IEEE PES DAY 2023 จัดงานเสวนา หัวข้อ “พลังขับเคลื่อนสู่อนาคตที่ปลอดภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ”


สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) IEEE POWER & ENERGY SOCIETY (THAILAND)  ได้จัดงานเสวนา IEEE PES DAY 2023 ในหัวข้อ “พลังขับเคลื่อนสู่อนาคตที่ปลอดภัยจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ” ได้รับเกียรติจาก วิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA หรือ การไฟฟ้านครหลวง ในฐานะ Chairman, IEEE POWER & ENERGY SOCIETY (THAILAND) เป็นประธานเปิดงานเสวนา ในงานดังกล่าวยังได้รับเกียรติจาก ดร.สุวิทย์ ธรณินทร์พานิช ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย รองเพชร บุญช่วยดี รองผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และ รองศาสตราจารย์ ดร.กุลยศ อุดมวงศ์เสรีและได้รับเกียรติจากฉัตรชัย มาวงศ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ วิศวกรรมและก่อสร้างโรงไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นพิธีกรในครั้งนี้

วิลาศ เฉลยสัตย์

วิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการ MEA หรือ การไฟฟ้านครหลวง กล่าวว่า วิกฤติการณ์โลกร้อนเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในหลาย ๆ ปี ผ่านมา อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง พ.ศ. 2566 ข้อมูลจาก NASA คาดการณ์ว่า พ.ศ. 2566 จะเป็นปีที่ร้อนที่สุดในประวัติการณ์ที่ผ่านมา หากอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จะส่งผลกระทบและความเสียหายไปทั่วทุกมุมโลก

รวมทั้งประเทศไทยหากย้อนมองเหตุการณ์หมอกควันและไฟป่าของจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา จะพบมีความรุนแรงมากกว่าทุกปี จนทำให้ค่ามลพิษทางอากาศ พุ่งสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากฤดูแล้งที่มาเร็วและยาวนานกว่าปีก่อน ๆ ชัดเจนว่าผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ใช่เรื่องของอนาคต แต่เกิดขึ้นแล้วและกำลังรุนแรงขึ้นทุกขณะ

ทำให้ช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ประเด็นภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ได้รับความสนใจ ทั้งในระดับนานาชาติรวมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศ มีการร่วมมือกันอย่างจริงจังในการแก้ไขปัญหาโลกร้อน โดยทุกฝ่ายพยายามพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อหาแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ

ทั้งนี้ประเทศไทย ได้แถลงแสดงจุดยืน บนเวที COP27 โดยตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายใน พ.ศ. 2608 ด้วยการเพิ่มสัดส่วนของการใช้พลังงานทดแทนในการผลิตกระแสไฟฟ้าอย่างน้อยร้อยละ 50 ภายใน พ.ศ. 2593 รวมทั้งการเพิ่มการผลิตรถยนต์ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ เป็นร้อยละ 30 ของการผลิตรถยนต์ทั้งหมดภายใน พ.ศ. 2573 ซึ่งเราจำเป็นต้องเริ่มดำเนินการในทุกด้านตั้งแต่บัดนี้

รองศาสตราจารย์ ดร.กุลยศ อุดมวงศ์เสรี สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พูดในหัวข้อ New Energy Trend ในอนาคตของประเทศไท ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ เพื่อให้ได้พลังงานสีเขียวที่มีราคาเหมาะสมและความเสถียรภาพและประสิทธิภาพ

ปัจจัยขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างพลังงาน Carbon Neutrality&Net Zero Emission

ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายใน ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ใน ค.ศ. 2065

ซึ่งสถานการณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทย ใน ค.ศ.2022 ประเทศไทยปล่อย GHG ทั้งหมดประมาณ 360 NtCO2eqโดยที่ภาคพลังงานเป็นภาคส่วนที่ปลดปล่อย GHG มากที่สุด คิดเป็น 87.9 MtCO2eqหรือประมาณ 36% ของการปลดปล่อยทั้งหมด ภาคขนส่งเป็นภาคที่ปลดปล่อย GHG เป็นอันดับที่สอง คิดเป็น 79.6 MtCO2eqหรือ 32% ของการปลดปล่อยทั้งหมด

