โรค “รองช้ำ” (Plantar Fasciitis) อาการ สาเหตุ แนวทางการรักษา และการป้องกัน


ตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมานี้ ผู้เขียนได้พบผู้ป่วยที่ป่วยด้วยอาการเจ็บบริเวณส้นเท้า อาจจะเป็นส้นเท้าซ้ายหรือส้นเท้าขวา หรืออาจจะเป็นทั้ง 2 ข้าง บางรายมีอาการปวดร้าวขึ้นมาบริเวณข้อเท้า รอบๆ ข้อเท้าที่อยู่ใกล้บริเวณส้นเท้า ปวดมากปวดน้อยแล้วแต่ความรุนแรงและระยะเวลาที่มีอาการ ชาวบ้านตามชนบทมักจะเรียกว่า “รองช้ำ” ส่วนใหญ่มักเป็นกับผู้สูงวัยตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป เป็นได้ทั้งชายและหญิง แต่ร้อยละ 80% มักเกิดกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ทั้งนี้เกี่ยวข้องกับสภาพการใช้งานในชีวิตประจำวัน พบว่าสุภาพสตรีมีการใช้งานกับส่วนของเท้ามากกว่าของสุภาพบุรุษ รวมถึงสภาพร่างกาย ซึ่งทางฝ่ายหญิงมีอาการของวัยหมดประจำเดือนเกี่ยวข้องด้วย จึงทำให้ผู้หญิงเป็นโรค “รองช้ำ” มากกว่าผู้ชาย และสภาพจิตใจด้วย ความกังวลและเครียดเกินไป มีผลทำให้เกิดอาการปวดส้นเท้าได้มากขึ้น

มาทำความเข้าใจว่ารองช้ำคืออะไรกันแน่ และมีโครงสร้างร่างกายอย่างไร บริเวณส้นเท้าทั้ง 2 ข้างมีส่วนประกอบที่สำคัญของเท้า คือ

  1. กระดูกส้นเท้า กระดูกนี้อยู่ส่วนท้ายสุดของเท้า บริเวณส้นเท้าทั้ง 2 ข้าง และเป็นกระดูกที่มีส่วนเชื่อมโยงกับกระดูกข้อเท้าทั้ง 2 ข้าง ดังนั้นหากมีอะไรผิดปกติที่ส้นเท้าจึงมักจะมีผลกระทบถึงบริเวณข้อเท้าด้วย
  2. กล้ามเนื้อ พังผืดที่ห่อหุ้มบริเวณส้นเท้า มีความหนาและเหนียวเพื่อการยึดเหนี่ยวโครงสร้างของส้นเท้าและบริเวณใกล้เคียงให้กระชับและคล่องตัวต่อการเคลื่อนไหวของเท้า รวมถึงการยืนและการเดินด้วย
  3. มีเนื้อเยื่อมาปกคลุมร่วมกับกล้ามเนื้อ พังผืด เพื่อเสริมความมั่นคงและแข็งแรงของส้นเท้าในการเคลื่อนไหวและรับน้ำหนักตัว รวมถึงการเคลื่อนไหวในท่ายืน ท่าเดินเป็นหลัก และบางอิริยาบถของท่านั่งด้วย

ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าบริเวณส้นเท้าโครงสร้างที่สัมพันธ์กันมีกระดูก กล้ามเนื้อ พังผืด เยื่อหุ้มข้อเท้าและส่วนของส้นเท้า เส้นเอ็น และพังผืด จึงมีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวข้องกัน

ทุกครั้งที่ร่างกายทั้งชายและหญิงที่มีการยืน เดิน ท่านั่งในบางอิริยาบถ จึงเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันหมด

เมื่ออายุที่มากขึ้นเกิน 45 ปีขึ้นไป มีความเสื่อมของโครงสร้างดังกล่าว กระดูกส้นเท้าเริ่มมีการเสื่อมตัว แคลเซียมหรือหินปูนเริ่มดูดซึมมาเลี้ยงน้อยลง หรือเกิดภาวะกระดูกพรุน กระดูกบาง กระดูกส้นเท้ามีผลต่อการรับน้ำหนักตัวในท่ายืนและท่าเดินไม่มั่นคงเหมือนตอนหนุ่มสาว การทรงตัวไม่มั่นคงและมีอาการปวดร่วมด้วย กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น พังผืด เยื่อต่างๆ ภายในเริ่มตึงตัว และระบม อาการ ปวด เจ็บ จะเกิดขึ้นกับบริเวณส้นเท้า หรือรอบๆ ส้นเท้าที่อยู่ใกล้กับส่วนของข้อเท้า ที่เรียกว่า ตาตุ่ม ผู้ป่วยบางรายมีอาการบวมที่ส้นเท้าและรอบๆ ส้นเท้าใกล้กับตาตุ่มทั้ง 2 ด้าน อาการทั้งหมดนี้ชาวบ้านเรียกกันและเข้าใจกันว่า “รองช้ำ” มีตั้งแต่เฉียบพลันและเรื้อรัง แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นแบบเรื้อรัง มีอาการปวดตึงเส้นน้อย และค่อยๆ มีอาการรุนแรงมากขึ้น จนไม่สามารถยืนและเดินอย่างปกติได้ ผู้ป่วยบางรายต้องใช้ไม้เท้า ไม้ค้ำยัน หรือเครื่องช่วยพยุงการเดิน จึงจะมั่นคงและป้องกันการหกล้ม

การรักษา มักต้องพบแพทย์เพื่อการตรวจและวินิจฉัย มักจะต้องรักษาด้วยยา หากไม่มีกระดูกส้นเท้าแตก ร้าว หรือกล้ามเนื้อ เอ็น พังผืด ฉีกขาภายใน ไม่ต้องผ่าตัดและไม่ต้องใส่เฝือก ผู้ป่วยรักษาทางยา และปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง สามารถหายจากโรครองช้ำ นี้ได้

การป้องกัน ผู้ที่ยังไม่มีอาการหรือมีอาการ “รองช้ำ” แล้ว

  1. ระวังน้ำหนักตัว ไม่ปล่อยให้น้ำหนักตัวมากเกินไป ไม่เป็นโรคอ้วน
  2. งดหรือเลี่ยงรองเท้าส้นสูง เนื่องจากมีส่วนก่อให้เกิดการเสียสมดุลของเท้าทั้ง 2 ข้างเวลายืนและเดิน และท่านั่งในท่านั่งยองๆ และนั่งขัดสมาธิ ควรใส่รองเท้าส้นเรียบหรือรองเท้ายางที่นุ่มสบาย
  3. ช่วงจังหวะยืนและเดิน ความทรงตัวให้ดีจึงยืนและเดินให้มั่นคง และหมั่นออกกำลังกายเท้าทั้ง 2 ข้างและเคลื่อนไหวส้นเท้าให้แข็งแรง ด้วยการกระดกข้อเท้าขึ้นลงบ่อยๆ

ทั้ง 3 ข้อปฏิบัติได้เคร่งครัดท่านจะมีโอกาสเกิด “รองช้ำ” น้อยลง


ที่มา: หมอโฆษิต


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save