โรคต้อหิน จากประสบการณ์ตรง


คนไทยรู้จักโรคต้อทางดวงตามานาน และได้ยินบ่อยๆ ตั้งแต่ ต้อลม ต้อเนื้อ ต้อกระจก และต้อหิน ในบทความนี้จะกล่าวถึงต้อหินจากประสบการณ์ตรง


ผู้เขียนได้รับการวินิจฉัยจากจักษุแพทย์ว่าเป็นม่านตาอักเสบตาข้างขวา ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2566 และรักษาด้วยการหยอดตามาตลอด ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ยังคงมองเห็นภาพตามปกติ ถึงเดือนมีนาคม 2567 ทางจักษุแพทย์แจ้งให้ทราบว่ามีความผิดปกติ และพบว่าเป็น โรคต้อหิน มีความดันภายในลูกนัยน์ตาสูงขึ้นเกิน 20 (ปกติความดันตาจะอยู่ที่ 10-20) ซึ่งการวัดความดันจะวัดได้จากอุปกรณ์หรือเครื่องมือของจักษุแพทย์ สรุปเบื้องต้นนี้ไม่มีอาการผิดปกติใดๆ มองเห็นภาพต่างๆชัดเจนอยู่ คุณหมอที่ดูแลอยู่จึงส่งต่อการรักษาให้จักษุแพทย์ที่เชี่ยวชาญเรื่องโรคต้อหิน จากการวัดความดันตาขึ้นมาเป็น 22 คุณหมออธิบายว่ามีความผิดปกติเป็นโรคต้อหิน อาการโรคต้อหินเป็นใหม่หรือเป็นนาน อาจไม่มีอาการแสดงใดๆ นอกจากวัดและตรวจความดันตาด้วยการตรวจอย่างละเอียดของจักษุแพทย์จึงจะพบและรู้สึกว่าเป็นโรคต้อหิน การรักษาจึงมียาหยอดตาจากเดิมที่เป็นม่านตาอักเสบ มียาหยอดตาอยู่ 2 ชนิด พอตรวจพบว่าเป็นต้อหิน จึงมียาหยอดตาเพิ่มขึ้นอีก 2 ชนิด และคุณหมอนัดตรวจต่อเนื่องเป็นระยะ 2-4 สัปดาห์แล้วแต่ภาวะความดันตาขึ้นหรือลงมากน้อยและสัมพันธ์กับอาการผิดปกติอื่นๆ ผู้เขียนยังคงติดตามการรักษาตลอด และหยอดยาตาอย่างเคร่งครัดมาตลอดจนถึงเดือนสิงหาคม จักษุแพทย์ที่รักษาต้อหินแจ้งให้ทราบว่าความดันตายังขึ้นลง โดยระยะนี้ของเดือนสิงหาคม ขึ้น-ลงมากอยู่และมีแนวโน้มว่ายาจะเอาไม่อยู่ คงต้องทำการผ่าตัด โดยการเจาะทางเดินของน้ำในลูกตาให้ไหลคล่องขึ้น เพื่อความดันตาไม่สูงเกิน 20 จะได้ไม่กระทบต่อเส้นประสาทตาซึ่งมีผลให้เส้นประสาทตาเสียหายและทำให้ตามองไม่เห็นได้ ผู้เขียนได้รับการผ่าตัดครั้งแรกเกี่ยวกับโรคต้อหิน เมื่อ 23 กันยายน 2567 และผ่าตัดซ้ำ 21 ตุลาคม 2567 เนื่องจากมีแผลติดไม่สนิทจากรอยเย็บทำให้ลูกนัยน์ตาไหลซึมออก เป็นเหตุให้ความดันตาต่ำลงมา และผ่าตัดซ้ำ  เมื่อ 1 พฤศจิกายน ขณะนี้อาการทั่วไปดีขึ้นตามลำดับคาดว่าอีกไม่นานคงกลับสู่ปกติได้

จึงเป็นประสบการณ์เรียนให้ทราบว่าใส่ใจกับดวงตาของเรา หากแม้นมีอะไรผิดปกติ ควรพบจักษุแพทย์โดยเร็ว อย่าชะล่าใจและผู้ที่อายุเกิน 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจนัยน์ตาปีละ 1 ครั้ง ส่วนผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ความดัน โรคหัวใจ โรคไต ควรตรวจเรื่องของดวงตาด้วย เพื่อการแก้ไขที่ถูกต้องแต่เนิ่นๆ อย่าปล่อยให้อาการเป็นมาก อาจจะสายเกินแก้ ทำให้ดวงตามองไม่เห็น จะเดือดร้อนและเป็นภาระกับผู้ใกล้ชิดได้ ขอให้โชคดีครับ


ที่มา: หมอโฆษิต


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save