สวทช. จับมือ 4 พันธมิตร ภาคีเครือข่าย TESTA เร่งพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย รับสังคมดิจิทัล


กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ร่วมกับสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ลงนามบันทึก ข้อตกลงความร่วมมือภาคีเครือข่ายเทคโนโลยีระบบ กักเก็บพลังงานไทย (Thailand Energy Storage Technology Alliance : TESTA) เพื่อสร้างเครือข่ายการดำเนินงานในการพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย ตลอดทั้งห่วงโซ่มูลค่า โดยได้รับเกียรติจาก กิตติกร โล่ห์สุนทร ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานและสักขีพยานในการ ลงนาม พร้อมด้วยผู้บริหารจาก 5 หน่วยงานภาคี รวมถึง ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ เอ็ม สแตนลีย์ วิตติงแฮม ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมี ประจำปี พ.ศ. 2562 จากการคิดค้นวัสดุสำหรับแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน รวมทั้งผู้ประกอบการด้านการผลิตแบตเตอรี่สมัยใหม่และยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยมาร่วมปาฐกถา ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

กิตติกร โล่ห์สุนทร

กิตติกร โล่ห์สุนทร ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือภาคีเครือข่ายเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทยระหว่าง 5 หน่วยงาน จะมีส่วนช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งและผลักดันให้เกิด การพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานในประเทศ ทั้งในระดับงานวิจัยจนถึงอุตสาหกรรม เพื่อรองรับ เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานที่จะเข้ามามีบทบาทใน การขับเคลื่อนประเทศสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานและด้านอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ สมัยใหม่ที่รัฐบาลต้องการผลักดัน โดยมีเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคภายใน ปี พ.ศ. 2568 และปริมาณผลิตยานยนต์ไฟฟ้า 750,000 คัน ภายในปี พ.ศ. 2573 โดยกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน และกระทรวงคมนาคม ได้ร่วมเป็นผู้นำ ในการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง ผ่านนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ผ่านแผนงานด้าน การให้สิทธิพิเศษส่งเสริมการขาย และการผลิตให้กับบริษัท รถยนต์และชิ้นส่วนจากทั้งในและต่างประเทศ รวมถึง มีแผนการส่งเสริมให้เกิดสถานีชาร์จอย่างกว้างขวาง

“คาดหวังว่าการเกิดภาคีเครือข่ายระบบข่ายเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย จะเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือและใกล้ชิดระหว่างภาคอุตสาหกรรม และหน่วยวิจัยทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อสร้างระบบนิเวศของอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด และยานยนต์ไฟฟ้าที่สมบูรณ์ ตอบสนองเป้าหมายของสังคมแห่งพลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้” กิตติกร กล่าว

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของศูนย์เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (National Energy Technology Center : ENTEC) ซึ่งเพิ่งได้รับการจัดตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 เพื่อเป็นศูนย์รวมในการบูรณาการความร่วมมือการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานของประเทศและนานาชาติ รวมทั้งเชื่อมโยงงานวิจัยและพัฒนาที่มุ่งเน้นการต่อยอดไปสู่การใช้งานจริง สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับภาคอุตสาหกรรมและขยายผลต่อยอดไปสู่การมีส่วนร่วม ของภาคส่วนต่างๆ โดยการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ระบบกักเก็บพลังงาน เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ศูนย์ฯ มุ่งเน้น โดยได้ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงการให้คำปรึกษากับภาคเอกชน ไปสู่เป้าหมาย ลดการพึ่งพิงเทคโนโลยีจากต่างประเทศ แก้ปัญหาในอุตสาหกรรมพลังงานของประเทศ รวมถึงการยกระดับมาตรฐานทั้งด้านการทดสอบ การควบคุมคุณภาพให้เกิดขึ้นในประเทศอย่างเป็นระบบร่วมกัน เพื่อให้เกิด ห่วงโซ่คุณค่าด้านระบบกักเก็บพลังงานที่สมบูรณ์ สามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิต สร้างงาน สร้างรายได้ สร้างความมั่นคงให้กับประเทศอย่างยั่งยืน

