กระทรวงอุตสาหกรรม เดินหน้าผลักดัน Roadmap พัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ตั้งเป้าผลิตยานยนต์ไฟฟ้า 30% ในปี 2030


รัฐบาล โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดนโยบาย ที่จะทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์ ในประเทศไทยเปลี่ยนผ่านสู่โลกยานยนต์สมัยใหม่ ซึ่งขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าอย่างเร่งด่วน โดยอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่เป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรมเดิมที่มีศักยภาพ (First S-Curve) และมีบทบาทสำคัญ ในการผลักดันเศรษฐกิจของประเทศ โดยในอนาคต และตาม Roadmap ของรัฐบาลได้มีการตั้งเป้าหมาย การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 30% ภายในปี พ.ศ. 2573 ทั้งนี้หากประเทศ ใดมีความพร้อมย่อมที่จะฉกฉวยความได้เปรียบในการเป็นฐานการ ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและการผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์ที่สำคัญภายในประเทศได้ ก็จะทำให้มีความสามารถในการแข่งขันในระดับสากลมากยิ่งขึ้น

เผยไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ปี’62 ผลิตและส่งจำหน่ายอันดับ 11 ของโลก

สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ

สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ที่สำคัญ โดยในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา สามารถผลิตและ ส่งออกจำหน่ายอยู่ในอันดับ 11 ของโลก และด้วยการ เปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก จากยานยนต์แบบดั้งเดิมที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อน สู่โลกยานยานต์สมัยใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ทำให้รัฐบาล ภาคเอกชน ภาคการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันเร่งดำเนินนโยบาย บูรณาการทำงานเพื่อผลักดันให้ประเทศไทย เปลี่ยนผ่านให้สามารถปรับตัวและต่อยอดเทคโนโลยีการผลิตดั้งเดิม เพื่อคงไว้ซึ่งขีดความสามารถในการแข่งขันและก้าวขึ้นสู่ผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นหน่วยงานหลัก202010ในการกำหนดแผนพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ทุกรูปแบบ เพื่อให้ เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ได้ออกข้อกำหนด ระเบียบ และมาตรการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อ สร้างอุปทาน มาตรการกระตุ้นตลาดในประเทศ การเตรียมความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานในการรองรับยานยนต์ไฟฟ้าทุกรูปแบบ การจัดทำ มาตรฐานยานยนต์ไฟฟ้า การผลิตแบตเตอรี่ใช้เองภายในประเทศ การบริหารจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้ว การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าต้องคำนึงถึงความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเป็นหลักตามมาตรฐานสากล รวมทั้งมาตรการด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

Roadmap ขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้าไทย

แผน Roadmap ขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้าไทยตั้งเป้าผลิตยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 30% ภายในปี’73

สำหรับแผนการขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย ตาม Roadmap จากการประชุมคณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา ได้ตั้งเป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าภายในปี พ.ศ. 2573 ไว้ที่ 30% ของการผลิตรถยนต์ ในไทย แบ่งการทำงานเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563- พ.ศ. 2565 ผลิตรถสำหรับราชการ รถบัสสาธารณะ รถจักรยานยนต์ สาธารณะ และยานยนต์ส่วนบุคคลอื่นๆ จำนวน 60,000-110,000 คัน ระยะกลาง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564-พ.ศ. 2568 จะเร่งผลักดัน Eco EV จำนวน 100,000-250,000 คัน และผลักดันสมาร์ท ซิตี้ บัส จำนวน 1,000-3,000 คัน และระยะยาว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2569-พ.ศ. 2573 จะขยาย จำนวน Eco EV จำนวน 750,000 คัน เพื่อรองรับ Zero Emission และ Sharing Mobility โดยมีเป้าหมายผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 30% ของปริมาณการผลิต 2.5 ล้านคัน

