คพ.จับมือ มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อม หนุนผู้บริโภคใช้ผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) จับมือ มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อม (ม.ส.ท.) ร่วมลงนามความร่วมมือในการดำเนินงานการส่งเสริมผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนหันมาให้ความสนใจ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สร้างสังคมการบริโภคอย่างยั่งยืน และสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติในทุกๆด้าน

อรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) กล่าวว่า การดำเนินงานการส่งเสริมผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมถือเป็นอีกก้าวหนึ่งของการผนึกกำลังร่วมกันที่จะขับเคลื่อนการผลิตและบริโภคที่ยั่งยืน ซึ่งคพ. มีส่วนร่วมในการส่งเสริมให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนหันมาให้ความสนใจและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างสังคมการบริโภคอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ คพ. มีส่วนสนับสนุนให้เกิดเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ตามนโยบายการดำเนินงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และสอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และกรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566 – 2570) ซึ่งคพ. ได้เสนอให้กระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2563 กำหนดให้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของ คพ. เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน และ คพ. ได้พิจารณาเห็นควรให้สินค้าและบริการที่ได้รับการรับรองฉลากเขียวและขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (ตะกร้าเขียว) ได้รับการบรรจุในบัญชีรายชื่อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมดังกล่าวเป็นลำดับแรก

สำหรับโครงการฯ ดังกล่าวจะเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าร่วมสมัครเองด้วยความสมัครใจ ขณะนี้มีผู้เข้ามาใช้บริการทั้งภาครัฐเอกชนและประชาชนกว่า 1,000 รายการ หากคิดเป็นบริษัท กว่า 100 กว่าแห่ง

“ถึงแม้ว่าจะยังมีผู้เข้ามาใช้บริการจำนวนไม่มาก แต่ด้วยความมุ่งหวังของโครงการฯอยากให้มีการนำไปใช้ให้มากที่สุด เนื่องจากสินค้าและบริการที่พี่น้องประชาชนใช้กันอยู่ในปัจจุบันล้วนเป็นแหล่งกำเนิดของมลพิษด้วยกันทั้งสิ้น ถ้าโครงการฯ ได้นำหลัก 3Rs (Reduce – Reuse -Recycle ที่มีอยู่ไปแนะนำ ให้ประชาชนใช้ประโยชน์ ก็จะช่วยตอบโจทย์แนวยุทธศาสตร์ของประเทศในทุกๆด้านได้ โดยเฉพาะเจตจำนงที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในเวทีการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 หรือ UN Climate Change Conference of the Parties (COP26) เรื่องที่จะให้มี Carbon Net Zero รวมไปถึง GHG Net Zero ด้วย ซึ่งถือเป็นนโยบายและโครงการที่สำคัญที่ภาครัฐให้การสนับสนุน กฎกระทรวงให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ซึ่งเชื่อว่าจะครอบคลุมสินได้ถึง 140 เกณฑ์สินค้าและบริการ ซึ่ง คพ.ได้มีการยกร่างแผนปฏิบัติการส่งเสริมสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในปี พ.ศ,2565-2570 ด้วย เพื่อที่จะกำหนดเป็นแผนปฏิบัติ พร้อมทั้งมีแผน Road Map ที่จะขยายผลให้มากที่สุด หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการร่วมมือในครั้งนี้จะช่วยผลักดันโครงการดีๆให้มีการขยายผลและเกิดความยั่งยืนต่อไป” อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าว

ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) กล่าวว่า ประเด็นสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหลายคนมองว่ายังมีราคาแพงมาก ซึ่งตรงนี้ถือเป็นประเด็นที่สำคัญ ทำให้ผู้ผลิตหลายแห่งไม่อยากผลิตสินค้า เนื่องจากเกรงว่าผลิตแล้วจะไม่มีคนซื้อ ซึ่งขณะนี้ระเบียบกระทรวงการคลังก็ได้ออกระเบียบพัสดุจัดซื้อ ส่งเสริมสนับสนุน ภาคการผลิต ส่งเสริมภาคผู้บริโภค โดยเฉพาะภาครัฐถือเป็นผู้บริโภครายใหญ่

ในส่วนของสถาบันสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นองค์กรเอกชน ได้ร่วมทำงานกับหลายหน่วยงานมากมาย เช่น การดำเนินงานฉลากเขียวที่ริเริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา ได้ทำงานร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม ในการจัดทำมาตรฐานออกมารองรับ เช่น มาตรฐานผลิตภัณฑ์

อุตสาหกรรม (มอก.) ในส่วนของมาตรฐานสิ่งแวดล้อมถือเป็นมาตรฐานทางเลือก มาตรฐานที่เพิ่มเติมขึ้นมาจากมาตรฐานคุณภาพ มอก. ที่รู้จัก ซึ่งมีคณะกรรมการร่วมทำงานทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน องค์กรคุ้มคอรงผู้บริโภคต่างๆ ทำงานร่วมกัน ซึ่งขณะนี้มีข้อกำหนดต่างๆประมาณ 800 รุ่น และ 29 กลุ่มบริษัท และในขณะนี้มีบริษัทเข้ามาขอรับรองฉลากเขียวประมาณ 100 กว่าบริษัท

“เรื่องฉลากเขียวนี้เป็นเรื่องสำคัญที่ทางสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ได้ร่วม.เพื่อดำเนินการตามแผน โดยในฉบับแรกจะเป็นการส่งเสริมการจัดซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้รวมประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ได้มาอย่างไร ผลิตอย่างไร ผู้ผลิตดูแลสิ่งแวดล้อมหรือไม่และใช้ประโยชน์ได้นานแค่ไหน ที่สำคัญการจัดการครั้งสุดท้ายมีระบบการจัดการอย่างไร เพื่อลดภาระของรัฐบาลในการจัดการสิ่งแวดล้อมหลังการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ และสอดคล้องกับประเด็นสิ่งแวดล้อมที่จะส่งออกไปยังต่างประเทศ ผู้ประกอบการไทยมีความใส่ใจการผลิตสินค้าและบริการสอดรับอย่างไร ทำอย่างไรให้มีสินค้าได้ฉลากเขียวจำหน่ายทั่วโลกตามคู่สัญญากว่า 50 ประเทศรับรองการซื้อขายสินค้าฉลากเขียวของผู้ประกอบการไทย

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการร่วมมือทำงานกับ ทาง คพ.จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนเพิ่มรายการสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคให้เข้าใจถึงบทบาทของแต่ละฝั่งที่จะจัดซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้เป็นรูปธรรมต่อไป” ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) กล่าว

 


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save