เมื่อเอ่ยถึงคาร์บอนในวิชาเคมี ส่วนใหญ่จะรู้จักและเคยได้ยินชื่อ บางท่านอาจจะนึกถึงผลเสียที่มีต่อร่างกายและเป็นต้นเหตุให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ของร่างกายได้
คาร์บอนโดยสภาพของสารชนิดนี้เราจะรู้จักในรูปของถ่าน ถ่านวัตถุสีดำ เราใช้หุงอาหารและเป็นเชื้อเพลิงในการเผาไหม้สิ่งต่างๆ แต่เวลาถ่านหรือคาร์บอนไปจับตัวกับสสารชนิดอื่นในรูปของสารประกอบแล้ว จะก่ออันตรายกับร่างกายในรูปของโรคภัยไข้เจ็บได้บ่อย ดังนั้นจะกล่าวถึงสารพิษง่ายๆ ที่เรารู้จักและพบเห็นอยู่เป็นประจำ
1.) ควันพิษ ที่เกิดจากการเผาไหม้วัสดุต่างๆ ไม่ว่าเป็นการเผาถ่าน เผาต้นไม้ใบหญ้า ควันพิษจากท่อไอเสียรถยนต์ ควันพิษจากการเผาบุหรี่หรือสูบบุหรี่ ไอร้อนจากเครื่องปรับอากาศ ฝุ่นละออง PM2.5 ควันจากการปรุงอาหารรวมถึงการมีกลิ่นบูดเน่าจากของเสียต่างๆ เช่น อาหารที่บูดเสีย เสื้อผ้าที่สกปรก หรือบริเวณที่มีกลิ่นอับชื้น ล้วนแล้วแต่มี คาร์บอนไดออกไซด์ทั้งสิ้น คาร์บอนไดออกไซด์นี้ก่อให้อากาศที่เราหายใจเข้าร่างกายเป็นพิษ มีผลเสียต่อระบบไหลเวียนโลหิตและระบบทางเดินหายใจ ก่อให้เกิดอาการเหนื่อย หอบ ไอ ระคายเคืองคอ และเสมหะเหนียวๆ ในลำคอ นำพาเชื้อโรคเข้าร่างกาย เกิดการอักเสบของอวัยวะในระบบทางเดินหายใจได้
2.) ในควันพิษนี้มีสารคาร์บอนจับตัวเป็นสารพิษในรูปของ คาร์บอนมอนอกไซด์ มีผลไปตัดการลำเลียงออกซิเจนที่เราหายใจเข้าไปไม่ให้เข้าไปในเม็ดเลือดแดง มีมากในควันเผาไหม้ต่างๆ ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์เกิดการอักเสบของระบบทางเดินหายใจ และมีสารก่อมะเร็งในร่างกายด้วย
3.) คาร์บอนจับตัวในรูปของ สารมีเทน หรือที่เรารู้จักดีในแก๊สหุงต้มอาหาร และแก๊สเติมในรถยนต์ ซึ่งก๊าซมีเทนนี้มีสารก่อมะเร็งในปอดอย่างรุนแรง
4.) สารคาร์บอนนี้สามารถจับตัวกับโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว แคดเมียม สารหนู ปรอท ฯลฯ และสารพิษอื่นที่ออกมากับน้ำเสียของโรงงานอุตสาหกรรม เกิดอาการแพ้ ผื่นคันตามผิวหนัง หรือแพ้อากาศทางเดินหายใจ ไอ จาม และเป็นต้นเหตุให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจได้
5.) คาร์บอนอยู่ในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์หรือคาร์บอนมอนอกไซด์ หากเกิดรุนแรงมีผลต่อสมองและหัวใจสมองทำงานผิดปกติ มีผลต่อหลอดเลือดของสมองและหลอดเลือดหัวใจ เกิดอัมพฤกษ์หรืออัมพาต และภาวะหัวใจวายได้เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
ดังนั้นต้องพยายามป้องกันมิให้หายใจเอาสารคาร์บอนเข้าสู่ร่างกาย หายใจในที่อากาศบริสุทธิ์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน พักผ่อนให้เพียงพอ อารมณ์แจ่มใส ไม่ปล่อยให้ท้องผูก สามารถห่างไกลจากสารพิษคาร์บอนได้
ที่มา: หมอโฆษิต