ในส่วนของการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับและการส่งเสริมสถานีอัดประจุไฟฟ้า สุริยะ กล่าวว่า ที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมได้ส่งเสริมความร่วมมือทั้งทางภาครัฐและเอกชนในการติดตั้งสถานี อัดประจุไฟฟ้า โดยกำหนดค่าไฟฟ้าคงที่ไว้ที่ 2.63 บาทต่อหน่วย และติดตั้ง สถานีอัดประจุไฟฟ้าให้ครอบคลุมในรัศมี 50-70 กิโลเมตร เพื่อให้ครอบคลุม การเดินทางในระยะไกลของยานยนต์ไฟฟ้า ให้ประชาชนมีความมั่นใจในการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าว่าจะมีสถานีอัดประจุไฟฟ้าครอบคลุมทั่วประเทศให้มากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ รัฐบาลได้มีแนวคิดที่จะนำร่องใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจก่อน พร้อมทั้งมีการหารือกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ภายใต้มาตรการยานยนต์เก่าแลกยานยนต์ไฟฟ้า โดยให้ผู้บริโภคนำรถยนต์ที่มีอายุมากกว่า 15 ปี มาแลกเปลี่ยนเป็นรถยนต์ ไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมตลาดรถยนต์ไฟฟ้าและจัดการซากยานยนต์อย่างเป็น ระบบ พร้อมทั้งจัดตั้งคณะทำงานเข้ามาศึกษาเรื่องการจัดการซากยานยนต์ ในประเทศไทยอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดการจัดการไม่ก่อปัญหาตามมา รองรับการลงทุนการรีไซเคิลซากรถยนต์และแบตเตอรี่ มีการกำหนด กฎเกณฑ์เพื่อให้เกิดการสร้างโรงงานรองรับการตั้งโรงงานกำจัดซาก ยานยนต์ในประเทศ เพื่อนำซากชิ้นส่วนยานยนต์ที่ยังสามารถใช้งานได้เข้าสู่ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างยั่งยืน และในส่วนของราคายานยนต์ไฟฟ้า จากบริษัทผู้ผลิตในประเทศไทย จะต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมตามที่รัฐบาล กำหนด เพื่อไม่ให้ตกเป็นภาระแก่ผู้บริโภค

BOI พร้อมกระตุ้นการลงทุนในกลุ่มยานยนต์พลังงานไฟฟ้า ขานรับ Roadmap ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า

โชคดี แก้วแสง รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) กล่าวว่า ย้อนกลับไปในช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 ที่กระทรวงอุตสาหกรรมนำเรื่องยานยนต์ไฟฟ้าเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาการลงทุนยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย จากนั้นถัดมาเพียง 1 เดือน BOI ก็ได้จัดทำแนวทางและแผนการลงทุนด้านยานยนต์ไฟฟ้าตามมาตรฐานสากลออกมาจูงใจให้กับผู้ประกอบการครอบคลุมทุกด้าน เช่น เรื่องการผลิต ความต้องการตลาด การส่งเสริมการลงทุน การสร้างสถานีชาร์จ รถยนต์ใช้ส่วนบุคคล รถยนต์สาธารณะ และชิ้นส่วน สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น

ในระยะแรกที่เราเปิดการส่งเสริมการลงทุนนั้น มีผู้เข้าร่วมไม่มากนัก แม้จะมีการเปิดส่งเสริมการลงทุนทุกประเภท เพราะในขณะนั้นยังขาดข้อมูลและแรงจูงใจในการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า อีกทั้งระบบโครงสร้าง พื้นฐานภายในประเทศยังไม่เอื้ออำนวยให้การใช้ยานยนต์ไฟฟ้ามากเท่ากับ ในปัจจุบัน แต่เมื่อกระแสความต้องการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจากต่างประเทศ เข้ามามากขึ้น ทำให้มีผู้ประกอบการทยอยเข้ามาขอรับการส่งเสริมการ ลงทุนในส่วนของรถยนต์พลังงานเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ทั้งหมด 16 บริษัท รวม 26 โครงการ ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการในภูมิภาคเอเชีย มียอดการผลิตรวมกันกว่า 560,000 คัน โดยมีการขอส่งเสริมการลงทุนในการผลิตรถยนต์ประเภทไฮบริด (HEV) ปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) รถพลังงานไฟฟ้า 100% (BEV) และสถานีอัดประจุไฟฟ้า

