ไทย สปป.ลาว เมียนมา เปิดตัวแผนปฏิบัติการร่วมภายใต้ยุทธศาสตร์ฟ้าใสเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนในปี 2567-2573


รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับรัฐมนตรีจาก สปป.ลาวและเมียนมา เปิดตัวแผนปฏิบัติการร่วมภายใต้ยุทธศาสตร์ฟ้าใส (2567-2573) เพื่อแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน โดยมีการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาสังคม ซึ่งคาดว่าจะลดจุดความร้อนและมลพิษในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมตั้งเป้าหมายในการควบคุมไฟป่าและหมอกควันในฤดูแล้งปี 2568 โดยให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อจัดการปัญหาอย่างเป็นระบบและทันเวลา

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับ นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดตัวแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนภายใต้ยุทธศาสตร์ฟ้าใส (พ.ศ. 2567 – 2573) ร่วมกับ นางบุนคำ วอละจิด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สปป.ลาว และ นายคิน หม่อง ยี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เมียนมา โดยมี นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดร.ชญานันท์ ภักดีจิตต์ รองปลัดกระทรวงฯ นางสาวปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตลอดจนคณะผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เข้าร่วมงาน เพื่อย้ำถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลทั้ง 3 ประเทศ ในการแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนอย่างเป็นรูปธรรมและบูรณาการร่วมกัน เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2567 ณ ห้องวิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ

นายเฉลิมชัย กล่าวว่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละออง รวมถึงหมอกควันข้ามแดน โดยบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมอย่างเข้มข้นและต่อเนื่อง ส่งผลให้สถานการณ์จุดความร้อนของประเทศไทยในช่วงเดือนมกราคม – เดือนพฤษภาคม ปี 2567 ลดลงถึงร้อยละ 21 ในช่วงเวลาเดียวกันของปี สถานการณ์ไฟในป่าพบว่าจุดความร้อนสะสมในพื้นที่ป่าทั่วประเทศลดลงร้อยละ 26 โดยค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ทั่วประเทศลดลงร้อยละ 15 จาก 41 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เป็น 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

นายเฉลิมชัย กล่าวต่อว่า ในฤดูแล้งปี 2568 ที่จะถึงนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบหมายให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ เฝ้าระวังการเกิดไฟในป่า และบูรณาการร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย หาสาเหตุจุดความร้อนที่สูงขึ้นในพื้นที่เกษตร พร้อมทั้งกำชับหน่วยงานในสังกัด และผู้ว่าราชการจังหวัดควบคุมอย่างเข้มงวด รวมถึงให้มีกลไกการบังคับบัญชาผ่านศูนย์ปฏิบัติการระดับจังหวัดที่เหมาะสมและเข้าถึงท้องถิ่นในทุกระดับ เพื่อให้เกิดการดำเนินการอย่างเป็นระบบ นอกจากนี้ ในช่วงสถานการณ์วิกฤติฝุ่นละอองที่ใกล้จะมาถึง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมอบหมายให้กรมควบคุมมลพิษ ติดต่อผ่านสายด่วน (Hotline) ในระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา เพื่อยกระดับการบริหารจัดการหมอกควัน ไฟป่าให้ทันท่วงที และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
นางสาวปรีญาพร กล่าวว่า แผนปฏิบัติการร่วมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดน ภายใต้ยุทธศาสตร์ฟ้าใส (พ.ศ. 2567 – 2573) ซึ่งแผนปฎิบัติการร่วมฉบับนี้มีกรอบการดำเนินงานหลักใน 4 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ การควบคุมและดับไฟจากการเผาในที่โล่ง การคาดการณ์และติดตามตรวจสอบสถานการณ์หมอกควัน การจัดการเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับปัญหาหมอกควันข้ามแดนของกฎหมายแต่ละประเทศ โดยหลังงานเปิดตัวประชุมครั้งนี้เป็นก้าวสำคัญที่จะนำแผนปฏิบัติการร่วมฯ ไปสู่การแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนระหว่างสามประเทศอย่างเป็นทางการโดยเร็วและในอนาคต


ที่มา: กรมควบคุมมลพิษ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save