ที-พลาส งานแสดงสินค้าระดับนานาชาติสำหรับอุตสาหกรรมพลาสติกและยาง กลับมาจัดงานอีกครั้งที่กรุงเทพ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 20 – 23 กันยายน 2566 หลังจากที่เว้นช่วงไปถึง 4 ปี จากสถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลก งานจะยังคงทำหน้าที่เป็นแพลตฟอร์มที่คลอบคลุมในหลายธุรกิจ และเป็นแหล่งจัดซื้อจัดหาชั้นยอดของอุตสาหกรรมพลาสติกและยาง พร้อมจัดแสดงเครื่องจักรทันสมัย วัตถุดิบ อุปกรณ์ และบริการต่างๆมากมาย
ประเทศไทยในฐานะผู้นำการเป็นฮับของภูมิภาคในภาคการผลิตพลาสติก ประกอบกับศักยภาพที่พร้อมจะก้าวขึ้นมาเป็นฮับสำหรับพลาสติกชีวภาพภายในทศวรรษหน้า ยิ่งทำให้ประเทศไทยกลายเป็นตลาดที่น่าดึงดูดสำหรับธุรกิจนานาชาติ ในอีกไม่ถึงสัปดาห์ งานที-พลาส 2023 จะเปิดให้เข้าชมพร้อมกัน โดยงานได้รวบรวมเอาผู้ออกแสดงสินค้ากว่า 250 ราย จาก 20 ประเทศ ประกอบด้วยผู้ผลิตและผู้เชี่ยวชาญจากทั้งห่วงโซ่คุณค่าของอุตสาหกรรมพลาสติกและยางจากทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน และกลุ่มประเทศที่คาดว่าจะเข้าร่วมงานได้แก่ ออสเตรีย จีน เยอรมนี อินเดีย อิตาลี มาเลเซีย สิงคโปร์ และไต้หวัน
ในปี 2021 ภาพรวมการผลิตพลาสติกโลกสูงถึง 390.7 ล้านตัน โดยเป็นการผลิตจากวัตถุดิบจากฟอสซิลถึง 352.3 ล้านตัน พลาสติกรีไซเคิล 32.5 ล้านตัน และอีก 5.9 ล้านตันจากพลาสติกที่ผลิตจากวัตถุดิบทางการเกษตร องค์การศึกษาเรื่องยางระหว่างประเทศหรือ The International Rubber Study Group รายงานว่ามีการผลิตและบริโภคยาง 29.88 ล้านตันในช่วงเวลาเดียวกัน โดยปัจจุบันการผลิตพลาสติกทั่วโลกมากกว่า 50% เกิดขึ้นในเอเชีย ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ครองการผลิตยางด้วยเช่นกัน ตัวเลขเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงบทบาทสำคัญของอุตสาหกรรมพลาสติกและยางในเศรษฐกิจโลก และเน้นย้ำถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของโซลูชั่นด้านความยั่งยืนด้วยเช่นกัน |
งานที-พลาส 2023 จัดขึ้นในช่วงเวลาอันเหมาะสม ในขณะที่ตลาดพลาสติกยังคงถูกขับเคลื่อนด้วยความต้องการต่อวัสดุบรรจุภัณฑ์และพลาสติกที่ย่อยสลายได้ การเติบโตของตลาดก็ถูกกระตุ้นด้วยการเพิ่มขึ้นของการใช้งานพลาสติกในหลากหลายอุตสาหกรรม ตั้งแต่อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม สิ่งทอ ยานยนต์ จนถึงอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ไฟฟ้า และอิทรอนิกส์ นอกจากนี้ความต้องการต่อพลาสติกชีวภาพที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ยิ่งทำให้ตลาดพลาสติกมีศักยภาพที่จะเติบโตต่อไปอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยในปัจจุบันประเทศไทยส่งออกพลาสติกชีวภาพกว่า 90% ของจำนวนรวมการผลิต
ประเทศไทยได้กลายเป็นฐานผู้ผลิตพลาสติกชีวภาพที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากสหรัฐอเมริกา เป็นข้อพิสูจน์ถึงความพยายามของรัฐบาลไทยในการมุ่งสู่เศรษฐกิจแบบบีซีจี (เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว) เพื่อเป็นแนวทางในการบรรลุเป้าหมายการเติบโตของเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ประเทศไทยอยู่ในจุดยืนอันโดดเด่นด้วยความแข็งแกร่งของภาคส่วนเกษตรกรรม ที่มีส่วนช่วยในการจัดหาวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมชีวภาพและอุตสาหกรรมสีเขียว
งานที-พลาส 2023 มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจภูมิทัศน์อันซับซ้อนและมีพลวัตของอุตสาหกรรมพลาสติก พร้อมส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงไปสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยการพูดถึงประเด็นความท้าทายต่างๆและโอกาสที่มีอยู่ ภายใต้หัวข้อสำคัญๆ อาทิ เทคโนโลยีการประมวลผลและการคัดแยกที่ทันสมัย การพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ใหม่ๆ และระบบการรีไซเคิลที่มีประสิทธิภาพ โดยในขณะนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในช่วงระยะที่ 3 ของแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก (2561 – 2573) ซึ่งมุ่งเน้นเรื่องการลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง และบรรลุเป้าหมายการรีไซเคิลพลาสติกตามหลักการของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนแบบ 100%
