รมว.ดีอีเอสติดตามความคืบหน้าการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลใน Phuket Sandbox หนุนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 10,000 คน


รมว.ดีอีเอสลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เยี่ยมชมผลสำเร็จของกระทรวงฯ ที่สั่งการให้ดีป้าสนับสนุนเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อควบคุมดูแลนักท่องเที่ยว และควบคุมสถานการณ์ COVID-19 ในโครงการ Phuket Sandbox เดินหน้าต่อยอดแอปหมอชนะ เตรียมเสนอคลายความเข้มงวดจากการตรวจ COVID-19 ด้วยวิธี RT-PCR เป็นการใช้ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) แทน หวังส่งเสริมให้ภูเก็ตมีนักท่องเที่ยวตามเป้าหมายวันละ 10,000 คน หรือปีละ 30,000 คน พร้อมเชื่อมโยงข้อมูลจังหวัด ในประเทศไทยให้เป็น One Country One Platform One Country One Application ลดความซ้ำซ้อนในการโหลดแอปฯ เพื่อเปิดจังหวัดภูเก็ตต้อนรับนักท่องเที่ยว ก่อนขยายไปยังจังหวัดพังงา กระบี่ ชลบุรี หัวหิน ชะอำ สอดรับกับนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่ประกาศเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวภายใน 120 วัน

รมว.ดีอีเอสลงพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เยี่ยมชมผลสำเร็จของกระทรวงฯ ที่สั่งการให้ดีป้าสนับสนุนเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อควบคุมดูแลนักท่องเที่ยว และควบคุมสถานการณ์ COVID-19 ในโครงการ Phuket Sandbox เดินหน้าต่อยอดแอปหมอชนะ เตรียมเสนอคลายความเข้มงวดจากการตรวจ COVID-19 ด้วยวิธี RT-PCR เป็นการใช้ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) แทน หวังส่งเสริมให้ภูเก็ตมีนักท่องเที่ยวตามเป้าหมายวันละ 10,000 คน หรือปีละ 30,000 คน พร้อมเชื่อมโยงข้อมูลจังหวัด ในประเทศไทยให้เป็น One Country One Platform One Country One Application ลดความซ้ำซ้อนในการโหลดแอปฯ เพื่อเปิดจังหวัดภูเก็ตต้อนรับนักท่องเที่ยว ก่อนขยายไปยังจังหวัดพังงา กระบี่ ชลบุรี หัวหิน ชะอำ สอดรับกับนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่ประกาศเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวภายใน 120 วัน


รมว.ดีอีเอสติดตามความก้าวหน้าการใช้ดิจิทัลขับเคลื่อน Phuket Sandbox

เมื่อเร็วๆ นี้ ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ สังคม (ดีอีเอส) ได้เดินทางลงพื้นที่ตรวจราชการ จังหวัดภูเก็ตและเยี่ยมชมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อ การควบคุมดูแลนักท่องเที่ยว และการควบคุมสถานการณ์ COVID-19 ในโครงการ Phuket Sandbox
พร้อมเยี่ยมชม ศูนย์ปฏิบัติการต่างๆ ที่เป็นการบูรณาการทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ เพื่อนำร่องขับเคลื่อน แผนการเปิดประเทศฟื้นฟูเศรษฐกิจเริ่มจากภูเก็ต โดยตั้งเป้ามีนักท่องเที่ยววันละ 10,000 คน หรือปีละ 30,000 คน ก่อนใช้เป็นต้นแบบขยายผลสู่จังหวัดอื่นๆ ที่มี ความพร้อมต่อไป

ดีป้าขับเคลื่อนและพัฒนาแพลตฟอร์มจัดเก็บและบริหารข้อมูลเมืองภูเก็ตอย่างต่อเนื่องกระทรวงดิจิทัลฯ โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) 

ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน Phuket Sandbox ในการช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีให้กับการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ เช่น ระบบติดตามบุคคลโดยการจับใบหน้า, ระบบติดตามตัวหมอชนะ, Dash Board ที่ใช้สำหรับรายงานสถานการณ์ แจ้งเตือนในระบบ Phuket Tourism Sandbox, ระบบ Shaba Plus และระบบตรวจสอบนักท่องเที่ยวเพื่อใช้ในการกักตัว เป็นต้น

ดีป้า ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดดีอีเอส ได้ขับเคลื่อนและพัฒนาแพลตฟอร์ม จัดเก็บและบริหารข้อมูลเมืองมาอย่างต่อเนื่อง โดยบูรณาการการทำงานกับ บริษัท ภูเก็ตพัฒนา เมือง จำกัด และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ ติดตั้งกล้อง CCTV บริเวณหาดป่าตอง และทุกแยกจราจร ให้ทำงานร่วมกับโซลูชันตรวจจับใบหน้า เพื่อตรวจสอบและติดตาม ผู้กระทำผิด และส่งการแจ้งเตือนสู่ศูนย์ฯก่อนนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และนำไปใช้วางแผนบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาของเมือง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการท่องเที่ยว ด้านความปลอดภัยและ สิ่งแวดล้อม และด้านอสังหาริมทรัพย์

นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าภูเก็ตต้องดาวน์โหลดแอปหมอชนะเพื่อเป็นระบบติดตามตัว
สำหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าภูเก็ต ต้องดาวน์โหลดแอปหมอชนะ เพื่อเป็นระบบติดตามตัวซึ่งจะ ส่งสัญญาณโลเคชั่นที่นักท่องเที่ยวอยู่ทุกๆ ครึ่งชั่วโมงมายังศูนย์ฯ ทำให้ทราบว่านักท่องเที่ยวที่เข้ามาภูเก็ตอยู่ ณ จุดใด และหากนักท่องเที่ยวออกนอกพื้นที่ภูเก็ตระบบดังกล่าวก็จะแจ้งเตือนมายังศูนย์ฯ
ที่ผ่านมามีการตรวจสอบมาตรการของแอปฯ แล้ว จากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ให้เจ้าหน้าที่ดาวน์โหลดติดตั้งแอปหมอชนะ ได้ทดสอบออกนอกพื้นที่ที่กำหนด ก็พบว่า ระบบจะแจ้งเตือนไปที่ห้องควบคุมระบบว่ามีผู้ฝ่าฝืนออกนอกพื้นที่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถติดตามกลับเข้าพื้นที่ได้ ควบคู่กับการตรวจคัดกรอง COVID-19 ชาวต่างชาติก่อน เข้าพื้นที่แบบ RT-PCR 3 ครั้ง ระหว่างที่ท่องเที่ยวอยู่ในพื้นที่ด้วย จึงทำให้มั่นใจมากขึ้นเรื่อง ป้องกันความเสี่ยงแพร่เชื้อ รองรับการผลักดันการเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ให้เมืองไทยกลับมาเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของโลกได้เหมือนเดิม ภายใต้วิถีชีวิตปกติใหม่

ทั้งนี้ จะมีการขยายผลการใช้งานแอปหมอชนะ สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่จะเปิดรองรับนักท่องเที่ยว ต่างชาติในจังหวัดอื่นๆ เพิ่มเติมจากภูเก็ต

ปรับระบบดิจิทัลติดตามนักท่องเที่ยวหนุนภูเก็ตมีนักท่องเที่ยววันละ 10,000 คน ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ สังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า การลงพื้นที่ตรวจติดตามความก้าวหน้าในโครงการ Phuket Sandbox ในครั้งนี้เพื่อให้ความมั่นใจว่าเดินมาถูกทางแล้ว โดยจะปรับระบบดิจิทัลติดตามนักท่องเที่ยวให้รวดเร็วเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว ก่อนที่จะขยายไปยังจังหวัดพังงาและกระบี่ เพื่อให้ความมั่นใจว่าจะสามารถเปิดประเทศได้ภายใน 120 วันตามนโยบายของ ฯพณฯ ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีประกาศไว้

การตรวจเชื้อ COVID-19 สำหรับนักท่องเที่ยวเป็นเรื่องสำคัญ เพราะช่วยป้องกันการแพร่เชื้อ รวมทั้งการฉีดวัคซีนให้ครบ 2 เข็ม ทั้งนี้จะหารือกับสาธารณสุขเผื่อผ่อนคลายมาตรการต่อไป เช่น การตรวจ RT-PCR ครั้งละ 2,600 ที่มีราคาสูง ตรวจ 2 ครั้ง คิดเป็นเงิน 5,200 บาท รวมทั้งการทำประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นภาระค่าใช้จ่ายแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งอาจจะทบทวนให้ใช้ชุดตรวจ ATK (Antigen Test Kit) แทนโดยตั้งเป้าหมายให้มีนักท่องเที่ยววันละ 10,000 คน หรือปีละ 30,000 คนต่อเดือน พร้อมกันนี้จะพัฒนาจังหวัดภูเก็ตให้เป็น Smart City และเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เต็มรูปแบบ และต้องขับเคลื่อนให้เป็นรูปธรรมมากที่สุด

ดีอีเอสพร้อมเชื่อมโยงข้อมูลเป็น One Country One Platform ลดความซ้ำซ้อนในการโหลดแอปฯ

ชัยวุฒิ กล่าวว่า โครงการ Phuket Sandbox มีศูนย์กลางบัญชาการ (Command Center) แห่งเดียวกัน เพื่อดูแลนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ จะมีการขยายพื้นที่ไปอีกหลายจังหวัด เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลของจังหวัดเข้าด้วยกัน