“สำหรับความท้าทายจากโจทย์ของรัฐบาลในการขับเคลื่อนนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าให้ได้ 30% ภายในปี พ.ศ. 2573 ทำง BOI ได้พยายามเร่งพิจารณาส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติมในส่วนของสามล้อไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า เพราะผู้บริโภคมีความต้องการเพิ่มขึ้นตามเทรนด์การใช้งาน นอกจากนี้ จะเปิดรับการส่งเสริมการลงทุนยานยนต์ไฟฟ้าที่ปิดโครงการไปแล้วเพิ่มเติม พร้อมทั้งทำการสำรวจ ทิศทางความต้องการ ความพร้อมของตลาดยานยนต์ โดยดูรายละเอียดเรื่องผู้ผลิตและผู้ใช้งานไฟฟ้าในประเทศและต่างประเทศ หากพบว่ามี ความต้องการและผลตอบรับคุ้มค่า ก็จะเปิดรับการส่งเสริมการลงทุนอีกครั้ง” โชคดี กล่าว

PEA สร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 11 แห่ง วางแผนสร้างสถานีครอบคลุมทั่วประเทศทุกๆ 100 กม.

เสกสรร เสริมพงศ์ รองผู้ว่าการวางแผนและพัฒนาระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) กล่าวว่า การไฟฟ้าส่วนภูมิภาครับผิดชอบพื้นที่ครอบคลุม 74 จังหวัดทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร นนทบุรีและสมุทรปราการ โดยปัจจุบัน PEA มีการสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าทั้งหมด 11 แห่ง ติดตั้งหัวชาร์จตามมาตรฐาน นานาชาติ 3 แบบ ได้แก่ CHAdeMO, CCS Combo2 และ AC Type2 เพื่อรองรับรถหลากหลายค่าย กระจายอยู่ในพื้นที่รอบๆ กรุงเทพฯ ตาม สถานที่ท่องเที่ยว เช่น พัทยา หัวหิน และอยุธยา เป็นต้น โดยที่พัทยามีการ ตอบรับของผู้ใช้แท็กซี่รุ่นใหม่ ซึ่งเป็นยานยนต์ไฟฟ้าเข้ามาใช้จำนวนมาก เนื่องจากให้บริการฟรี และมีแผนสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้าให้ครอบคลุมทั่วประเทศตามเส้นทางหลักทุกๆ 100 กิโลเมตร ตามแผนในระยะที่ 1 ภายในปี พ.ศ. 2563 จะสร้างเพิ่มให้เสร็จอีก 62 แห่ง 42 จังหวัด เช่น เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง อุดรธานี อุบลราชธานี ขอนแก่น ชลบุรี จันทบุรี ระยอง สุราษฎร์ธานี สงขลา กระบี่ กาญจนบุรี ชัยนาท และสิงห์บุรี เป็นต้น โดยร่วมกับสถานีปั๊มน้ำมันบางจาก จัดสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้า 56 แห่ง และพื้นที่ของ PEA เองอีก 6 แห่ง แต่ด้วยสถานการณ์ COVID-19 ทำให้แผนการดำเนินการล่าช้าออกไปจากเดิมที่จะก่อสร้างเสร็จในไตรมาส 3 ของปี พ.ศ. 2563 ต้องเลื่อนออกไปแล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 2 ของปี พ.ศ. 2564

ในระยะที่ 2 PEA จะดำเนินการก่อสร้างระหว่างปี พ.ศ. 2564- พ.ศ. 2565 อีก 64 แห่ง ซึ่งหากก่อสร้างแล้วเสร็จจะมีสถานีอัดประจุไฟฟ้าทั้งหมด 137 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 75 จังหวัด รวมกรุงเทพมหานคร โดยต้นทุนในการสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้ารวมทั้งหมดเฉลี่ย 2.5 ล้านบาท ต่อ 1 แท่นชาร์จ ซึ่งการลงทุนของ PEA ไม่มีกำไร แต่เพื่ออำนวยความสะดวก และเป็นอีกหนึ่งความร่วมมือกับทางภาครัฐตามแผน Roadmap ขับเคลื่อน EV ให้เกิดขึ้นจริง

เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า

ค้นหาสถานีอัดประจุไฟฟ้าผ่าน PEA VOLTA Application

สำหรับอัตราค่าบริการในการอัดประจุไฟฟ้าแต่ละครั้ง PEA คาดว่าจะเริ่มนำร่องเก็บประมาณในช่วงเดือนกันยายนศกนี้เป็นต้นไป โดยประชาชนผู้ใช้สามารถเข้าใช้งาน โดยค้นหาสถานีอัดประจุไฟฟ้าผ่าน แอปพลิเคชัน PEA VOLTA Application ณ สถานี PEA VOLTA 5 แห่งแรก ได้แก่ PEA VOLTA สำนักงานใหญ่ กรุงเทพฯ เปิดตั้งแต่เวลา 06.00- 20.00 น. PEA VOLTA จังหวัดสมุทรสาคร เปิดตั้งแต่เวลา 06.00-20.00 น. PEA VOLTA เขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี เปิดตั้งแต่เวลา 06.00-20.00 น. PEA VOLTA หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดตั้งแต่เวลา 06.00-20.00 น. และ PEA VOLTA พัทยาใต้ จังหวัดชลบุรี เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งผู้ใช้ สามารถบริหารจัดการเวลาในการอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าของตนเอง รวมถึงชำระค่าบริการผ่าน PEA VOLTA Application โดยมีอัตราค่าบริการ คือ อัตราค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าในการใช้เครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charger) ในช่วง Peak ค่าบริการ 7.5798 บาทต่อหน่วย ในช่วง 202012Off-Peak ค่าบริการ 4.1972 บาทต่อหน่วย และอัตราค่าบริการอัดประจุ ไฟฟ้าในการใช้เครื่องอัดประจุไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charger) ในช่วง Peak ค่าบริการ 7.5798 บาทต่อหน่วย ในช่วง Off-Peak ค่าบริการ 4.1972 บาทต่อหน่วย

MG ZS EV ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100%
MG ZS EV ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100%

MEA เตรียมขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 118 แห่ง ภายในปี’65 พร้อมพัฒนาแอปฯ ค้นหาสถานีชาร์จไฟฟ้าทั่วประเทศ

พรศักดิ์ อุดมทรัพยากุล ผู้ช่วยผู้ว่าการวางแผนและพัฒนาองค์กร การไฟฟ้านครหลวง (MEA) กล่าวว่า MEA ให้บริการไฟฟ้าแก่ประชาชน ครอบคลุมพื้นที่ใน 3 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ ซึ่งพฤติกรรมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจะแตกต่างจากของ PEA เพราะส่วนใหญ่คนที่ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าจะนิยมชาร์จไฟฟ้าจากที่บ้านจนเต็มแล้วนำรถออกมาใช้งาน และมีพื้นที่ของเอกชนหลายๆ ส่วนเริ่มเปิด พื้นที่ให้มีการสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้าบริการ เช่น ในห้างสรรพสินค้า ในพื้นที่โรงแรม เป็นต้น แต่ก็มีโอกาสที่แบตเตอรี่หมดในระหว่างใช้งานได้ MEA จึงได้สร้างสถานีให้บริการอัดประจุไฟฟ้าขึ้น โดยพิจารณาเส้นทางการ ติดตั้งที่มีจำนวนคนใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเข้าไปใช้บริการจำนวนมากเป็นหลัก เพื่อประหยัดต้นทุนในการสร้างแต่ละสถานี ความรวดเร็วในการชาร์จต่อครั้ง เพื่ออำนวยความสะดวกต้องใช้เวลาชาร์จไม่เกิน 30 นาทีต่อครั้ง เพื่อให้การกักเก็บพลังงานไฟฟ้าในแบตเตอรี่ได้ประมาณ 80% แล้วนำไป ใช้งานต่อได้ และการชาร์จแต่ละครั้งต้องมีการรักษาแบตเตอรี่ให้ใช้งานต่อเนื่องอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 10 แห่ง จำนวน 15 แท่นชาร์จ และมีแผนการขยายสถานีอัดประจุไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอีก 118 แห่ง รวมเป็น 128 แห่ง ภายในปี พ.ศ. 2565 พร้อมทั้งพัฒนาแอปพลิเคชันในการค้นหา สถานีชาร์จไฟฟ้าทั้งประเทศ และสามารถจองแท่นชาร์จก่อนเข้ารับบริการได้ ทั้งนี้คาดว่าภายในปี พ.ศ. 2569 จะมียานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยใช้งาน ไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านคัน แบ่งเป็นการใช้งานในพื้นที่ MEA ที่ให้บริการไม่ต่ำกว่า 300,000 คัน และพื้นที่ภูมิภาคอีกประมาณ 1.2 ล้านคัน