ทั้ง 2 ภาคส่วนนี้คิดเป็นเกินครึ่งหนึ่งของการปล่อย GHG ทั้งหมดของประเทศ เพราะฉะนั้นการปล่อย GHG จากทั้ง 2 ภาคส่วนจำเป็นต้องลดลงอย่างมากเพื่อให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนใน ค.ศ.2050 และเป้าหมายการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์สุทธิมร ค.ศ. 2065

เป้าหมายการลดการปลกปล่อยคาร์บอนของไทย

ได้มีการประเมินการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิ การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสาขาการผลิตไฟฟ้า (CO2 เป็นหลัก) จะต้องลดลงจาก 85 ล้านตันต่อปี เป็นปลดปล่อยไม่เกิน 30-35 ล้านตันต่อปี (ปี 2065) ให้ลดเหลือ 1 ใน 3 เมื่อเทียบกับ ค.ศ. 2020 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ นอกเหนือจากสาขาผลิตไฟฟ้าแล้ว ภาคอื่น ๆ ก็จำเป็นต้องดำเนินการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดย ภาคขนส่งต้องเสริมให้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแทนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ภาคอุตสาหกรรมต้องยกเลิกใช้ถ่านหิน และส่งเสริมโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันเตา และ LPG เปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติหรือเชื้อเพลิงสะอาดอื่น ๆ เป็นเชื้อเพลิงความร้อน (อาจร่วมกับการใช้ CCUS หากในอนาคตมีต้นทุนถูกลง) ในส่วนของภาคของเสีย ควรส่งเสริมการจัดการขยะด้วยโรงไฟฟ้าชุมชน และการผลิตก๊าซชีวภาพ รวมถึงภาคเกษตรควรส่งเสริมการจัดการของเสียภาคเกษตรกรรม และปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรกรรมและการเพิ่มผลผลิตทางเกษตร

กรอบแผนพลังงานชาติ National Energy Plan ในส่วนของ Power Sector เพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาดจากโรงไฟฟ้าใหม่ โดยมีสัดส่วน RE ไม่น้อยกว่า 50% ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า (EV 30@30) พร้อมกับให้มีการพัฒนาและยกระดับเทคโนโลยีระบบไฟฟ้า (Grid Modernization) รองรับการผลิตไฟฟ้า ESS แบบกระจายศูนย์ระบบไมโครกริด มุ่งปลดล็อคกฎระเบียบการซื้อขายไฟฟ้ารองรับการผลิตใช้เองที่มากขึ้น

ดร.สุวิทย์ ธรณินทร์พานิช 

ดร.สุวิทย์ ธรณินทร์พานิช ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เสวนาในหัวข้อ “Powering a Climate Safer Future” โดยกล่าวว่า Carbon Credit เป็นต้นทุน “ใหม่” ของประเทศต้นทุนพลังงาน ที่เพิ่มขึ้นมาจากการเปลี่ยนผ่านพลังงาน จากฟอสซิล ไปสู่พลังงานสะอาด พลังงานสะอาดที่หายากในประเทศไทย พลังงานสะอาดที่มีติดระเบียบ กฎหมายและกติกาจากโลกเก่า แรงกดดันจากบริษัทข้ามชาติ Corporate Policy และเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการเข้าถึงยากและยังขาดความเข้าใจ

ประเทศไทยเองก็มีนโยบายพลังงาน 4D1E เพื่อเป็นการรองรับ Energy Disruption 01 Digitalization เป็นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ร่วมกันกับเทคโนโลยีด้านพลังงาน 02 Decarbonization การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์

03 Decentralization การผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวและความยืดหยุ่นของระบบไฟฟ้า04 De-Regulation เป็นการเปิดเสรีภาพพลังงาน เพื่อกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมและการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และ 05 Electrification การใช้พลังงานไฟฟ้าสีเขียว ลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งทางหน่วยงานรับผิดชอบกำหนดนโยบายและกับก็คือกระทรวงพลังงาน และ กกพ.

