GIZ เปิดรับสมัครผลงาน Eco-Design Sparking Innovation Award ชิงรางวัลใหญ่ดูงาน Green Life and Sustainable Taiwan Expo 2025 ที่ไต้หวัน


องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) โดยโครงการการลดการใช้ การออกแบบที่ยั่งยืนและการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์พลาสติกเพื่อป้องกันขยะในทะเล (MA-RE-DESIGN) เปิดตัว การประกวดออกแบบบรรจุภัณฑ์บนแนวคิดของนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์เพื่อโลกสีเขียว Eco-Design Sparking Innovation Award (อีโค่-ดีไซน์ สปาร์กลิง อินโนเวชั่น อวอร์ด) ภายใต้ธีมการออกแบบบรรจุภัณฑ์พลาสติกอย่างยั่งยืนบนแนวคิดของนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์เพื่อโลกสีเขียว และคำนึงถึงหลักการออกแบบเพื่อการรีไซเคิล (A Call for Innovation in Design for Recycling and Carbon Footprint Solutions) เพื่อชิงรางวัลใหญ่ไปทริปดูงาน Green Life and Sustainable Taiwan Expo 2025 ที่ไต้หวัน

GIZ เปิดรับสมัครผลงาน Eco-Design Sparking Innovation Award

Eco-Design Sparking Innovation Award

งานเปิดตัวการประกวดการออกแบบบรรจุภัณฑ์ฯ นี้จัดขึ้น ณ โซนอีเดน ชั้น 3 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยมีผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำกรุงเทพฯ หน่วยงานคู่ร่วมมือโครงการ พันธมิตรโครงการ หน่วยงานด้านการออกแบบ และนักออกแบบที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับความสำคัญของบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน และความจำเป็นเร่งด่วนในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านนี้ เพื่อร่วมขับเคลื่อนประเทศไทยในการแก้ไขปัญหามลพิษพลาสติกและส่งเสริมบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนเพื่อลดขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวและพัฒนาระบบจัดการขยะให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

โยฮันเนส แคร์เนอร์

โยฮันเนส แคร์เนอร์ ที่ปรึกษาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประจำประเทศไทย กล่าวถึงความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมนีและประเทศไทยในการส่งเสริมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ยั่งยืนว่า “งานนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนแนวทางบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนผ่านการออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เยอรมนีภูมิใจที่ได้สนับสนุนประเทศไทยในการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน การประกวดครั้งนี้จะจุดประกายนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ช่วยสร้างอนาคตที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

ทวีชัย เจียรนัยขจร

ทวีชัย เจียรนัยขจร ผู้อำนวยการส่วนลดและใช้ประโยชน์ของเสีย กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ กล่าวถึงความสำคัญของการพัฒนานโยบายสนับสนุนการออกแบบบรรจุภัณฑ์ยั่งยืนในประเทศไทยว่า การออกแบบบรรจุภัณฑ์มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเป็นส่วนหนึ่งของการเจรจาด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลกในที่ประชุมคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลในการจัดทำมาตรการที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศด้านมลพิษจากพลาสติก รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางทะเล ครั้งที่ 5 (INC-5) ช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ณ เมืองปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี ดังนั้น การออกแบบบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนจึงเป็นประเด็นที่ภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยจำเป็นต้องพิจารณาและให้ความสำคัญ โดยการขับเคลื่อนของประเทศไทยตามแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) ได้เน้นย้ำความสำคัญในส่วนนี้ตั้งแต่ต้นทาง โดยเน้นการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดการใช้วัสดุที่ฟุ่มเฟือย ไม่ใช้สารเติมแต่งที่อันตรายและขัดขวางการแปรรูปใช้ใหม่ เน้นการใช้ซ้ำ และบรรจุภัณฑ์เหล่านั้นจะต้องนำกลับไปแปรรูปใช้ใหม่ได้ทั้งหมด เพื่อร่วมขับเคลื่อนประเทศสู่สังคมเศรษฐกิจหมุนเวียน และสอดคล้องกับหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต หรือ Extended Producer Responsibility (EPR) ที่จะให้ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์ในอนาคต

วรุณ วารัญญานนท์

ด้านวรุณ วารัญญานนท์ ที่ปรึกษาเพื่อภาคีอุตสาหกรรม ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และที่ปรึกษาโครงการ MA-RE-DESIGN กล่าวถึงหลักการที่นำมาใช้ในการประกวดบรรจุภัณฑ์ครั้งนี้ว่า การออกแบบเพื่อการรีไซเคิล หรือ Design for Recycling (D4R) ช่วยให้การออกแบบบรรจุภัณฑ์ไม่ใช่แค่มีโลโก้รีไซเคิลได้ หรือรีไซเคิลได้ในทางทฤษฎี แต่เป็นการส่งเสริมการเก็บรวบรวม คัดแยก และนำไปรีไซเคิลได้จริง ในขณะที่คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ หรือ Carbon Footprint of Products (CFP) ช่วยแสดงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดวัฏจักรชีวิต ตั้งแต่การใช้เลือกวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง การใช้งาน จนถึงการกำจัดซากหลังใช้งาน การประยุกต์ใช้หลักการ D4R และ CFP ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ จึงเป็นแนวทางให้บริษัทสามารถออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงเพิ่มความเป็นไปได้ที่บรรจุภัณฑ์จะถูกนำไปรีไซเคิลจริง”

อัลวาโร่ ซูริต้า

อัลวาโร่ ซูริต้า ผู้อำนวยการโครงการ MA-RE-DESIGN โดย GIZ กล่าวว่า โครงการ MA-RE-DESIGN จัดการประกวดนี้ขึ้นเพราะเราให้ความสำคัญกับการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (eco-design) เนื่องจากการออกแบบบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนเป็นกุญแจสำคัญในการลดขยะพลาสติกตั้งแต่ต้นทาง พร้อมสนับสนุนภาครัฐในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) เพื่อลดและกำจัดขยะพลาสติก รวมถึงส่งเสริมทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และบรรลุอัตราการรีไซเคิล 100% ภายในปี พ.ศ. 2573

ชณัฐ วุฒิวิกัยการ

ชณัฐ วุฒิวิกัยการ หรือ KongGreenGreen คอนเทนต์ครีเอเตอร์ด้านสิ่งแวดล้อม ผู้รับหน้าที่พิธีกรของงานกล่าวปิดท้ายว่า “ผมตื่นเต้นที่จะได้เห็นแนวคิดสร้างสรรค์และความมุ่งมั่นสู่ความยั่งยืนจากคนรุ่นใหม่ การออกแบบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมคืออนาคตของพวกเรา และการประกวดครั้งนี้เป็นเวทีสำคัญในการนำเสนอนวัตกรรมใหม่ ๆ สู่สาธารณะ จึงขอชวนผู้ที่สนใจส่งผลงานเข้าประกวดกันเยอะ ๆ

Eco-Design Sparking Innovation Award

Eco-Design Sparking Innovation Award เปิดรับสมัครผลงานถึงวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2568 โดยจะประกาศผลผู้ได้รับรางวัลในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2568


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save