สำหรับแผนการส่งเสริมให้ประชาชนปรับการใช้ยานยนต์ดั้งเดิมมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มเติม MEA เตรียมแผนที่จะมอบแท่นชาร์จไฟฟ้าให้ผู้สนใจร่วมกับบริษัทยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็นพันธมิตรทุกๆ รายในอนาคต พัฒนาแอปพลิเคชันในการค้นหานำทางสถานีชาร์จไฟฟ้าให้มีความเสถียรแบบเรียลไทม์ในทุกๆ พื้นที่ ศึกษาวิจัยการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า สถานีอัดประจุไฟฟ้า หัวชาร์จเจอร์มีความเหมาะสม ร่วมกับมหาวิทยาลัยเพื่อนำมาปรับการดำเนินการรองรับการใช้งานให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นและพร้อมสนองนโยบายภาครัฐ

สถาบันยานยนต์พร้อมให้บริการทดสอบยานยนต์ไฟฟ้า

พิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า สถาบันยานยนต์เป็นหน่วยงานสนับสนุนการทำงานของกระทรวงอุตสาหกรรม ก่อตั้งมา 22 ปี มีพันธกิจในการศึกษาวิจัยด้านเทคโนโลยียานยนต์ สรุปรายงานเสนอรายงานความคืบหน้าในส่วนการทำงานต่างๆ เผยแพร่แก่ทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไปที่เกี่ยวข้อง การพัฒนา บุคลากรในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ ฝึกอบรม ศูนย์ทดสอบเรื่อง ชิ้นส่วนยานยนต์ตามมาตรฐาน มอก. ของไทย และมาตรฐานต่างประเทศ ปัจจุบันมีสถานที่ตั้งอยู่ 3 แห่ง ได้แก่ กล้วยน้ำไท ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูล มีแท่นชาร์จไฟฟ้า 1 แท่น ให้บริการประชาชนทั่วไปโดยไม่คิด ค่าใช้จ่าย แต่ต้องอนุญาตเข้าใช้บริการก่อนทุกครั้ง นิคมอุตสาหกรรม บางปู จังหวัดสมุทรปราการ ตัวอาคารได้รับการสนับสนุนจากญี่ปุ่น และ เครื่องมือจาก สมอ. ทำหน้าที่ทดสอบเรื่องมลพิษ EURO4 EURO5 ทดสอบ หมวกกันน็อก กระจกนิรภัย และอื่นๆ และสนามไชยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่ของกรมป่าไม้ ที่ได้รับอนุเคราะห์ 1,295 ไร่ เพื่อทำหน้าที่ทดสอบ ด้าน EV ทั้งรถยนต์ไฟฟ้าและรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ก่อสร้างแล้วเสร็จพื้นที่สนามไชย 1 พื้นที่ทดสอบยางล้อ ส่วนอื่นๆ เช่น พื้นที่อาคารสำหรับ ทดสอบแบตเตอรี่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง ตัวอาคารคาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณพฤศจิกายน พ.ศ. 2563