- ใหม่ – Recycling Solutions Zone (โซนนวัตกรรมการรีไซเคิล)
ที่ Recycling Solutions zone งานทีพลาส 2023 ท่านจะได้พบกับผู้ประกอบการกว่า 15 บริษัทที่จะมาร่วมแบ่งปันแนวทางปฏิบัติและวิธีการในการรีไซเคิลที่หลากหลายสำหรับผลิตภัณฑ์พลาสติก พร้อมด้วยแนวทางใหม่ๆในการจัดการกับขยะพลาสติก ที่โซนการจัดแสดงนี้จะนำเสนอแพลตฟอร์มที่สมบูรณ์แบบให้ท่านได้เชื่อมต่อกับผู้ผลิตพลาสติก ผู้ซื้อ ผู้ขายเม็ดพลาสติกรีไซเคิล ซัพพลายเออร์ รวมถึงคู่ค้าทางธุรกิจอีกมากมาย อาทิ เครื่องบดพลาสติกแบบรอบช้าคุณภาพสูงจากบริษัท Zerma (Thailand) บริษัท มิตรผลไบโอเทคที่จะมาจัดแสดงโซลูชั่นแบบ plant-based และย่อยสลายได้สำหรับอุตสาหกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์พลาสติก พร้อมด้วยผู้เล่นรายสำคัญระดับโลกจากอุตสาหกรรมการรีไซเคิลพลาสติกอีกมากมาย อาทิ Erema Engineering Recycling, Lindner Recyclingtech, NGR – Next Generation Recyclingmaschinen, Starlinger Recycling Technology จากประเทศออสเตรีย Gneuss and Sesotec จากประเทศเยอรมนี และ Polystar Machinery จากไต้หวัน
- Forum: Recycling Solutions & Sustainability (ฟอรั่มเรื่องโซลูขั่นการรีไซเคิลและความยั่งยืน)
หัวข้อการสนทนาภายใต้ฟอรั่มจะประกอบด้วยเรื่องความก้าวหน้าของการรีไซเคิล ครอบคลุมตั้งแต่เทคนิคการกรองสารหลอมเหลว การรีไซเคิลพลาสติกที่เหลือทิ้งระหว่างกระบวนการผลิตในภาคอุตสาหกรรม สู่เรื่องสารประกอบวัสดุชีวภาพที่ยั่งยืน และการกู้คืนตัวทำละลาย นำโดยบริษัทที่มีชื่อเสียงอย่าง Riekermann, Britas Recycling-Anlagen, Pack All Plastic-NGR และแบรนด์ชั้นนำอื่นๆ ที่ช่วยกันปูทางไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน
- สัมมนา: เศรษฐกิจหมุนเวียนและความท้าทายด้านความยั่งยืนสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ I 20 กันยายน
งานสัมมนา 1 วันเต็มเรื่องเศรษฐกิจหมุนเวียนและความยั่งยืน ผ่านมุมมองที่หลากหลายมากกว่าการพิจารณาแค่เรื่องของสิ่งแวดล้อม งานจะช่วยสำรวจการดำเนินการเชิงกลยุทธ์ การประหยัดต่อขนาด การปฏิบัติตามหลัก ESG และอื่นๆอีกมากมาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดขยะให้เหลือศูนย์ และการหมุนเวียนแบบ 100% โดยไม่กระทบต่อความยั่งยืนโดยรวม งานมุ่งไปที่ผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่มีบทบาทในภาคส่วนพลาสติกและยาง พร้อมนำเสนอข้อมูลเชิงลึกอันทรงคุณค่าในเรื่องของแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนและโซลูชั่นที่เหมาะกับตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การสนทนาจะนำโดยวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญจากในภูมิภาค ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีหัวข้อคือ:
- การอภิปรายหัวข้อที่ 1 Circularity & Sustainability – บริษัทสามารถใช้ประโยชน์จากเทรนด์ล่าสุดอย่างไร แต่ยังคงอยู่ในแนวทางของความยั่งยืน
- การอภิปรายหัวข้อที่ 2 | ESG is THE BUZZWORD in Southeast Asia การดำเนินการที่แข็งแกร่งของภาครัฐ แต่ภาคอุตสาหกรรมนำมาปรับใช้ได้ช้า ต้องทำอย่างไรเพื่อเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น
- การอภิปรายหัวข้อที่ 3 I Is Southeast Asia ready for the circular economy? เอเชียตะวันออกฉัยงใต้มีนโยบายที่เหมาะสมหรือยัง เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
ในปีนี้ งานทีพลาสจะจัดขึ้นควบคู่กับงานแพคพริ้นท์ อินเตอร์เนชั่นแนล คอรูเทค เอเชีย ไวเออร์ แอนด์ ทูป เซ้าท์อีสท์เอเชีย จีฟ่า และเมเทค เซ้าท์อีสท์เอเชีย ผนึกกำลังสร้างแพลตฟอร์มแบบเบ็ดเสร็จ พร้อมเสนอโอกาสสำคัญสำหรับผู้เล่นในอุตสหากรรมจากหลากหลายภาคส่วน
วางแผนการเยี่ยมชมงานของคุณได้แล้ววันนี้ ลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ www.tplas.com