TEI จัดเสวนากระตุ้นพฤติกรรมผู้บริโภค พร้อมใช้เทคโนโลยี ลดขยะอาหารที่ต้นทาง


ขยะอาหารในเมืองใหญ่เกิดขึ้นจากแหล่งต่างๆ ทั้งจากร้านค้าปลีก โรงแรม ร้านอาหาร ตลาด สำนักงาน และบ้านเรือน โดยมีน้ำหนักราวครึ่งหนึ่งของขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด ทำให้สูญเสียทรัพยากร เกิดก๊าซมีเทนที่นำไปสู่ปัญหาโลกร้อน และหากไม่คัดแยกก็จะทำให้ขยะอื่นปนเปื้อน ลดโอกาสในการนำไปรีไซเคิลหรือใช้ใหม่

สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) จึงร่วมกับกรุงเทพมหานคร และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) จัดเสวนา “ทางออกของขยะอาหาร กับการกระตุ้นพฤติกรรมและการปรับใช้เทคโนโลยี” ขึ้นเพื่อให้เกิดการสื่อสารและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมีทางเลือกในการใช้เทคโนโลยีแปรสภาพขยะอาหาร รวมทั้งกระตุ้นให้เห็นว่าขยะอาหารไม่ใช่ปัญหาเล็กอีกต่อไป

Dr.Mushtaq Memon ผู้แทนจาก UNEP กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า องค์กรสหประชาชาติได้ตระหนักและตั้งเป้าหมายที่จะลดขยะอาหารทั่วโลกจากร้านค้าปลีกและการบริโภคลงครึ่งหนึ่ง ดังนั้น UNEP จึงทำโครงการปรับใช้เทคโนโลยีในเมืองใหญ่ในภูมิต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีในการลดการใช้ทรัพยากรและลดของเสียจากการบริโภคอาหาร โดยกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม มีการวางแผนและป้องกันการเกิดขยะอาหารไปพร้อม ๆ กัน

ขณะที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่มีประชากรและกิจกรรมหนาแน่น ก็พยายามหาแนวทางลดขยะอาหารที่ต้นทาง

วิรัตน์ มนัสสนิทวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวว่า กทม.ได้ทำการเก็บข้อมูลปริมาณขยะที่เกิดขึ้นและสำรวจองค์ประกอบของขยะอย่างต่อเนื่อง และได้พบว่ามีสัดส่วนเศษอาหารที่ได้แยกสิ่งที่ย่อยสลายได้ยากออกไปแล้ว อยู่ในช่วงร้อยละ 42-52 ของขยะมูลฝอยทั้งหมดที่เกิดขึ้น หากสามารถลดปริมาณขยะอาหารเหล่านั้นลงได้ ก็จะช่วยประหยัดทรัพยากรและงบประมาณในการจัดการขยะได้มากทีเดียว และยังได้ช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย เนื่องจากขยะอาหารเป็นสิ่งที่เน่าเสียได้ง่ายและก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก นอกจากนี้ ขยะอาหารมักทำให้ขยะอื่น ๆ ปนเปื้อนคราบอาหารและไขมัน จนยุ่งยากในการคัดแยกไปเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลใหม่

ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ย้ำว่าขยะอาหารไม่ใช่เพียงแค่ปัญหาการสูญเสียทรัพยากร การเกิดมลพิษและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร จากผลการสำรวจข้อมูลพบว่าส่วนใหญ่เห็นว่าขยะอาหารเกิดจากภาคส่วนของผู้บริโภคมากที่สุด จึงจำเป็นต้องเร่งปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและกำหนดมาตรการป้องกันและลดการเกิดขยะอาหารในส่วนนี้

ดังนั้นสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยจึงจัดกิจกรรม Campaign “กินข้าวหมดจานดื่มน้ำหมดแก้ว” เพื่อให้เห็นว่าเราทำได้ด้วยวิธีการง่าย ๆ เริ่มต้นที่ตัวเรา นอกจากนี้ ยังพยายามเชื่อมโยงเนื้อหาเข้าสู่การจัดทำนโยบายและแผนของประเทศในระดับต่าง ๆ รวมถึงแผนปฏิบัติการขับเคลื่อน BCG Model รวมถึง ร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 จะเห็นได้ว่าการจัดการขยะอาหาร มีปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ ได้แก่ พฤติกรรมของสังคม เทคโนโลยีที่จะเป็นตัวช่วย รวมถึงนโยบายและแผนการปฏิบัติงานที่ชัดเจน

เบญจมาส โชติทอง สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมศึกษาในเรื่องนี้ ให้ข้อมูลว่า การสื่อสารเชิงรุกแบบมุ่งเป้าไปที่คนรุ่นใหม่และกลุ่มสตรีจะช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ ซึ่งควรทำทั้งในระดับครัวเรือนและองค์กร ส่วนเทคโนโลยีได้มีความก้าวหน้าไปมาก มีแอปพลิเคชันช่วยในการเชื่อมต่อระหว่างโรงแรมและร้านอาหารที่ต้องการขายอาหารส่วนเกินในราคาต่ำกว่าปกติกับผู้บริโภค เทคโนโลยีในการยืดอาหารอายุและรักษาอาหาร ด้วยการเคลือบสารสกัดจากธรรมชาติ และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ รวมถึงเทคโนโลยีในการแปรสภาพอาหารที่เกิดขึ้นด้วยรูปแบบต่าง ๆ สำหรับคนเมืองที่มีพื้นที่จำกัดเวลาน้อย

จากเวทีเสวนา วิทยากรต่างสะท้อนให้เห็นว่าปัจจุบันสังคมเริ่มมีความตื่นตัวในเรื่องขยะอาหารมากขึ้นเรื่อย ๆ
เริ่มตระหนักและลดขยะอาหาร มีการหาข้อมูลและทางเลือกในการกำจัดขยะอาหาร หากภาครัฐและภาคเอกชนร่วมมือกัน จะช่วยสร้างโอกาสในการแก้ปัญหาขยะอาหารต่อไป


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save