กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 31 ตุลาคม 2567 – บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ในฐานะส่วนหนึ่งของความร่วมมือด้านห่วงโซ่อุปทานกับซันโทรี่ (Suntory) เอเนออส คอร์ปอร์เรชั่น (ENEOS Corporation) มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น (Mitsubishi Corporation) อิวาตานิ (Itawani) และเนสเต้ (Neste) เปิดตัวขวด PET ที่ผลิตจากพาราไซลีนเชิงชีวภาพ[1] (bio-paraxylene) ซึ่งผ่านการรับรอง ISCC+ สามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้เป็นครั้งแรกของโลก[2] ถือเป็นก้าวสำคัญต่อเส้นทางการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืน โดยส่วนหนึ่งในการผลิตขวด PET ดังกล่าวได้นำน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วมาเป็นวัตถุดิบ ซึ่งขวด PET ที่ผลิตจากเทคโนโลยีนี้สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีนัยสำคัญ
ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป กลุ่มซันโทรี่จะเริ่มเปิดตัวขวด PET เชิงชีวภาพ (bio-PET) เหล่านี้สำหรับบางผลิตภัณฑ์ในประเทศญี่ปุ่น โดยความร่วมมือนี้จะทำให้มีการเปิดตัวขวด PET ที่ผลิตจากวัสดุนวัตกรรมดังกล่าว[3]สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มประมาณ 45 ล้านขวด และจะพิจารณาขยายไปยังผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของซันโทรี่เพิ่มเติมในอนาคต
ด้วยการผสานความเชี่ยวชาญและทรัพยากรของผู้นำอุตสาหกรรมในห่วงโซ่คุณค่า ทำให้โครงการนี้สะท้อนพลังของความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาความยั่งยืนระดับโลก
ยาช โลเฮีย ประธานบริหารโครงการพิเศษด้านปิโตรเคมี และประธานคณะกรรมการด้านการดำเนินงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแล อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า “ความร่วมมือที่น่าตื่นเต้นนี้สะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และความรับผิดชอบร่วมกันของพันธมิตรทุกภาคส่วนในการสนับสนุนอนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น เราภูมิใจที่ได้ทำงานร่วมกับผู้นำอุตสาหกรรมในการพัฒนานวัตกรรมนี้ ที่ไม่เพียงแต่นำมาซึ่งโอกาสใหม่ๆ ให้กับอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังตอกย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายอีกด้วย และเรารู้สึกตื่นเต้นที่จะได้เห็นผลงานของความร่วมมือนี้ปรากฎอยู่บนชั้นวางสินค้าในรูปแบบของผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงของซันโทรี่ในเร็วๆ นี้”
แต่ละพันธมิตรได้นำความสามารถพิเศษเฉพาะตัวมาร่วมในการทำให้โครงการที่ก้าวล้ำนี้ประสบความสำเร็จ ภายใต้ห่วงโซ่อุปทานระดับโลกโดยผ่านความร่วมมือข้ามอุตสาหกรรมนี้ อินโดรามา เวนเจอร์ส ซึ่งเป็นผู้ผลิตและรีไซเคิล PET ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ได้นำพาราไซลีนเชิงชีวภาพ (bio-paraxylene) มาผลิตกรดเทเรฟทาลิกเชิงชีวภาพ (bio-terephthalic acid) และนำไปทำปฏิกิริยากับโมโนเอทิลีนไกลคอล (MEG) เพื่อผลิตเม็ดพลาสติก PET
ในฐานะพันธมิตรในโครงการริเริ่
บทบาทของพันธมิตรในโครงการนี้
มิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น |
บริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานทั้ |
เนสเต้ |
ผลิต bio-naphtha จากน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ |
มิตซูบิชิ เคมิคอล |
ผลิตวัสดุตัวกลางของ bio-paraxylene โดยใช้ bio-naphtha ในโรงงานที่ได้รับการรับรอง ISCC+ |
เอเนออส คอร์ปอเรชั่น |
ผลิต bio-paraxylene จากวัสดุตัวกลางในโรงงานที่ได้ |
อินโดรามา เวนเจอร์ส |
ผลิตเม็ดพลาสติก PET โดยทำปฏิกิริยา MEG กับ PTA (TPA) ที่ผลิตจาก bio-paraxylene ในโรงงานที่ได้รับการรับรอง ISCC+ |
อิวาตานิ คอร์ปอเรชั่น |
บริหารการดำเนินงานตั้งแต่ |
กลุ่มซันโทรี่ |
แปรรูปเม็ดพลาสติก PET ให้เป็นขวด PET สำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ |
การเปิดตัวครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นในการผลิต PET โดยการใช้แนวทางสมดุลมวล (Mass Balance) ที่ใช้ตลอดกระบวนการผลิต ช่วยให้มั่นใจได้ว่าวัสดุชีวภาพผ่านกระบวนการที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพในการผลิตขวด PET
ในฐานะพันธมิตรในโครงการริเริ่ม อินโดรามา เวนเจอร์ส ยังคงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับอนาคตของบรรจุภัณฑ์ผ่านการดำเนินงานด้านต่างๆ โดยการผลิตเม็ดพลาสติก bio-PET สอดคล้องกับกลยุทธ์ความยั่งยืนในระยะยาวของอินโดรามา เวนเจอร์ส และเสริมสร้างความมุ่งมั่นในการนำเสนอโซลูชันที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมให้กับลูกค้าของบริษัทฯ
[1] ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2567 อ้างอิงจากการศึกษาโดย เอเนออส คอร์ปอร์เรชั่น และมิตซูบิชิ คอร์ปอเรชั่น
[2] ใช้แนวทางการประเมินแบบสมดุลมวลสาร โดยภายใต้แนวทางนี้ ผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการผสมวัสดุที่มีคุณสมบัติเฉพาะกับวัสดุที่ไม่มีคุณสมบัตินั้น คุณสมบัติพิเศษนั้นสามารถจัดสรรให้กับบางส่วนของผลผลิตได้ตามสัดส่วนของวัสดุที่มีคุณสมบัติพิเศษซึ่งใช้ในกระบวนการผลิต แนวทางการประเมินแบบสมดุลมวลสารนี้ได้รับการรับรอง ISCC+
[3] ขวด PET ขนาด 280 มิลลิลิตร และ 285 มิลลิลิตร