ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็น “ครัวโลก” เป็นประเทศที่มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นอาหารทางการเกษตรหรืออาหารทางปศุสัตว์ รวมถึงอาหารทางการประมงหรืออาหารทะเล จะมีอาหารหลากหลายชนิดให้รับประทานอย่างมากมาย นอกจากนี้ยังมีอาหารประเภทผัก ผลไม้ ของหวานให้เลือกรับประทานอย่างจุใจอย่างเต็มที่อีกด้วย ย่อมได้คุณประโยชน์ทางด้านโภชนาการอย่างมากต่อสุขภาพทางกายและใจขณะเดียวกัน มีโทษต่อร่างกายเช่นกัน หากอาหารนั้นมีสารพิษและเป็นอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้เช่นกัน
อาหารที่เป็นพิษต่อร่างกายคงต้องกล่าวถึงสาเหตุและอาการที่แสดงออกต่อร่างกาย รวมถึงการป้องกันเพื่อให้ห่างไกลจากพิษของอาหารนั้นๆ
สาเหตุที่อาหารเป็นพิษต่อร่างกายมีหลักใหญ่ๆ ดังนี้ :
1.) อาหารที่ไม่สด มีการเก็บอาหารสดค้างคืนหรือตกค้างนานเกินไป การได้รับความเย็นหรือความร้อนที่ไม่เพียงพอต่อการถนอมอาหาร ทำให้อาหารบูด เน่าเสีย หรือคุณภาพอาหารเสื่อมลงหรือลดลง รสชาติอาหารและกลิ่นของอาหารเสียไปด้วย ทั้งนี้อาหารที่ไม่สดนี้ส่วนใหญ่เป็นอาหารสด พวกเนื้อสัตว์ อาหารทะเล อาหารแปรรูปที่เก็บจนหมดอายุ อาหารสดมีบูด เน่าเสีย ทั้งนี้ส่วนใหญ่มาจากเชื้อโรค ทั้งเชื้อไวรัส เชื้อรา และเชื้อแบคทีเรีย รวมถึงผัก ผลไม้ อาหารแปรรูป อบแห้ง ของหวาน เบเกอรี่ อาหารทะเลตากแห้ง ของหมักดอง ฯลฯ เชื้อโรคสามารถทำให้อาหารเป็นพิษและเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้
2.) อาหารที่มีสารปนเปื้อนหรือสารเคมีตกค้าง เช่น สารตกค้างในผัก ผลไม้ จากการใช้ปุ๋ยเคมีหรือยาฆ่าแมลง รวมถึงการเคลือบสารเคมีเพื่อถนอมความสดของผลไม้ ส่วนใหญ่มีสารพิษจากโลหะต่างๆ ปรอท แคดเมียม ตะกั่ว สารหนู เป็นต้น
3.) การปนเปื้อนพวกปรสิตหรือพยาธิ รวมถึงไข่พยาธิ ในอาหารประเภทเนื้อต่างๆ กรรมวิธีการปรุงปรุงไม่สุก เนื้อตกค้าง ฯลฯ ทำให้ตัวพยาธิหรือไข่พยาธิเหล่านี้เข้าร่างกายแล้วไปเจริญเติบโตในระบบย่อยอาหาร รวมถึงเข้ากระแสเลือดไปสู่อวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ปอด หัวใจ สมอง เป็นต้น
เมื่อสารพิษต่างๆ ดังยกตัวอย่างมาเข้าร่างกายสู่ระบบทางเดินอาหาร ย่อมก่อให้เกิดอาการผิดปกติของร่างกาย มีตั้งแต่อาการเล็กน้อยจนเกิดอาการรุนแรง ทั้งเป็นแบบเฉียบพลันและต่อเนื่องเป็นเรื้อรังและเปลี่ยนแปลงเป็นโรคร้ายแรงที่ยากต่อการรักษาและอาจเสียชีวิตได้
อาการโดยรวมที่เกิดขึ้นกับระบบย่อยอาหาร สารพิษเมื่อเข้าสู่ร่างกายอาจมีปัญหาในช่องปาก เกิดแผลหรือเชื้อราขึ้นปาก มีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง อาหารไม่ย่อย มีท้องเสีย ถ่ายอุจจาระเหลวหรือถ่ายเป็นเลือด บ้างมีอาการท้องผูก ถ่ายลำบาก มีผลทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร ตับ ถุงน้ำดี ลำไส้ใหญ่ เป็นต้น ผู้ป่วยควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง
ส่วนการป้องกัน ระวังอาหารต้องสดไหม่ ปรุงสุก สะอาด รับประทานในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย ตรงเวลา ศึกษาวิธีการเก็บถนอมอาหาร ช่วยห่างไกลจากอาหารเป็นพิษได้
ที่มา: หมอโฆษิต