ส่วนเฟสที่ 2 เป็นการสร้างสนามสำหรับขับทดสอบยานยนต์ไฟฟ้า ทุกระบบ อยู่ระหว่างเร่งการก่อสร้าง มีล่าช้าเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 เพราะในพื้นที่ใกล้เคียงมีการแพร่เชื้อจากสนามมวยก่อนหน้านี้ คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2564 และในเฟสที่ 3 จะเก็บตกทุกๆ งานให้แล้วเสร็จ รวมทั้งการติดตั้งเครื่องจักรและเครื่องมือ ในส่วนต่างๆ ที่รัฐบาลอนุมัติงบประมาณ จะแล้วเสร็จประมาณไตรมาสแรก ของปี พ.ศ. 2564 สำหรับการเตรียมบุคลากรที่จะเข้ามาทำงานภายใน สนามไชยนั้น สถาบันฯ ได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) กับศูนย์ทดสอบ ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) และเตรียมความพร้อมอีกส่วน จากกระทรวงอุตสาหกรรมที่มีพื้นฐานความรู้เรื่องยานยนต์ไฟฟ้ามาร่วม อีกจำนวนหนึ่ง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นภายในศูนย์ทดสอบที่สนามไชย รองรับยานยนต์ไฟฟ้าจากบริษัทต่างๆ ที่จะเข้ามาทดสอบ เช่น ทดสอบ ประสิทธิภาพทั้งคัน การออกแบบใช้วัสดุจากนาโนเทคหรือใช้จากวัสดุ อะไรบ้าง โครงสร้างตัวรถมีความปลอดภัยในระดับขั้นไหน สุขอนามัยภายในตัวรถมีมากน้อยเพียงใด และระบบฟอกอากาศภายในตัวรถจะ ล้ำสมัย สามารถฆ่าเชื้อไวรัสชนิดใดได้บ้าง เป็นต้น ซึ่งศูนย์ทดสอบจะต้อง เซ็ตระบบการทดสอบรองรับความก้าวหน้าของยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคตทุกรูปแบบ

PTEC เตรียมสร้าง Lab Test รถขนาดใหญ่ – ยานยนต์ไฟฟ้า อัตโนมัติไร้คนขับในอนาคต

ดร.ไกรสร อัญชลีวรพันธุ์ ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (PTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า PTEC ได้เข้าไปมีบทบาทร่วมกับ สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม มาอย่าง ยาวนาน โดยเฉพาะในเรื่องการกำหนดมาตรฐานของแบตเตอรี่และ การทดสอบแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่สำคัญอย่างยิ่งของยานยนต์ไฟฟ้า เครื่องชาร์จ หัวชาร์จ และมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการสร้างนักวิจัยคนไทยขึ้นมาทำการออกแบบสร้างแบตเตอรี่ เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศที่มีราคาแพงใช้เองภายในประเทศ นอกจากนี้ยังมีการทำงานวิจัยอื่นๆ ร่วมกับการสร้าง Lab Test ระบบภายในยานยนต์ไฟฟ้า อย่างครบวงจร เช่น การระบายความร้อนของแบตเตอรี่เพื่อป้องกัน การก่อประกายไฟจนเกิดการลุกไหม้ ทำให้ผู้ใช้ไม่มีความปลอดภัย การสั่นสะเทือนขณะขับขี่ ระบบความปลอดภัยต่างๆ ทดสอบโครงสร้างตัวยานยนต์ในเรื่องน้ำหนักเบา และรูปแบบต่างๆ รวมทั้งการควบคุมเรื่อง ความถี่ของรถที่จะไม่กวนการทำงานของเครื่องยนต์หรือซอฟต์แวร์ที่ติดตั้ง ภายในตัวรถ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพและคุณภาพการขับขี่บนถนนทุกรูปแบบในประเทศไทย ในอนาคตกำลังดำเนินการสร้าง Lab Test รถขนาดใหญ่ที่ขับเคลื่อนเกิน 4 ล้อ เช่น รถบัส 2 ชั้น พร้อมทั้งสร้าง Lab Test ยานยนต์ไฟฟ้าอัตโนมัติไร้คนขับ

