Green กันหรือยัง


คํายอดฮิตในแทบทุกวงการของวันนี้ ก็คือคําว่า “Green”

วันนี้จึงปรากฏคําว่า Green ใน (แทบ) ทุกเรื่อง อาทิ Green Industry, Green Logistics, Green Supply Chain, Green Energy, Green Manufacturing, Green Cleaning, Green GDP, Green Economy, Green Label, Green Culture และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งหลายท่านใช้คําไทยว่า “สีเขียว” เช่น อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) เป็นต้น

คําว่า “Green” จะหมายถึง “สิ่งแวดล้อม” และเป็น แนวความคิดเกี่ยวกับ “การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นหลัก ซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องของ “การสงวนรักษาและหวงแหนสิ่งแวดล้อม” พูดง่ายๆ ว่า การกระทําใดๆ ควรจะต้องเอาเรื่องของจิตสํานึกและ ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม หรือ “การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม” เป็นที่ตั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการผลิต การประกอบกิจการธุรกิจ อุตสาหกรรม และหรือการบริการ

ดังนั้นการกระทําใดๆ จะต้องยึดในหลักการของ “การเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม” เป็นสําคัญ คือ ไม่ทําให้สิ่งแวดล้อม (ดิน นํ้า อากาศ ฯลฯ) ได้รับความเสียหายหรือได้รับผลกระทบในเชิงลบ เช่น ทําให้ดินเป็นพิษ ทําให้นํ้าเสีย อากาศเสีย หรือสร้างขยะ จนเป็นปัญหาต่อ “คุณภาพชีวิต” ของทุกคนที่อาศัยบนโลกใบนี้ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

คําว่า Green จึงแสดงให้เห็นถึง “ความรับผิดชอบต่อสังคม” ของทุกผู้คนบนโลก รวมตลอดถึงความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ขององค์กรต่างๆ ด้วย เช่น โรงงาน สถานประกอบการ ร้านค้า ธุรกิจอุตสาหกรรม วิสาหกิจ บ้านพักอาศัย และชุมชน ต่างๆ เป็นต้น

ทุกวันนี้กระแสด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงเป็นหนึ่งในปัจจัยสําคัญที่ทุกธุรกิจอุตสาหกรรมต้องให้ความสําคัญมากขึ้น เพราะในปัจจุบันมีสมาชิกสหประชาชาติ รวม 193 ประเทศ ได้ร่วมกันลงนามรับรองวาระของ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development : SD) โดยกําหนดให้ “เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development Goals : SDGs) จํานวน 17 เป้าหมาย เป็นเป้าหมายและยุทธศาสตร์ของประเทศต่างๆ ด้วย

ดังเห็นได้จากกรณีตัวอย่างของโรงงานพลาสติก เพราะพลาสติกเป็นวัสดุที่สามารถเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล หมุนเวียน และนํากลับมาใช้ใหม่ได้ (ตามหลักการ 3R คือ Reduce Reuse และ Recycle) ซึ่งก่อให้เกิดของเสียและมลพิษจากกระบวนการผลิตน้อย และยังลดการใช้พลังงานตลอดห่วงโซ่อุปทานด้วย ทําให้สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

ตลอดหลายปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์หรือรถยนต์ทั่วโลก จะได้รับแรงกดดันอย่างมากจากสังคม ทั้งจากวิกฤติเศรษฐกิจ วิกฤติการขาดแคลนพลังงาน ความผันผวนของราคาพลังงาน การใช้หุ่นยนต์ โดยเฉพาะวิกฤติสิ่งแวดล้อม ก็าซเรือนกระจก และมลพิษทางอากาศ ตลอดจนปัญหาการจัดการเศษซากรถยนต์หลังหมดอายุการใช้งาน ซึ่งเป็นเหตุให้แนวโน้มของการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์มุ่งไปสู่การใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น (คือ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น) เช่น รถยนต์ที่ใช้ก็าซประเภท CNG และเอทานอล รถยนต์รุ่น Plug-in Hybrid Electric Vehicle (PHEV) รวมถึงเทคโนโลยียานยนต์ที่ใช้พลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาด เช่น รถยนต์ ไฟฟ้า (Electric Economy : EV) ซึ่งมีผลกระทบต่ออุปกรณ์ชิ้นส่วน และแรงงาน ตลอดห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ในปัจจุบันอย่างมากด้วย

วันนี้จึงเป็นยุคของ “Green” ที่เราทุกคนจะต้องร่วมด้วยช่วยกันและรับผิดชอบในการสร้างโลกใบนี้ให้เป็น สีเขียว (Green) เพื่อจะได้ส่งมอบต่อให้ลูกหลานอย่างภาคภูมิใจจากคนรุ่นเรา ครับผม!’


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 115 พฤษภาคม – มิถุนายน 2566 คอลัมน์ Productivity โดย ดร. วิฑูรย์ สิมะโชคดี


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save