สภาพกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ


กล้ามเนื้อเป็นอวัยวะอย่างหนึ่งของร่างกายในระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ กล้ามเนื้อเป็นส่วนเกาะกับกระดูกและข้อต่อของร่างกาย เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของโครงสร้างในร่างกาย รวมถึงการเคลื่อนไหวต่างๆ ด้วย ดังนั้นการเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง จึงมีความสำคัญต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายด้วย รวมถึงความมั่นคง การทรงตัวของร่างกายในอิริยาบถต่างๆ ด้วย เช่น การนั่ง การยืน การเดิน เป็นต้น

กล้ามเนื้อเป็นส่วนประกอบของโปรตีนที่ร่างกายได้สารประกอบของอาหารนี้จากอาหารประเภทเนื้อสัตว์ต่างๆ อาหาร ผัก และผลไม้ ธัญพืชและถั่วต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วขาว ถั่วแดง ถั่วดำ ฯลฯ อาหารเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกแปลงสภาพเป็นโปรตีน โดยมีสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเป็นตัวสร้างพลังงานชีวิต และส่งเสริมความแข็งแรงของร่างกาย โปรตีนเป็นองค์ประกอบในการสร้างมวลกล้ามเนื้อ นอกจากนี้โปรตีนที่สำคัญจากอาหารเป็นนมและไข่ ดังนั้นมักจะเข้าใจและจดจำง่ายๆ คือ อาหารประเภทเนื้อ นม ไข่

กล้ามเนื้อในร่างกายจะมีความแข็งแรงในวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ อายุตั้งแต่แรกเกิดไปถึงอายุประมาณ 35 ปี มวลกล้ามเนื้อในร่างกายจะค่อยๆ ลดลง และสลายกลายเป็นไขมันอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย

มวลกล้ามเนื้อที่ลดลงมักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 35 ปี เป็นต้นไป และแสดงความผิดปกติต่อสุขภาพร่างกายที่ชัดเจนขึ้นหลังอายุ 40 ปี ขึ้นไป ดังนี้

1.) ระบบภูมิต้านทานของร่างกายต่ำลง ร่างกายอ่อนแอ ก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย เช่น ติดเชื้อทางเดินหายใจเป็นภูมิแพ้อากาศ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ภาวะการอักเสบของทางเดินหายใจ เช่น คออักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบเป็นต้น มีอาการคัดจมูก หายใจลำบาก มีน้ำมูก ไอ จาม เจ็บคอ ไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง

2.) แผลหายช้า อ่อนแรง กำลังวังชาอ่อนแอ อ่อนเพลีย น้ำหนักตัวลด ผิวหนังบาง

3.) กระทบต่อการทำงานของระบบประสาท จากการสั่งการช้า หมดเรี่ยวหมดแรง กล้ามเนื้ออ่อนแรงลงกล้ามเนื้อลีบเล็กลง การเคลื่อนไหวแขน-ขายากลำบาก การนั่ง การยืน การเดิน อาจกระทำไม่ได้หรือทำได้ด้วยความยากลำบาก ต้องมีผู้อื่นคอยช่วยเหลือ

4.) ผู้สูงอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป มวลกล้ามเนื้อจะลดลงรวดเร็วขึ้น กล้ามเนื้อนิ่มและลีบเล็กลง หกล้มได้ง่าย หรือเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ได้

การป้องกันและการรักษามวลกล้ามเนื้อให้คงที่หรือให้แข็งแรงมีข้อปฏิบัติดังนี้

1.) รับประทานอาหารประเภทโปรตีนให้คงที่หรือมากขึ้น เช่น เนื้อ นม ไข่ และถั่วต่างๆ

2.) อาหารพวกแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตยังคงต้องรับประทานต่อเนื่อง อาจลดลงบ้างแต่ไม่ควรงด เพราะอาหารแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตจะเป็นพลังงานที่ช่วยร่างกายเสริมให้กล้ามเนื้อแข็งแรง

3.) หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและส่งเสริมการผลิตมวลกล้ามเนื้อในร่างกายให้แข็งแรงขึ้น


ที่มา: หมอโฆษิต


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save