สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เผยถึงสถานการณ์ราคานํ้ามันเชื้อเพลิงชีวภาพ ไบโอดีเซลอ้างอิงเฉลี่ยระหว่างวันที่ 22 – 28 เมษายน 2567 อยู่ที่ 36.89 บาทต่อลิตร ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 1.30 บาทต่อลิตร จากสถานการณ์ราคาผลปาล์มน้ำมัน ณ วันที่ 15 – 19 เมษายน 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ 34.54 บาทต่อกิโลกรัม ขณะนี้ราคาน้ำมันปาล์มดิบมาเลเซีย ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 34.45 บาทต่อกิโลกรัม ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 1.42 บาทต่อกิโลกรัม ในส่วนราคาน้ำมันปาล์มดิบมาเลเซียเฉลี่ยอยู่ที่ 32.01 บาทต่อกิโลกรัม ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 2.44 บาทต่อกิโลกรัม
วีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า นอกจากนี้ สนพ.ยังได้ติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลก พบว่า ราคาน้ำมันดิบยังคงผันผวน จากนักลงทุนคลายความกังวลอุปทานน้ำมันดิบตึงตัว หลังพบว่าอุปทานน้ำมันดิบในตะวันออกกลางยังไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การโจมตีระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน อย่างไรก็ตาม ยังต้องจับตามาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติมของสหรัฐฯ ต่ออิหร่าน ที่กำหนดผ่านวุฒิสภาในสัปดาห์นี้ ซึ่งอาจผลักดันราคาน้ำมันให้สูงขึ้น รวมทั้งอุปทานจากเวเนซุเอลาที่มีแนวโน้มลดลงหลังสหรัฐฯ ไม่ต่ออายุใบอนุญาตผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรน้ำมันของเวเนซุเอลา ซึ่งสิ้นสุดในวันที่ 18 เมษายน 2567 ทั้งนี้ ภาพรวมสถานการณ์ราคาน้ำมันโลก (ระหว่างวันที่ 15 – 21 เมษายน 2567) พบว่า ราคาน้ำมันดิบดูไบ อยู่ที่ระดับ 88.99 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 1.56 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบเวสต์ เท็กซัส อยู่ที่ระดับ 83.87 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 1.84 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล สำหรับราคากลางน้ำมันสำเร็จรูปตลาดภูมิภาคเอเชีย ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ทรงตัวอยู่ที่ระดับ 107.10เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว (10 PPM) เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 104.19 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 4.02 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
วีรพัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เนื่องจากค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าลงจากสัปดาห์ที่แล้ว 0.28 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ มาอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 36.9657 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ต้นทุนน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 0.15 บาทต่อลิตร และต้นทุนน้ำมันดีเซลลดลง 0.74 บาทต่อลิตร ทำให้ค่าการตลาดเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของน้ำมันกลุ่มเบนซิน และน้ำมันดีเซล อยู่ที่ระดับ 2.51 บาทต่อลิตร ทั้งนี้ ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 28 เมษายน 2567 กองทุนฯ มีสินทรัพย์รวม 29,770 ล้านบาท หนี้สินกองทุนฯ 137,370 ล้านบาท ฐานะกองทุนฯ สุทธิติดลบ 107,600 ล้านบาท แบ่งเป็นติดลบจากบัญชีน้ำมัน 60,145 ล้านบาท บัญชี LPG 47,455 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม สนพ. จะติดตามสถานการณ์ราคาพลังงานอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ราคาสะท้อนกับสถานการณ์ปัจจุบันและเป็นธรรมกับทุกภาคส่วน
สถานการณ์ราคานํ้ามันเชื้อเพลิงชีวภาพ
ไบโอดีเซล (B100)
ราคาน้ำมันไบโอดีเซลอ้างอิงเฉลี่ย วันที่ 22 – 28 เม.ย. 67 อยู่ที่ 36.89 บาทต่อลิตร
- ราคาน้ำมันไบโอดีเซลอ้างอิงลดลงจากสัปดาห์ก่อน 1.30 บาทต่อลิตร จากสถานการณ์ราคาน้ำมันปาล์มดิบ ณ วันที่ 15 – 19 เม.ย. 67 เฉลี่ยอยู่ที่ 34.54 บาทต่อ กก. โดยลดลงจากสัปดาห์ก่อน 1.42 บาทต่อ กก. ราคา ผลปาล์มทะลายเฉลี่ยอยู่ที่ 5.38 บาทต่อ กก. ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 0.15 บาทต่อ กก. ในส่วนราคาน้ำมันปาล์มดิบมาเลเซียเฉลี่ยอยู่ที่ 32.01 บาทต่อ กก. ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 2.44 บาทต่อ กก.
- ปริมาณสต๊อกน้ำมันมันปาล์มดิบ ณ สิ้นเดือน ก.พ. 67 อยู่ที่ 241,270 ตัน ลดลงจากเดือนก่อน 22,820 ตัน โดยสต็อก B100 อยู่ที่ 62.29 ล้านลิตร ลดลงจากเดือนก่อน 6.58 ล้านลิตร
- สถานการณ์การผลิตปาล์มน้ำมัน ปี 2567 เดือน ก.พ. มีเนื้อที่ให้ผลผลิต 5.81 ล้านไร่ อัตราสกัดน้ำมันเฉลี่ยร้อยละ 17.61 ผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบ อยู่ที่ 190,078 ตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 3.03 ตันต่อไร่ มีการส่งออกน้ำมัน ปาล์มดิบ ประมาณ 10,961 ตัน โดยมีความต้องการใช้ในประเทศด้านบริโภค และอุตสาหกรรมอื่น 121,453 ตัน และความต้องการใช้ในประเทศด้าน น้ำมันไบโอดีเซล 81,373 ตัน
- ปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลเดือน ก.พ. อยู่ที่ 69.57 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นจาก เดือนก่อน 1.69 ล้านลิตรต่อวัน ส่วนปริมาณการใช้ B100 อยู่ที่ 4.71 ล้านลิตร ต่อวัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.17 ล้านลิตรต่อวัน ทั้งนี้ ปริมาณการผลิต B100 อยู่ที่ 4.76 ล้านลิตรต่อวัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.37 ล้านลิตรต่อวัน
เอทานอล
ราคาเอทานอลอ้างอิงในเดือนเมษายน 2567 อยู่ที่ 31.18 บาทต่อลิตร
- ราคาอ้างอิงเดือนเมษายนอยู่ที่ 31.18 บาทต่อลิตร ราคาเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.09 บาทต่อลิตร จากราคามันสําปะหลังในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ในส่วนกากน้ําตาลราคายังคงทรงตัว
- โรงงานเอทานอลที่ผลิตเพื่อจําหน่ายเป็นน้ํามันเชื้อเพลิงมี จํานวน 28 โรง กําลังการผลิตติดตั้งรวม 6.77 ล้านลิตรต่อวัน ผลิตจริงในเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 4.57 ล้านลิตรต่อวัน ผลิต เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.60 ล้านลิตรต่อวัน
- ปริมาณการใช้เอทานอลในภาคเชื้อเพลิงเดือนกุมภาพันธ์อยู่ที่ 3.44 ล้านลิตรต่อวัน การใช้เอทานอลลดลงจากเดือนก่อน 0.03 ล้านลิตรต่อวัน
ที่มา: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน