IEEE PES Dinner Talk 2024 ร่วมขับเคลื่อนพลังงานไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน


สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) (IEEE Power & Energy Society – Thailand หรือ IEEE PES – Thailand ได้จัดงาน IEEE PES Dinner Talk มาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 19 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลรวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านนโยบายและทิศทางการพัฒนาด้านพลังงานและอุตสาหกรรมไฟฟ้าไทย ซึ่งส่งผลต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของประเทศ

ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ

ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน ร่วมแสดงปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “นโยบายและทิศทางพลังงานไทย” ในงาน IEEE PES Dinner Talk 2024 จัดโดยสมาคมไฟฟ้า และพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) (IEEE Power & Energy Society Thailand หรือ IEEE PES Thailand) โดยกล่าวถึง ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์เป็นปัจจัยหลักที่ต้องเฝ้าระวังว่าอาจจะกระทบต่อความมั่นคงของพลังงานโลก เศรษฐกิจโลกถดถอย มีการประเมินว่าโลกอาจต้องเผชิญโอกาศที่เศรษฐกิจเข้าสู่ Recession ภายในสิ้นปีนี้ และส่งผลกระทบต่อความสามารถในการเข้าถึงพลังงาน ผลกระทบสภาวะโลกเดือดเกิดสภาวะอากาศที่รุนแรงผิดปกติจนเกิดผลกระทบทั่วโลก อาทิคลื่นความร้อนฝนตกรุนแรง น้ำท่วมหนัก ทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยที่เกิดน้ำท่วมหนักที่สุดในรอบกว่า 50 ปี ในภาคเหนือ

New Peal Demand ประเทศไทยเกิดอากาศร้อนจัดส่งผลให้เกิด All Time High Peak Demand ที่ระดับ 36,792 MW อีกทั้งแรงกดดันให้มุ่งสู่พลังงานสะอาด จากการประชุม COP28 ที่มีการเรียกร้องให้เพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนทั่วโลกเป็น 3 เท่าและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานเป็น 2 เท่า ภายใย ค.ศ. 2030 และเร่งลดการปล่อย GHGs ให้เร็วที่สุด นโยบาย “รื้อ ลด ปลด สร้าง” นโยบายหลักของ พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ปรับโครงสร้างพลังงานของประเทศ ปรับแก้กฎหมายอันเป็นอุปสรรคต่อการขับเคลื่อนนโยบาย เพื่อความมั่นคง เป็นธรรม และยั่งยืน

ภายในงานยังได้รับเกียรติจากผู้บริหารขององค์กรที่เป็นผู้นำด้านพลังงานมาร่วมแสดงปาฐกถา ในส่วน Panel Session เรื่อง ระบบไฟฟ้าและพลังงานรูปแบบใหม่ การพลิกโฉมสู่ความล้ำสมัย และความพร้อมในการปรับตัวยืดหยุ่น (The New Electric and Energy Systems: Reinvention and Resilience)

เทพรัตน์ เทพพิทักษ์

เทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การเปลี่ยนผ่านพลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลสู่พลังงานหมุนเวียน สัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงฟอสซิล มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของพลังงานหมุนเวียน สัดส่วนพลังงานหมุนเวียนในแผน PDP ค.ศ. 2024 จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 50% ใน ค.ศ. 2037 การคาดการณ์การเติบโตของพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกคาดว่าพลังงานหมุนเวียนจะเติบโตครอบคลุม 65-80% ของการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกภายใน ค.ศ. 2050

การพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Modernization) โรงไฟฟ้าที่มีความยืดหยุ่น (Flexible Power Plant) ปรับการจ่ายไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว เพื่อรองรับความผันผวนของการผลิตพลังงานหมุนเวียน (VRE: Variable Renewable Energy) โครงข่ายไฟฟ้าที่มีความยืดหยุ่น (Flexible Grid) ใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ที่ผสานระบบสื่อสารเพื่อเฝ้าติดตามข้อมูลและติดตั้งระบบ STATCOM เพื่อเพิ่มเสถียรภาพของระบบไฟฟ้า ระบบกักเก็บพลังงานระดับโครงข่าย (Grid-Scale Energy Storage) ติดตั้งระบบสูบน้ำกลับ (Pump Storage) และระบบแบตเตอรี่กักเก็บพลังงานในระดับโครงข่าย เพื่อรักษาเสถียรภาพและความทนทานของระบบไฟฟ้าต่อการรองรับพลังงานหมุนเวียน โรงไฟฟ้าเสมือน (Virtual Power Plant – VPP) แพลตฟอร์มที่รวมโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนหลากหลายประเภท เพื่อบริหารจัดการจ่ายไฟฟ้าตามความต้องการ และใช้จุดแข็งของแต่ละระบบเพื่อให้การดำเนินงานต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ในยุคที่ความต้องการพลังงานสะอาดและยั่งยืนเพิ่มสูงขึ้น เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็กแบบโมดูลาร์ หรือ Small Modular Reactors (SMRs) ได้กลายมาเป็นหนึ่งในคำตอบที่สำคัญสำหรับอนาคตของพลังงานโลก SMRs มีคุณสมบัติเด่นในด้านความมั่นคงและประสิทธิภาพ สามารถผลิตพลังงานได้อย่างสม่ำเสมอพร้อมทั้งช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Low Carbon Emission) ในภาพรวม SMRs ไม่เพียงแค่ช่วยเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน แต่ยังช่วยสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทำให้เครื่องปฏิกรณ์ขนาดเล็กเหล่านี้กลายเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ผลักดันโลกไปสู่โครงสร้างพลังงานสะอาดและยั่งยืนในอนาคต

วิลาศ เฉลยสัตย์

วิลาศ เฉลยสัตย์ ผู้ว่าการการไฟฟ้านครหลวง กล่าวว่า ด้วยวิสัยทัศน์ของการไฟฟ้านครหลวงคือพลังงานเพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร โดยมีภารกิจในการสร้างสรรค์นวัตกรรม ขับเคลื่อนพลังงานอัจฉริยะ เพื่อวิถีชีวิตเมืองมหานคร

ในปัจจุบันทุก ๆ หน่วยงานและทุก ๆ องค์กรให้ความสำคัญในเรื่องของ Sustainability การไฟฟ้านครหลวง ให้ความสำคัญ โดยการปรับปรุงอุปกรณ์ให้มีการลดการใช้สารที่ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อน ได้แก่ Amorphous Transformer เพื่อลด Loss ภายในหม้อแปลง และ Solid Load Break Switch และ Green GIS เพื่อลดการใช้ SF6 เป็นหนึ่งในสารที่ส่งให้เกิดภาวะโลกร้อน รวมถึง Modular Substation (Net Zero Substation) เพื่อลดการใช้พลังงานจาก Grid และเพิ่มการใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจาก Solar PV

กฟน. ได้พัฒนาแพลตฟอร์ม MEA Distributed Energy Market Platform (MDEM) เพื่อเป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการซื้อขายไฟฟ้าระดับการจัดจำหน่ายครอบคลุมทั้งทางธุรกรรมทางตลาด การตัดการโครงข่ายไฟฟ้าและการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ (Distributed Energy Resources: DERs) รวมถึงการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าแบบ Peer-to-Peer (P2P) โดยสามารถซื้อขายไฟฟ้าผ่าน MEA Energy Trading Platform (METP) ของ กฟน. หรือ สามารถใช้ Energy Trading Platform อื่น ๆ ที่เชื่อมต่อกับ MDEM ของ กฟน. เพื่อการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าได้ และกฟน. อยู่ระหว่างเตรียมหน่วยงานให้บริการTrader/Aggregator/Retailer สำหรับการแข่งขันในกจิการไฟฟ้าในอนาคต

ศุภชัย เอกอุ่น

ศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กล่าวว่า ระบบไฟฟ้าและพลังงานรูปแบบใหม่ การพลิกโฉมสู่ความล้ำสมัยและความพร้อมในการปรับตัวได้อย่างยืดหยุ่น ปัจจุบันโลกเรามีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลก ใน ค.ศ. 2023 อุณหภูมิสูงขึ้น 1.17 องศาเซลเซียส

การเพิ่มขึ้นของพลังงานสะอาด ตัวเลขขอการเพิ่มขึ้นของพลังงานสะอาด สัดส่วนกำลังผลิตติดตั้ง VSPP ที่ กฟภ. รับซื้อใน พ.ศ. 2567 คือ พลังงานแสงอาทิตย์ 44.2% ชีวมวล 40.2% ชีวภาพ 7.4% ขยะ 3.7% โคเจน 3.4% และ พลังงานลม 1.1%

ในส่วนของการลงทุน Data Center ในประเทศไทยมีหน่วยจำหน่ายไฟฟ้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2567 เพิ่มขึ้น 19.96% จากช่วงเดียวกันของ พ.ศ. 2566 และความต้องการพลังงานไฟฟ้ารวม 1,671.6 MW รวมถึงการเพิ่มขึ้นของยอดการจดทะเบียนรถไฟฟ้าในประเทศไทยใน ค.ศ. 2024 HEV อยู่ที่ 94,794 BEV อยู่ที่ 68,960 และมีสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะทั่วประเทศอยู่ที่ 3,175 สถานี

ด้วยความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีการเตรียมความพร้อมระบบโครงข่ายไฟฟ้า ได้แก่พัฒนาระบบจำหน่ายให้เป็นรูปแบบ Loop Line เตรียมการแก้ไข Line ชั่วคราวให้มีไฟฟ้าใช้เร็วที่สุด Generator สำหรับการจ่ายไฟในภาวะฉุกเฉิน และมีฐานข้อมูลและระบบ IT มาใช้ในการบริหารจัดการ

ทั้งนี้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่อง Digital and Green Grid เพื่อมุ่งสู่ Smart Energy Solution ตามวิสัยทัศน์ “ไฟฟ้าอัจฉริยะ เพื่อคุณภาพที่ดีอย่างยั่งยืน”

นอกจากนี้ ภายในงานมีพิธีมอบรางวัลให้แก่วิศวกรและผู้ที่มีผลงานโดดเด่น น่ายกย่อง โดย ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ ปลัดกระทรวงพลังงาน จำนวน 4 รางวัล ประกอบด้วย

IEEE PES Outstanding Engineer Award 2024 ได้แก่ ศุภชัย เอกอุ่น ผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

IEEE PES Outstanding Chapter Volunteer Award 2024 ได้แก่ สมบัติ จันทร์กระจ่าง อดีตรองผู้ว่าการ MEA

IEEE PES Women in Power Award 2024 ได้แก่ ดร.จิราพร ศิริคำ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)

IEEE PES Outstanding Young Engineer Award 2024 ได้แก่ ผศ. ดร.เนาวรัตน์ เทพหริรักษ์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ดังนั้น กิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้ถือเป็นกลไกสำคัญที่ส่งผลต่อการกำหนดนโยบายและแนวทางในการตอบสนองต่อความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากการเติบโตของประชากรและเศรษฐกิจของประเทศ อีกทั้งยังเป็นเวทีสำหรับการแสดงวิสัยทัศน์และบทบาทของผู้นำองค์กรชั้นนำในธุรกิจพลังงานไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยผลักดันการพัฒนาและขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านพลังงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save