ศ. ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ

ศ. ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นเน้นพัฒนานวัตกรรมด้านวัสดุสำหรับแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน และมีโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนแห่งแรกในประเทศไทย ที่เปิดให้นักวิจัยด้านวัสดุและผู้ผลิตแบตเตอรี่เซลล์สามารถเข้าร่วมพัฒนาสูตรผลิตและวัสดุใหม่ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลักดันงานวิจัยสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ รวมถึงการผลิตบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรม และการสร้างอุตสาหกรรมภายในประเทศด้วยนวัตกรรม มหาวิทยาลัย ขอนแก่นจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมขับเคลื่อน และส่งเสริมการดำเนินการต่างๆ ให้มุ่งสู่ความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนและยานยนต์ไฟฟ้าของไทย

รศ. ดร.สมนึก วิสุทธิแพทย์

ด้าน รศ. ดร.สมนึก วิสุทธิแพทย์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานบริการวิชาการและอุตสาหกรรมสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) กล่าวว่า มจพ. เล็งเห็นความสำคัญในอนาคตของ เทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน จึงได้มุ่งมั่นสนับสนุนการพัฒนาบัณฑิต บุคลากร และองค์ความรู้ในสาขาเทคโนโลยีแบตเตอรี่มาอย่างต่อเนื่อง และมีบัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์นานาชาติสิรินธร ไทย-เยอรมัน (TGGS) เป็นคณะทำงานหลักที่ทุ่มเทพัฒนางานวิจัยในเทคโนโลยีแบตเตอรี่มายาวนานและเป็นที่ประจักษ์ TGGS มีการพัฒนาศักยภาพผ่านความร่วมมือกับกลุ่มองค์กรพันธมิตรในประเทศและระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เชี่ยวชาญระดับสากลจาก RWTH Aachen University การลงนามนี้ถือเป็นการต่อยอดความร่วมมือ กับองค์กรพันธมิตรที่ได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้ และ จะเป็นประโยชน์อย่างสูงต่อการสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมระบบกักเก็บพลังงานในประเทศ

รศ. ดร.สุวิทย์ เตีย

รศ. ดร.สุวิทย์ เตีย อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) กล่าวว่า มหาวิทยาลัยฯ ส่งเสริมการวิจัยพัฒนาด้านพลังงาน ในหลายรูปแบบ อาทิ โครงการบัณฑิตวิทยาลัยร่วม ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) ซึ่งเป็นหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาโทและเอก เพื่อพัฒนาบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรม ศูนย์วิจัย Mobility & Vehicle Technology Research Center (MOVE) ที่มุ่งเน้นการทำงานร่วมกันแบบบูรณาการระหว่างอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา จากหน่วยงานต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์ผลงาน วิจัยด้านเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ที่สามารถต่อยอด เชิงพาณิชย์ได้ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยฯ ยังมีส่วนสำคัญในการร่วมก่อตั้งสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และหวัง เป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาและส่งเสริมการใช้งานระบบกักเก็บพลังงานอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

กฤษฎา อุตตโมทย์

กฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) กล่าวว่า สมาคมฯ เห็นความสำคัญของระบบกักเก็บพลังงานว่าเป็นหัวใจสำคัญของยานยนต์ไฟฟ้า ที่ประเทศไทยจำเป็นต้องผลักดันให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และพัฒนาระบบการจัดการแบตเตอรี่ ที่สิ้นอายุการใช้งานที่เหมาะสม ทั้งนี้ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทยเป็นการรวมกลุ่มของทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ที่เน้นส่งเสริมการผลิตและการขยาย การใช้งานของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ โดยเชื่อว่าจะเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีและยั่งยืน จากการดำเนินงานที่ผ่านมาของสมาคม จะเห็นได้ว่า ระบบกักเก็บพลังงานและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องต้องการ ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เพื่อให้เกิดการดำเนินการ ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม

สวทช. และภาคีเครือข่าย TESTA พร้อมที่จะ ร่วมมือกันเพื่อผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บ พลังงานไทย โดยใช้ศักยภาพของวิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรม ขับเคลื่อนทุกภาคส่วนเพื่อสร้างผลกระทบ เชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และเพื่อให้ภาคพลังงานมีความพร้อมรับมือสู่ยุคเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ตอบสนองความต้องการของสังคมอย่างยั่งยืน


Source: นิตยสาร Green Network ฉบับที่ 101 กันยายน ตุลาคม 2563 คอลัมน์ Technology โดย กองบรรณาธิการ


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save