส่งพลังงานระหว่างประเทศ เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ ลาว และเมียนมาสามารถผลิตพลังงานทดแทนได้ ไทยก็สามารถเจรจาขอซื้อ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี แต่ยังไม่ Stable เพราะหากวันใดวันหนึ่งไม่จ่ายไฟ ไทยจะได้รับผลกระทบ ” มร.แอนเดรียส กล่าว

ไทยเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานด้วยการใช้พลังงานทดแทนสูงขึ้น พร้อมพัฒนาGrid ให้มีประสิทธิภาพสูง เชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้าน

ดังนั้นสิ่งที่สามารถทำได้ คือการเปลี่ยนการใช้พลังงานจากถ่านหินมาใช้พลังงานจากก๊าซ เนื่องจากการใช้พลังงานจากก๊าซมีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่าถ่านหินถ้าเทียบต่อกิโลวัตต์ ดังนั้นจึงเรียกช่วงนี้ว่าเป็นช่วง Transition Periodหรือช่วงเวลาในการเปลี่ยนผ่าน โดยที่ไทยมีเป้าหมายในปี 2050 และซึ่งในระหว่างทางสามารถค่อยๆเปลี่ยนผ่านสิ่งต่างๆให้ดีขึ้น

สิ่งที่ประเทศไทยต้องทำ คือ 1.จะต้องเร่งอัตราการใช้พลังงานทดแทนให้สูงขึ้น โดยให้ทุกคนเข้าถึงพลังงานได้ ปล่อยคาร์บอนต่ำสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ เพื่อความยั่งยืนและจะต้องอยู่ในราคาที่เหมาะสมจับต้องได้ และ 2.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้าน Grid ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้าน ในการแบ่งปันพลังงานระหว่างกัน

เอบีบีเชื่อมั่นทุกฝ่ายทำงานร่วมกัน ช่วยไทยเปลี่ยนผ่านพลังงานได้สำเร็จ วิธีการที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการที่จะลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ คือการที่เราทุกคนจะต้องร่วมกันลดปริมาณการใช้พลังงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนทำได้ เพียงแต่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราทุกคน จะสามารถลดการใช้พลังงานลงได้ ยกตัวอย่างเช่น ตอนที่ญี่ปุ่นเกิดเหตุการณ์ที่ Fukushima สิ่งที่ทุกคนทำทันทีเลยคือสั่งปิดโรงงานนิวเคลียร์ทั้งหมดและการที่สั่งปิดโรงงานนิวเคลียร์ทำให้ไฟฟ้าที่มีในประเทศลดลงไปกว่า 30%  การที่ญี่ปุ่นจะแก้ไขปัญหาให้ทุกคนมีไฟฟ้าใช้ได้อย่างยั่งยืน คือการออกกฎหมายที่เข้มงวด เพื่อให้ทุกคนร่วมมือกันลดการใช้พลังงาน เช่น เพิ่มอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศไม่ให้เย็นมาก เพื่อให้ทุกคนสามารถประหยัดไฟหรือการปิดไฟดวงที่ เมื่อทุกคนทำตามกฎในระยะเวลาสั้นๆ ญี่ปุ่นสามารถลดเวลาการใช้ไฟฟ้าลงไปได้มากกว่า 10%

อีกหนึ่งตัวอย่างของโรงงานที่ญี่ปุ่น จะติดตั้งพัดลมอยู่ใต้แอร์ แล้วเปิดแอร์ไม่ต้องแรงมาก โดยใช้พัดลมช่วย เมื่อเปิดพัดลมช่วย ทำให้รู้สึกเย็นสบายมาก การที่เราเปิดแอร์ที่ 29 องศาเซลเซียสนั้น ไม่ได้ใช้ไฟฟ้ามากเท่าใด และยิ่งไปกว่านั้นยังช่วยประหยัดค่าไฟด้วย

“ที่เอบีบีเราเชื่อว่ากุญแจสำคัญที่เราจะประสบความสำเร็จได้ คือการที่เราทำงานร่วมกัน การทำงานร่วมกันของเรานี้ เราต้องทำงานร่วมกันจากหลากหลายภาคส่วน หลากหลายอุตสาหกรรมทั้งผู้มีส่วนได้เสียทั้งในประเทศหรือระหว่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษาเอง รัฐบาลเอง รวมถึงพวกเราทุกคน เพราะพวกเราทุกคนล้วนมีผลกระทบที่จะทำให้เราเห็นว่าการเปลี่ยนผ่านพลังงานนี้จะเปลี่ยนผ่านได้รวดเร็วมากน้อยแค่ไหน”  มร.แอนเดรียส กล่าว

ประสิทธิภาพของพลังงาน หัวใจสำคัญในการใช้พลังงาน อีกสิ่งที่สำคัญมาก คือ ประสิทธิภาพของพลังงาน เอบีบีได้นำเทคโนโลยีมาช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพของพลังงาน ยกตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ประเภทมอเตอร์หรืออุปกรณ์ควบคุมที่สามารถจัดการการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่นการเปิดพัดลมอาจจะไม่ต้องหมุนเต็มที่ตลอดเวลาอาจจะลดแรงดัน หรือส่วนต่างๆเพื่อใช้พลังงานน้อยลง เป็นกระบวนการด้านวิศวกรรมที่ปรับแต่งในสินค้าให้มีการใช้พลังงานน้อยลง สามารถลดการใช้พลังงานลงได้ถึง 40 -50% เมื่อเทียบกับเทคโนโลยีรุ่นก่อนหน้า รวมถึงการใช้ข้อมูลอุปกรณ์ต่างๆในการควบคุมอุปกรณ์ โดยใช้ Data และระบบอัตโนมัติเข้ามาช่วยควบคุม เพื่อบริหารจัดการอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ประเทศไทยมีการใช้รถยนต์ไฟฟ้าหรือ EVที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา รถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบันก็มีการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่พัฒนาแบตเตอรี่ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมีคุณภาพดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังพัฒนาตัวมอเตอร์ที่ใช้พลังงานลดลงและมอเตอร์ที่มีระบบการควบคุมที่ดีขึ้นหรือที่เรียกว่า Energy Management คือการบริหารจัดการพลังงาน ทำให้พลังงานเท่าเดิมหรือแบตเตอรี่เท่าเดิม C9Jสามารถทำให้รถวิ่งไปได้ไกลมากขึ้น

จับตา 3 Segment หลักสร้างคาร์บอนรวมกันสูงมากกว่า 70% สำหรับภาพรวมของอุตสาหกรรมในไทย มีอยู่ 3 Segment หลักที่สร้างคาร์บอนไดออกไซด์รวมกันสูงมากกว่า 70%  ได้แก่  อุตสาหกรรมเหล็กเหล็กและเหล็กกล้า 29.2% ปูนซีเมนต์ที่ใช้ในการก่อสร้าง 26.9% และอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ 14.8% หากสามารถทำให้ทั้ง 3 Segment นี้หันมาใช้พลังงานไฟฟ้า ก็จะทำให้ลดการปล่อยก๊าซเหล็กและเหล็กกล้า (29.2%) ซีเมนต์ (26.9%) และเคมีภัณฑ์ (14.8%).คาร์บอนเกิดขึ้นได้อย่างมหาศาล

สำหรับรัฐบาลมี 2 ส่วนที่จะต้องทำคือ ประการแรก จะต้องหวังนโยบายให้ประชาชนช่วยกันเปลี่ยนพฤติกรรมในการลดการใช้พลังงาน และประการที่สอง คือการที่จะต้องมี Intencive ให้กับอุตสาหกรรมต่างๆที่จะปรับเปลี่ยนมาใช้ระบบไฟฟ้า เช่น Intencive ในการลงทุนยกระดับประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ซึ่งจะทำให้กระบวนการลดคาร์บอนของไทยทำได้อย่างรวดเร็วขึ้น

เอบีบีตั้งเป้าหมายใหญ่ภายในปี 2050 ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์ มร.แอนเดรียส กล่าวว่า เอบีบีมีประสบการณ์มากกว่า 140 ปีในการให้บริการจ่ายกระแสไฟฟ้าต่างๆ และการทำระบบอัตโนมัติ บริษัทฯ จึงเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกระแสไฟฟ้าต่างๆ และเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านระบบอัตโนมัติ ที่ต้องใช้ในทุกๆอุตสาหกรรม โดยมีโซลูชัน Optimax ซึ่งจะทำให้กระบวนการทำงานต่างๆของอุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถคืนทุนได้ภายในถึง 2 ปี ซึ่งเป็นตัวเลือกที่ดีมากเมื่อเทียบกับการที่จะต้องสร้างโรงงานใหม่ที่เป็นโรงงานสีเขียวขึ้นมา

เอบีบีตั้งเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ถึง 80% ภายในปี 2030 ขณะนี้ทำได้ไปแล้ว 72% ซึ่งถือว่าพัฒนามาพอสมควร แต่อีก 8% ที่เหลือ ซึ่งเป็นส่วนที่ยากที่สุด และตั้งเป้าหมายใหญ่ว่าภายในปี 2050 ทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เหลือ 0 ซึ่งนั่นหมายความว่าจะต้องลดลงให้ได้ถึง 100%

“เราไม่ได้ตั้งเป้าหมายแค่เป็นเป้าหมาย Scope 1 และ 2 เท่านั้นและยังมีเป้าหมายยิ่งใหญ่กว่านั้นคือเป้าหมายใน Scope 3  คือการที่เราจะลดลงให้ได้อีก 25% ในปี 2030  และลดลงให้ได้อีก 90% ภายในปี 2050 โดยสร้างอาคารต่างๆที่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานที่ดีขึ้น หรือแม้แต่ในโรงงานผลิตต่างๆ เพื่อให้มั่นใจว่าใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ”  มร.แอนเดรียส กล่าว

ในประเทศไทย เอบีบีได้ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อดึงดูดบุคลากรรุ่นใหม่ที่มีความสามารถ พร้อมพัฒนาศักยภาพให้เก่งขึ้นโดยทำงานร่วมกับ Partner ในเอเชียในการโครงการเดียวกันกับที่ทำกับมหาวิทยาลัยอิมพีเรียลคอลเลจ ลอนดอน สร้างศูนย์การเรียนรู้ในการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอน ซึ่งเชื่อว่าจะเป็น Step แรก ในการเรียนรู้ในการดักจับและกักเก็บก๊าซคาร์บอน เพื่อฝึกอบรมบุคลากรในภูมิภาคเอเชียด้านเทคโนโลยีนี้


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save