อินโดรามา เวนเจอร์ส สนับสนุนเยาวชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมประกวดนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน ปี 2566


บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ประกาศสนับสนุน “โครงการประกวดนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนปี 2566” (Circular Innovation Challenge 2023) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 โดยเป็นการแข่งขัน hackathon 5 สัปดาห์ มุ่งสร้างแรงบันดาลใจ และการมีส่วนร่วมของคนรุ่นใหม่ทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสร้างโซลูชั่นในการจัดการความท้าทายด้านความยั่งยืน และเศรษฐกิจหมุนเวียนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทั่วโลก

โครงการประกวดนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน

โครงการประกวดนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน มุ่งบ่มเพาะคนรุ่นใหม่ อาทิ นักประดิษฐ์ นักสร้างการเปลี่ยนแปลง และผู้นำทางความคิดรุ่นใหม่ด้านระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยเชิญชวนเยาวชนและคนรุ่นใหม่อายุระหว่าง 16-30 ปี จาก 11 ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย ติมอร์-เลสเต และเวียดนาม ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมแข่งขันจะมีส่วนร่วมในกิจกรรมเวิร์คช้อปเกี่ยวกับเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเข้มข้น และกิจกรรม bootcamp ด้านการคิดเชิงออกแบบ ซึ่งจะประยุกต์ใช้แนวคิดการทำงานแบบมืออาชีพ และเครื่องมือระดับสากลต่างๆเพื่อวิเคราะห์ความท้าทายและสร้างแนวทางแก้ไขที่มีศักยภาพ นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมแข่งขันจะได้รับการแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมก่อนนำเสนอโครงการแก่คณะกรรมการตัดสิน ซึ่งจะมีตัวแทนจากบริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส เป็นหนึ่งในคณะกรรมการอีกด้วย โครงการเหล่านี้จะมีเกณฑ์ตัดสินในด้านผลกระทบ ความเป็นไปได้ ความมีเอกลักษณ์ และความสามารถในการนำไปใช้ในชีวิตจริง โดยชิงเงินรางวัลมูลค่ารวม 105,000 บาท

โครงการดังกล่าวดำเนินการโดยวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับการสนับสนุนจากอินโดรามา เวนเจอร์ส Tik Tok สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) SDG Lab และ G-Lab

นางสุจิตรา โลเฮีย รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัทฯ และประธานคณะกรรมการกำกับดูแลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า “เรามีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับพันธมิตรที่มีชื่อเสียงเหล่านี้ในการสานต่อโครงการประกวดนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนเป็นปีที่ 3 ในฐานะผู้ผลิต PET และผู้รีไซเคิลรายใหญ่ที่สุดของโลก เราสนับสนุนความริเริ่มต่างๆที่มุ่งเน้นการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน และขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในทุกที่ๆ เราดำเนินงานอยู่ เรากำลังค้นหาผู้แข่งขันรุ่นเยาว์ที่มีความกระตือรือร้น และมีความคิดสร้างสรรค์ที่จะสร้างโซลูชั่นด้านความยั่งยืนที่มีความหมาย ที่จะสามารถนำไปปรับใช้ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม รวมถึง PET และเคมีภัณฑ์ชนิดพิเศษ”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประภาภรณ์ ติวยานนท์ มงคลวนิช คณบดีวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “ในฐานะนักการศึกษา เราเชื่อในพลังของเยาวชนในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและความเป็นผู้นำทางความคิดในเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยตั้งแต่เริ่มโครงการประกวดนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียนเราได้เห็นวิธีการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพ และการอภิปรายที่น่าสนใจจากผู้เข้าร่วม เพื่อจัดการกับความท้าทายด้านความยั่งยืนในปัจจุบันที่ประสบในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราหวังว่าจะมีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการมากขึ้นในปีนี้ และเตรียมมอบประสบการณ์อันล้ำค่าแก่ผู้เข้าร่วม ผ่านความเชี่ยวชาญและทรัพยากรของคณะและพันธมิตรต่างๆ ของเรา”

โครงการประกวดนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน ปี 2566 เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 10 กันยายน 2566 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม รายละเอียดการสมัคร และอัพเดทต่างๆ เกี่ยวกับโครงการ สามารถดูได้ที่ https://sgs.tu.ac.th/tucircularinnovation/ และติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/tucircularinnovation.


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save