สำหรับความพร้อมของอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยนั้น มองว่ากำลังเดินหน้าตามแผนดำเนินการที่วางไว้อย่างเป็นระบบ อาจจะล่าช้า ไปบ้างในบางส่วนตามตัวแปรที่ควบคุมได้ยาก เช่น เรื่องสถานการณ์ การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้การทำงานหยุดชะงักลง โดยเฉพาะ การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับทั้งในส่วนของถนน การวางระบบ โครงข่ายโทรคมนาคม 5G เพื่อให้ยานยนต์ไฟฟ้าใช้ซอฟต์แวร์ที่ติดตั้ง มากับตัวรถ พูดคุยกับโครงสร้างพื้นฐานระหว่างเส้นทางขับขี่ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ยังมั่นใจในศักยภาพมาตรฐานของฐานการผลิตยานยนต์แบบดั้งเดิมที่เป็นศูนย์การผลิตรถยนต์ที่เข้มแข็งเป็นอันดับที่ 2 ในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ของไทยก้าวกระโดด หากรู้จักปรับใช้นวัตกรรมสมัยใหม่เข้ามาใช้สำหรับ ข้อแนะนำผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าทุกๆ บริษัทที่จะเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย ควรคำนึงเรื่องความปลอดภัยของแบตเตอรี่เป็นสิ่งแรก และ ควรมีการทำประกันแบตเตอรี่ให้กับผู้บริโภคที่ใช้งานของแต่ละบริษัทจะมี ระยะเวลากี่ปีก็ตามข้อตกลงของแต่ละบริษัท เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและ เป็นอีกแรงจูงใจให้ผู้บริโภคชาวไทยหันมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มเติม

MG สร้างแท่นชาร์จให้บริการลูกค้าผ่านโชว์รูมศูนย์บริการ MG ทั่วประเทศ 100 แห่ง ในปี’63

มร.จาง ไห่โป

มร.จาง ไห่โป กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสเอไอซี มอเตอร์-ซีพี จำกัด และบริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า MG มุ่งมั่น ที่จะพัฒนาระบบยานยนต์ทุกรูปแบบตอบสนองตลาดผู้บริโภค โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา MG ได้เปิดตัว MG ZS EV ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า 100% ครั้งแรกในประเทศไทย และได้รับการตอบรับที่ดี ผู้บริโภคชื่นชอบในตัวยานยนต์ที่เปิดตัวและกำลังมีแผนการดำเนินการต่อยอดสร้างยานยนต์ไฟฟ้าตามนิยาม New Generation of Automotive ของ MG ซึ่งให้ความสำคัญกับระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ๆ ที่พัฒนาขึ้นมารองรับ ระบบยานยนต์ไร้คนขับ และพลังงานทางเลือก ในรูปแบบต่างๆ ที่สำคัญ จะให้ความสำคัญกับทีมงานวิศวกร ช่างเทคนิค และนักคณิตศาสตร์ในการคำนวณสูตรต่างๆ ที่ใช้ในยานยนต์ไฟฟ้า รวมทั้ง จัดอบรมส่งเสริมให้มีการศึกษา สร้างงานวิจัยเผยแพร่ภายในองค์กร เพื่อร่วมกันคิดค้นยานยนต์ไฟฟ้าที่ดีที่สุดแก่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง

สำหรับการสร้างแท่นชาร์จเพื่อบริการลูกค้าของ MG จะดำเนินการ ผ่านโชว์รูมและศูนย์บริการ MG ทั่วประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2563 นี้ คาดว่า ในระยะแรกจะมีประมาณ 100 แห่ง และจะมองหาพื้นที่อื่นๆ เพิ่มเติมอีก 1 เท่าตัวในปี พ.ศ. 2564 ผ่านพันธมิตรทางการค้า ซึ่งจะเลือกพื้นที่ที่ติดทางหลวง และในระยะที่ 3 จะเริ่มให้ครบทั่วประเทศ เช่น ในสถานีบริการน้ำมันต่างๆ ห้างสรรพสินค้า หมู่บ้านขนาดใหญ่ ที่พักอาศัย และสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญๆ ในประเทศไทย ส่วนงบการลงทุนสร้างแท่นชาร์จของ MG ประมาณ 1 ล้านบาทต่อ 1 แท่นชาร์จ ขณะนี้ภาพรวมการทำธุรกิจ ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยยังไม่มีปัญหาและอุปสรรคมากนัก อีกทั้งด้วยความพร้อมของประเทศไทยจากทุกภาคส่วน ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้าของ MG ได้รับการตอบรับมากยิ่งขึ้น


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 101 กันยายน-ตุลาคม 2563 คอลัมน์ Report โดย กองบรรณาธิการ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save