ติดอาวุธความรู้ ยกระดับผู้ประกอบการ MSME ด้วย BCG Economy Model


เมื่อไม่นานมานี้ สสว. ร่วมกับ สอวช. ได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัว “โครงการขับเคลื่อนระบบการส่งเสริมธุรกิจ MSME ด้วย BCG (BIO-CIRCULAR-GREEN ECONOMY)” ติดอาวุธความรู้ ยกระดับผู้ประกอบการ 1,000 รายทั่วประเทศ และสร้างเกณฑ์ SME BCG เพื่อสร้างโอกาสทางการแข่งขันและการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) กล่าวว่า ปัจจุบันรัฐบาลไทยเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยปรับใช้ BCG Economy Model เข้าไปช่วยตอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ซึ่งแนวทางนี้จะช่วยต่อยอดจุดแข็งของประเทศ ทั้งในด้านความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยอาศัยกลไกทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูงขึ้น และเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจจาก “ทำมากแต่ได้น้อย” ไปสู่ “ทำน้อยแต่ได้มาก”

สสว. เป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมและสนับสนุน MSME ในด้านต่าง ๆ เห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมธุรกิจ MSME ด้วย BCG โดยผ่านกลไกการพัฒนา BCG ไปสู่ผู้ประกอบการ MSME

ใน 3 ด้านหลัก ได้แก่

  1. การพัฒนาต่อยอดธุรกิจด้วยการใช้คลังข้อมูลดิจิทัลของทุนความหลากหลายทางชีวภาพ ทุนวัฒนธรรม และทุนทางปัญญา รวมถึงใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพในพื้นที่
  2. สร้างตลาดเพื่อรองรับนวัตกรรมของสินค้าและบริการ BCG
  3. การยกระดับรายได้ด้วยการสร้างฐานเศรษฐกิจใหม่ผ่านการส่งเสริมการแปรรูปสินค้าให้มีชั้นนวัตกรรมที่สูงขึ้น ยกระดับสินค้าและบริการ BCG สู่มาตรฐานผลิตที่ยั่งยืนและเป็นมาตรฐานสากล ทั้งยังสร้างและพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับเศรษฐกิจ BCG ผ่านการสร้างนักพัฒนา BCG

ผอ.สสว. กล่าวอีกว่า การจะดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จนั้น สสว. ได้ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับ BCG ในมิติของ MSME สำหรับโครงการขับเคลื่อนระบบการส่งเสริมธุรกิจ MSME ด้วย BCG (BIO-CIRCULAR-GREEN ECONOMY) “การส่งเสริมและสร้างความตระหนักรู้ให้ผู้ประกอบการ MSME เข้าใจแนวคิด BCG และนำไปปรับใช้กับธุรกิจให้ได้ ซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อมโยงกับการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และเครื่องมือการสนับสนุนจาก สสว. ภาครัฐ มาตรการอื่น ๆ ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการเติบโตได้อย่างยั่งยืน และการสร้างระบบนิเวศต่าง ๆ ที่นำไปสู่การสร้างโอกาสในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ MSME และก้าวข้ามมาตรการกีดกันทางการค้า (Trade Barriers) ในตลาดโลกได้

ด้าน นายกิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช. กล่าวว่า ที่ผ่านมาสสว. และ สอวช. มีการทำงานนร่วมกัน เช่น การทำวิจัยนโยบายร่วมกับเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และสมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย (Global Compact Network Thailand: GCNT) เพื่อออกแบบการใช้ตัวชี้วัด กรอบการประเมิน กรอบเชิงโครงสร้างหน่วยงานที่จะมาสนับสนุน และการพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการในลักษณะขั้นบันไดการพัฒนา ซึ่งการทำงานจะออกแบบให้ครอบคลุมทั้ง การกระตุ้นผู้ประกอบการที่จะปรับตัวธุรกิจ การดำเนินงาน BCG และการสร้างความสามารถในการปรับตัวรับโอกาสได้

ในส่วนของ นายปริวรรตน์ คณากัมพลสิทธิ์ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จเรื่องการนำระบบนิเวศมาพัฒนาให้เกิดเป็นนวัตกรรมสร้างมูลค่ามหาศาล กล่าวคือ การนำมะเขือเทศมาแปรรูปเป็นน้ำมะเขือเทศหลากหลายรสชาติ เป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และสามารถส่งออกไปทั่วโลกได้ ซึ่ง นายปริวรรตน์ อธิบายว่า MSME คือห่วงโซ่อุปทานที่สำคัญของภาคอุตสาหกรรม รัฐบาลต้องให้ความสำคัญและช่วยเสริมสร้างศักยภาพของธุรกิจดังกล่าว เพื่อให้เกิดการจ้างงาน และเกิดเม็ดเงินไหลเวียนภายในประเทศ ด้วยการให้เงินงบประมาณ เงินจากกองทุนต่าง ๆ และการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรภายในประเทศ ให้มีองค์ความรู้ ไอเดียใหม่ ๆ พร้อมจะสเกลอัปธุรกิจของตนเองสู่ตลาด โดยโครงการขับเคลื่อนระบบการส่งเสริมธุรกิจ MSME ด้วย BCG ในครั้งนี้ ถือเป็นโครงการที่มีประโยชน์มาก ๆ เพราะจะเป็นแรงสนับสนุนทำให้ผู้ประกอบการนั้นเดินหน้าต่อไปได้

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สนใจติดอาวุธหลักคิด BCG แบบ Back to Basic เข้าใจง่าย เริ่มได้ทันที

สามารถสมัครเข้าร่วมอบรมได้ที่ https://forms.gle/E1prvkxk2zoDNnjL7   ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save