BOI ไฟเขียวหนุนยานยนต์ไฟฟ้า เพิ่มสิทธิจูงใจนักลงทุน ดันไทยฐานการผลิตสำคัญในภูมิภาค


บอร์ดบีโอไอไฟเขียวกระตุ้นการลงทุนส่งท้ายปี 63 ส่งเสริมการลงทุนการผลิตยานพาหนะไฟฟ้า หรือ อีวี (EV) รอบใหม่ หลังจากหมดระยะเวลาการยื่นคำขอรับการส่งเสริมไปตั้งแต่ปี 2561 รอบใหม่จูงใจนักลงทุนด้วยสิทธิประโยชน์ทางภาษีสูงถึง 8 ปี หนุนโรดแมปการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าไทย สู่การเป็นฐานการผลิตสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาค

BOI อนุมัติส่งเสริมการลงทุน EV รอบใหม่ หลังจากหมดระยะเวลาการยื่นคำร้องไปตั้งแต่ปี 61 โดยในการสนับสนุนในครั้งนี้ เปิดให้การส่งเสริมยานพาหนะไฟฟ้าทุกประเภท ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า รถสามล้อไฟฟ้า รถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้า รวมถึงเรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าด้วย จากเดิมที่มีการส่งเสริมเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าและรถโดยสารไฟฟ้าเท่านั้น

สิทธิประโยชน์และเงื่อนไข หนุนลงทุน EV ไทย

รถยนต์ไฟฟ้า

กิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ามุ่งเน้นการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่เป็นหลัก (Battery Electric Vehicles: BEV) แต่ให้มีการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสมควบคู่ไปด้วยกันได้

  • กรณีที่มีขนาดการลงทุนไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี และหากมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาก็สามารถได้รับสิทธิเพิ่ม
  • กรณีขนาดการลงทุนน้อยกว่า 5,000 ล้านบาท การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ (BEV) จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี และจะได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นหากดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น เริ่มผลิตรถยนต์ภายในปี 2565 มีการผลิตชิ้นส่วนสำคัญเพิ่มเติมจากข้อกำหนดพื้นฐาน มีปริมาณการผลิตจริงมากกว่า 10,000 คันต่อปี และมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา
  • ถ้ามีโครงการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบ Plug-in Hybrid Electric Vehicles หรือ PHEV ด้วย จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี ทั้งนี้ต้องการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้าอย่างน้อย 3 ชิ้น

รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่

กิจการผลิตรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี โดยจะได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นหากดำเนินได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น เริ่มผลิตภายในปี 2565 มีการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าที่เริ่มจากขั้นตอน Module มีการผลิตชิ้นส่วนสำคัญอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น Traction Motor และมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา

รถสามล้อไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่

กิจการผลิตสามล้อไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี โดยจะได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นหากดำเนินได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น มีการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าที่เริ่มจากขั้นตอน Module มีการผลิตชิ้นส่วนสำคัญอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น Traction Motor และมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา

รถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่

กิจการผลิตรถโดยสารไฟฟ้าและรถบรรทุกไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี โดยจะได้รับสิทธิเพิ่มขึ้นหากดำเนินได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เช่น มีการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้าที่เริ่มจากขั้นตอน Module มีการผลิตชิ้นส่วนสำคัญอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น Traction Motor และมีการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา

เรือไฟฟ้า

กิจการต่อเรือหรือซ่อมเรือ ที่เป็นเรือที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี

ทั้งนี้ การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ทุกประเภท ผู้ลงทุนจะต้องเสนอแผนงานรวม (Package) เช่น โครงการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ โครงการผลิตแบตเตอรี่ไฟฟ้า แผนการนำเข้าเครื่องจักรและติดตั้ง แผนการผลิตในระยะ 1 – 3 ปี แผนการผลิตหรือจัดหาชิ้นส่วนอื่นๆ และแผนการพัฒนาผู้ผลิตวัตถุดิบ ในประเทศไทย (ที่มีคนไทยถือหุ้นข้างมาก) เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังปรับปรุงขอบข่ายและสิทธิประโยชน์ของประเภทกิจการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์สำหรับยานพาหนะไฟฟ้า โดยเพิ่มเติมรายการชิ้นส่วนสำคัญอีก 4 รายการ ได้แก่ High Voltage Harness, Reduction Gear, Battery Cooling System และ Regenerative Braking System พร้อมทั้งปรับปรุงสิทธิประโยชน์ให้จูงใจมากขึ้นสำหรับกิจการผลิตแบตเตอรี่ที่มีการลงทุนในขั้นตอนที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น โดยให้รับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ไม่มีการผลิตในประเทศ ในอัตราร้อยละ 90 เป็นระยะเวลา 2 ปี ในกรณีที่มีขั้นตอนการผลิต Module หรือ Cell เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญในภูมิภาค


Source: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)

Update – ยานยนต์ไฟฟ้าไทยในปัจจุบัน

Roadmap พัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในไทย รัฐบาลตั้งเป้าผลิตยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 30% ภายในปี 2030 และ BOI สนับสนุนกระตุ้นการลงทุนผ่านมาตรการส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า ในการผลิตรถยนต์ประเภทไฮบริด (HEV) ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) รถพลังงานไฟฟ้า 100% (BEV) และสถานีอัดประจุไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีผู้ประกอบการทยอยขอรับการส่งเสริมการลงทุนในส่วนของรถยนต์พลังงานเพิ่มขึ้น ทั้งหมด 16 บริษัท รวม 26 โครงการ แบ่งเป็น

  • การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด จำนวนทั้งสิ้น 5 โครงการ ได้แก่ นิสสัน, โตโยต้า, มาสด้า, ฮอนด้า และมิตซูบิชิ กำลังการผลิตรวม 352,500 คัน/ปี
  • การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด มีผู้ประกอบการสนใจจำนวน 6 โครงการ ได้แก่ โตโยต้า, มิตซูบิชิ, อาวดี้, เอ็มจี, เมอร์เซเดส-เบนซ์ และบีเอ็มดับเบิลยู กำลังผลิตรวม 87,240 คัน/ปี
  • การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ มีผู้ประกอบการสนใจลงทุนทั้งสิ้นจำนวน 13 โครงการ ได้แก่ โตโยต้า, มิตซูบิชิ, นิสสัน, เอ็มจี, ฮอนด้า, มิตซูบิชิ, อาวดี้, เอ็มจี, เมอร์เซเดส-เบนซ์, ฟอมม์, ทาคาโน่, สามมิตร, สกายเวลล์ และไมน์ กำลังผลิตรวม 125,140 คัน/ปี
  • การผลิตรถบัสไฟฟ้า จำนวน 2 โครงการ กำลังผลิตรวม 1,600 คัน/ปี

ทั้งนี้ จากข้อมูลปัจจุบัน มีรถยนต์ไฟฟ้าจำหน่ายในประเทศไทย ในชนิดใช้แบตเตอรี่ BEV จำนวน 11 ยี่ห้อ 13 รุ่น ส่วนรถแบบปลั๊กอิน ไฮบริด PHEV นั้นมี 7 ยี่ห้อ จำนวน 26 รุ่น และรถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด HEV มีจำนวน 5 ยี่ห้อ 15 รุ่น โดยในปี 2020 จากข้อมูลยอดจดทะเบียน EV ในช่วง 8 เดือนแรกของปี ยอดจดทะเบียนนั้นมีสูงถึง 21,889 คัน (รวมมอเตอร์ไซค์และสามล้อ และหากนับเฉพาะรถยนต์จะมียอดประมาณ 19,000 คัน) ทำให้ยอดสะสมของยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมดในประเทศไทยมีมากกว่า 175,000 คัน


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save