EU ลดการพึ่งพาวัตถุดิบสำคัญจากจีน สำหรับการผลิตแบตเตอรี่และแผงโซลาร์เซลล์


“Rare Earth” หรือแร่หายาก นับเป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการผลิตสมาร์ทโฟน การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และในอุตสาหกรรมพลังงานอย่างการผลิตกังหันลม และแผงโซลาร์เซลล์

และอย่างที่หลายๆ คนทราบกันดี แหล่งผลิตสำคัญของแร่หายากที่ว่านี้ ส่วนใหญ่มาจากประเทศจีน ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดมากถึง 80% ของแร่หายากทั่วโลก จึงนับได้ว่าประเทศจีนถือว่ากึงผูกขาดแร่หายาก และปัจจุบันการจัดหาวัตถุดิบได้กลายมาเป็นเครื่องมือทางภูมิรัฐศาสตร์ด้วย ซึ่งที่ผ่านมาสหภาพยุโรปก็ตระหนักถึงเรื่องนี้ และพยายามเปลี่ยนกลยุทธ์อุตสาหกรรมเพื่อลดการพึงพาการนำเข้าจากจีน หลายๆ ประเทศในยุโรปจึงได้หันมาลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่เพื่อผลิตแร่หายากด้วยตนเอง

โดยที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมกลยุทธ์ลดการพึ่งพาวัตถุดิบที่สำคัญจากภายนอกยุโรป สหภาพยุโรปได้เสนอกฏหมายว่าด้วยวัตถุดิบสำคัญของยุโรป (European Critical Raw Materials Act) เพื่อเข้ามามีส่วนช่วยในห่วงโซ่อุปทานวัตถุดิบสำคัญ เพื่อเสริมสร้างความแข่งแกร่ง และสร้างความยืดหยุ่นให้กับห่วงโซ่อุปทานภายในสหภาพยุโรป

และล่าสุดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา สหภาพยุโรปได้ลงมติแผนการจัดหาวัตถุดิบสำคัญที่จำเป็นในการผลิตแผงโซลาร์เซลล์ แบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงองค์ประกอบสำคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน เพื่อพยายามผลักดันให้มีการกระจ่ายแหล่งวัตถุดิบ ลดการพึ่งพาจากจีน โดยตั้งเป้าภายในปี 2030 ให้บริษัทเหมืองแร่ภายในยุโรปจะต้องไม่พึงพาประเทศใดประเทศหนึ่งเกิน 65% ของการจัดหาวัตถุดิบเชิงกลยุทธ์ใดๆ

ทั้งนี้ เพื่อดำเนินการด้านเศรษฐกิจด้วยพลังงานสะอาดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล สหภาพยุโรปจำเป็นต้องมีวัตถุดิบสำคัญ เช่น ลิเธียมสำหรับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า และซิลิคอนสำหรับเซมิคอนดักเตอร์ในแผงโซลาร์เซลล์ ซึ่งปัจจุบันต้องจัดหาวัตถุดิบหายากเหล่านี้จากหลายประเทศ ซึ่งร่วมทั้งจีนด้วย

การเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาด จำเป็นต้องมีปัจจัยการผลิตจำนวนมากจากแร่ธาตุสำคัญ โดยเฉพาะแร่ธาตุสำคัญ 5 ชนิด ได้แก่ นิกเกิล โคบอลต์ ลิเธียม ทองแดง และนีโอไดเมียม (รวมถึงอื่นๆ อย่าง เหล็ก ซีเมนต์ พลาสติก และอะลูมิเนียม) ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานหลายประเภท ตั้งแต่กังหันลมและแบตเตอรี่ EV ไปจนถึงโครงข่ายไฟฟ้า ความต้องการแร่ธาตุสำคัญทั้ง 5 ชนิดนี้ จะเพิ่มขึ้น 1.5 ถึง 7 เท่าภายในปี 2030 ในสถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2050 (NZE)

แหล่งที่มา :

  • www.theguardian.com
  • www.iea.org


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save