ทางความมั่นคงทาง เศรษฐกิจและพลังงาน หากถามว่าอะไรสำคัญกว่า ขนาดเศรษฐกินกับขนาดพลังงานในประเทศ ตลาดส่งออกต้องมีมูลค่ามากกว่าตลาดพลังงานไฟฟ้า 10 ต่อ 1 อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในอดีตเปลี่ยนเป็นไปได้ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นระบบกักเก็บพลังงานและพลังงานใหม่ ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานพลังงานเดิม “ฟอสซิล” เป็นต้นทุนที่ทำให้รายได้และความได้เปรียบลดลงต้องยอมรับเพราะไม่สามารถควบคุมโลกได้

การซื้อขายพลังงานสะอาดและคาร์บอนเครดิต

สถาบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นสถาบันล่าสุดของสภาอุตสาหกรรมฯ และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ที่ร่วมพัฒนาแพลตฟอร์มการซื้อขายพลังงานสะอาดและคาร์บอนเครดิตขึ้นในประเทศ (TVER) ซึ่งเป็นการสร้างแรงจูงใจและทางเลือกในการลดก๊าซเรือนกระจกในรูปแบบธุรกิจ มีกลไกราคาคาร์บอนที่ยุติธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้

ซึ่งแพลตฟอร์มการซื้อขายพลังงานสะอาดและคาร์บอนเครดิต ยังทำหน้าที่ ซื้อ-ขาย REC, IREC, GSor VERRA ในอนาคตอันใกล้ ที่นอกจากจะเป็นแพลตฟอร์มเพื่อช่วยให้การซื้อขายคาร์บอนเครดิตในประเทศให้เป็นเรื่องง่าย สะดวก และมีประสิทธิภาพมากขึ้นแล้ว ยังเพิ่มโอกาสการแข่งขันทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่มีสินค้าส่งออกนอกประเทศ เป็นที่ยอมรัยว่าสินค้าที่ผลิตมีความปลอดภัย ปละเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย รวมถึงลดความเสี่ยงจากผลกระทบของมาตรการ CBAM (Carbon Border Adjustment Mechanism) ซึ่งเป็นกฎกติกาสำหรับผู้ประกอบการที่จะส่งออกสินค้าไปยัง EU

รองเพชร บุญช่วยดี 

รองเพชร บุญช่วยดี รองผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) พูดในหัวข้อ โอกาสและความท้าทายของภาคธุรกิจไทยต่อ เป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยกล่าวว่า นโยบายส่งเสริมภาคพลังงานของไทย ภายใต้ทิศทางนโยบาย 5 ด้าน มุ่งสู่พลังงานสะอาดลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภายใน พ.ศ. 2580 จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน ลงทุนพลังงานสีเขียว ดำเนินนโยบาย 4D1E เพิ่มความสามารถในการแข่งขันภาคพลังงาน และต้องเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน พร้อมทั้งต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยี

ส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย 30/30

ระยะที่ 1 พ.ศ. 2564 – 2565 มีการส่งเสริมการใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานรองรับทั่วประเทศ

ระยะที่ 2 พ.ศ. 2566-2568 พัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและการผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดแรกและถือเป็นเป้าหมายการผลิตในระดับ Economy of Scale ภายใน พ.ศ. 2568

ระยะที่ 3 พ.ศ. 2569 – 2573 ขับเคลื่อนแผนและมาตรการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมเพื่อบรรลุตามนโยบาย 30/30 ซึ่งมีเป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท คิดเป็น 30% ของการผลิตแบตเตอรี่เพื่อตอบสนองการผลิตในประเทศอีกด้วย

ธุรกิจผลิตไฟฟ้าไทยต้องปรับตัว ใช้พลังงานทดแทน เพื่อลดก๊าซเรือนกระจก

การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) ได้รณรงค์การลดก๊าซเรือนกระจก เพื่อบรรลุ Net Zero ทั่วโลกภายใน ค.ศ.250

ซึ่งแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยในส่วนของภาครัฐ ต้องเพิ่มใบอนุญาตการผลิตไฟฟ้าที่ใช้พลังงานหมุนเวียน และมีให้ส่วนต่างราคาขายเพิ่มแรงจูงใจ ในส่วนของบริษัทจะทะเบียน ต้องปรับตัวตามนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) พร้อมรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานสะอาด (Energy Transition) สังเกตจากสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม น้ำ และแสงแดด ที่เพิ่มมากขึ้น

ดังนั้นการเสวนาในครั้งนี้เป็นการแสดงให้เห็นว่า สมาคมฯ และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้ตระหนักถึงสถานการณ์นี้และมีแนวคิดในการนำเทคโนโลยีมาพัฒนาการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าเพื่อรองรับและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในครั้งนี้ให้เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save