เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส ผนึก บี.กริม เพาเวอร์ เซอร์วิส (แหลมฉบัง) ร่วมลงทุนพัฒนา “เครื่องทดสอบแผงโซลาร์เซลล์”


บริษัท เอ็กโก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด หรือ ESCO ในกลุ่มเอ็กโก ลงนามข้อตกลงระหว่างผู้ถือหุ้นกับ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ เซอร์วิส (แหลมฉบัง) บริษัทย่อยของ บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM หนึ่งในผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าภาคเอกชนรายใหญ่ที่สุดของประเทศ เพื่อร่วมลงทุนพัฒนาเครื่องทดสอบแผงโซลาร์เซลล์ ตอบโจทย์เทรนด์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ขององค์กรต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน

นายสุทธิศักดิ์ แก้วมีแสง กรรมการผู้จัดการ ESCO ในกลุ่มเอ็กโก กล่าวว่า ESCO เป็นบริษัทที่ EGCO Group ถือหุ้น 100% โดยมีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการให้บริการงานเดินเครื่องและบำรุงรักษา (O&M) วิศวกรรม และการฝึกอบรมแก่โรงไฟฟ้า โรงงานปิโตรเคมี และโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ มากว่า 29 ปี การลงนามข้อตกลงระหว่างผู้ถือหุ้นเพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุน เพื่อลงทุนเครื่องมือทดสอบตรวจวัดประสิทธิภาพแผงโซลาร์เซลล์รุ่นใหม่ที่มีความยาวเกิน 2 เมตร นับเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมเพื่อสนับสนุนและต่อยอดธุรกิจการตรวจสอบประสิทธิภาพของแผงโซลาร์เซลล์ โดย ESCO จะร่วมลงทุน และสนับสนุนอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา เช่น อุปกรณ์และเครื่องมือทดสอบหรือซอฟท์แวร์ รวมทั้งบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการดำเนินงานร่วมกัน ESCO เชื่อมั่นว่าความร่วมมือครั้งนี้จะสร้างมูลค่าเพิ่มและความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

นายดอน ทยาทาน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ – สายงานลูกค้าสัมพันธ์และปฏิบัติการโรงไฟฟ้า 2 บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ปัจจุบันการใช้พลังงานทดแทนได้รับความสนใจจากผู้ใช้งานทั้งภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือนเป็นอย่างมาก โดยเห็นได้จากจำนวนของการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่เพิ่มขึ้นทั้งการใช้งานของโรงงานอุตสากรรม นิคมอุตสาหกรรม กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น เนื่องจากเป็นการตอบโจทย์การใช้พลังงานทางเลือกที่มีประสิทธิภาพทั้งในเรื่องการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการใช้พลังงานไฟฟ้าที่สามารถควบคุมปริมาณการใช้ได้อย่างเหมาะสม รวมถึงยังเป็นการตอบโจทย์การดำเนินธุรกิจภายใต้กรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทาง บี.กริม มีความมุ่งมั่นในการพัฒนาการใช้งานพลังงานทางเลือกอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมศักยภาพการใช้งานของแผงโซลาร์เซล์เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้านการใช้พลังงานทางเลือกอย่างมีประสิทธิภาพ

ในปัจจุบันหากพิจารณาการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์จะเห็นได้ว่ามีความยาวมากกว่า 2 เมตร ซึ่งเกินกว่าที่เครื่องทดสอบแผงโซลาร์เซลล์ที่ศูนย์ทดสอบ CES Solar Cells Testing Center (CSSC) จะสามารถรองรับได้ จึงเป็นที่มาของความร่วมมือของพันธมิตรในโครงการนี้เพื่อร่วมลงทุนและพัฒนาเครื่องทดสอบแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งถือเป็นเครื่องทดสอบแผงโซลาร์เซลล์แห่งเดียวในประเทศไทยและในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน โดยทางบี.กริม พร้อมสนับสนุนการลงทุนและการจัดซื้อเครื่องมือทดสอบเพื่อเสริมการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายโครงการ

รศ.ดร.จักรกฤษณ์ เตชะอภัยคุณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า มจธ. ถือเป็นสถาบันการศึกษาที่ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาและส่งเสริมด้านเทคโนโลยีอยู่เสมอ ดังจะเห็นได้จากผลงานด้านวิชาการและการผลิตนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์การใช้งานของภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ มจธ. ได้จัดเตรียมคณาจารย์และนักศึกษาผู้มีประสบการณ์เพื่อเข้าร่วมโครงการ โดยได้จัดเตรียมระบบการเดินเครื่องและการบำรุงรักษาเครื่องมืดทดสอบ ขั้นตอนในการตรวจสอบการใช้งานซึ่งได้รับมาตรฐานห้องปฏิบัติการทดสอบ ISO/IEC17025 ถือเป็นการใช้ความเชี่ยวชาญของทางสถาบันเพื่อพัฒนาการใช้งานพลังงานทางเลือกให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการสร้างประสบการณ์ในการดำเนินโครงการร่วมกับหน่วยงานชั้นนำซึ่งจะเป็นการพัฒนาบุคคลากรของ มจธ. ด้วยเช่นกัน

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ นอกจากลงทุนในเครื่องทดสอบแผงโซลาร์เซลล์แล้ว ทั้ง 3 องค์กรจะร่วมกันทำการตลาดและประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบว่าสามารถใช้บริการและทำการทดสอบได้ที่ศูนย์ทดสอบ CSSC โดยเครื่องทดสอบแผงโซลาร์เซลล์นี้จะถูกติดตั้งที่ศูนย์ทดสอบ CSSC โดยมีผู้ปฏิบัติการของศูนย์ทดสอบ CSSC เป็นผู้ทำการทดสอบและบำรุงรักษา (ผู้ปฏิบัติการและห้องปฏิบัติการของศูนย์ทดสอบ CSSC ผ่านการรับรองระดับสากลแล้ว) โดยความร่วมมือทั้งหมดมีระยะเวลาในการดำเนินงาน 10 ปี

ทั้งนี้ จากรูปแบบความต้องการใช้พลังงานที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ มีนโยบายลดการสร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระยะยาว และหันมาใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น เพื่อตอบโจทย์การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือ Net-Zero Carbon Emissions โดยหนึ่งในพลังงานทดแทนที่ได้รับความนิยมในวงกว้าง คือ การผลิตพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (โซลาร์ รูฟท็อป) เนื่องจากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์สามารถทำได้ทั้งระดับครัวเรือนและอุตสาหกรรม ส่งผลให้จำนวนผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ของแผงโซลาร์เซลล์ ที่มีการพัฒนามากขึ้น ดังนั้นการตรวจสอบแผงโซลาร์เซลล์จึงมีความสำคัญ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่องค์กรและผู้ที่ต้องการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ ทั้งในด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพ ซึ่งจะทำให้เกิดการใช้พลังงานทดแทนในภาพรวมของประเทศมากยิ่งขึ้นในอนาคต


ที่มา: บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save