“ในส่วนของการเชื่อมโยงข้อมูล อยากให้ประเทศไทยเป็น One Country One Platform , One Country One Application เนื่องจากแต่ละหน่วยงานต่างมีแอปฯ ของตัวเองทำให้นักท่องเที่ยวต้องโหลดแอปฯ หลายแอปฯ และข้อมูลไม่เชื่อมโยงกัน จึงต้องลดความซ้ำซ้อน และอำนวยความสะดวกให้ประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จะทำหน้าที่เชื่อมโยงทั้งจังหวัด เพื่อเปิดจังหวัดภูเก็ตต้อนรับนักท่องเที่ยว ก่อนจะขยายไปจังหวัดชลบุรี หัวหิน และชะอำ” ชัยวุฒิ กล่าว

ศูนย์ดิจิทัลชุมชนห้องสมุด กศน. (ป่าตอง)พัฒนาทักษะดิจิทัลชุมชน – ช่วยชาวบ้านขายสินค้าออนไลน์

พร้อมกันนี้ ชัยวุฒิ ได้เดินทางไปเยี่ยมชม ศูนย์ดิจิทัลชุมชนห้องสมุด กศน. (ป่าตอง) ซึ่งให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง พัฒนาทักษะดิจิทัลชุมชน เพื่อให้บริการดิจิทัลเข้าถึงชุมชน เพื่อขับ
เคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งในช่วง 2 ปึที่ผ่านมา มีศูนย์ดิจิทัลชุมชนห้องสมุดทั้งหมด 500 ศูนย์ ภายในศูนย์ฯ มีการเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ทั้งหมด 24 รายการ อาทิ คอมพิวเตอร์พีซี โปรแกรมต่างๆ เครื่องพิมพ์ Multi-function Smart TV กล้อง CCTV และชุดสตูดิโอถ่ายภาพ พร้อมทั้งเยี่ยมชมบูธแสดงสินค้าของชาวบ้านในชุมชนอีกด้วย

ชัยวุฒิ กล่าวว่า ปัจจุบันมีศูนย์ดิจิทัลชุมชน 1,000 ศูนย์ ในปีถัดไปจะมี 2,000 ศูนย์ โดยที่ศูนย์ดังกล่าวจะมี ICT Computer และอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อช่วยขายสินค้าออนไลน์ และใช้ในการพัฒนาอาชีพและคุณภาพชีวิต โดยบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ช่วยส่งเสริมให้ประชาชนขายสินค้าออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ www.thailandpostmart.com


ศูนย์ IOC ที่เทศบาลป่าตอง นำแพลตฟอร์มวางแผนบริหารจัดการแก้ไขปัญหาเมือง

จากนั้นได้เดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์ IOC (Intelligence Operation Center) หรือ Command Center ซึ่งเป็นศูนย์บัญชาการและรวบรวมข้อมูลระดับเมืองของเทศบาลป่าตอง เป็น การขยายผลสู่ระดับจังหวัดที่ดำเนินการร่วมกับ จังหวัดภูเก็ต องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ ภาคเอกชน โดยศูนย์ดังกล่าวมีการนำแพลตฟอร์มจัดเก็บและบริหารข้อมูลเมือง (City Data Platform: CDP) มาใช้วางแผน บริหารจัดการและแก้ไขปัญหาของเมืองที่มีความซับซ้อนให้เกิดประสิทธิภาพ โดยเทศบาลป่าตองได้รับรางวัลการบริหารจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติดีเยี่ยมอันดับ 1 ของประเทศ จากองค์การสหประชาชาติ
(United Nations : UN)

ศูนย์ Phuket Sandbox มีระบบเชื่อมโยงข้อมูลของนักท่องเที่ยว – ระบบติดตามตัวนักท่องเที่ยว


สำหรับศูนย์ Phuket Sandbox (ณ ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติ 191 ตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต) ซึ่งมีระบบเชื่อมโยงข้อมูลของนักท่องเที่ยวและ ระบบติดตามตัวนักท่องเที่ยว กับด่านตรวจคนเข้าเมือง ท่าอากาศยานภูเก็ต ด่านตรวจคนเข้าเมืองทางบก ที่ด่านท่าฉัตรไชย ด่านตรวจคนเข้าเมืองทางน้ำ ที่ท่าเรืออ่าวฉลอง ท่าเรือรัษฎา และ ท่าเรืออ่าวปอ ศูนย์ประสานงานโรงพยาบาลรัฐและเอกชนสถานี ตำรวจภูธรจังหวัด ตำรวจน้ำ ตำรวจท่องเที่ยว ศูนย์ประสานงานโรงแรม SHA Plus Manager ศูนย์ประสานงานสถาน ประกอบการ SHA Plus ศรชล.จังหวัดภูเก็ต สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลภาคใต้ รวมไปถึง หน่วยงานส่วนกลาง ทั้ง ศปก. ศบค. และ ศบค.มท.

ในระยะต่อไปวางเป้าหมายการเชื่อมโยงข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัดภูเก็ตเข้าด้วยกัน เพื่อเกิดประโยชน์ต่อประชาชนในจังหวัด และนำไปสู่การขับเคลื่อนภูเก็ตเมืองอัจฉริยะ (Phuket Smart City)


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save