สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) หรือ IEEE Power & Energy Society (Thailand) ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมงานสัมมนาเชิงวิชาการ ในหัวข้อเรื่อง “ทรานเซี้ยนต์ไฟฟ้าในระบบส่งจ่าย: แรงดันเกิน การฉนวนไฟฟ้าแรงสูง การควบคุม และกรณีศึกษา” ในวันที่ 3 – 5 เมษายน 2566 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ โรงแรมอโนมา แกรนด์ กรุงเทพฯ
ทรานเซี้ยนต์ไฟฟ้า (Electrical Transients) เป็นการเปลี่ยนแปลงค่าทางไฟฟ้า แรงดันหรือกระแสไฟฟ้าอย่างกะทันหันและรวดเร็ว อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาวการณ์อย่างทันทีทันใดในวงจร เช่น การเปิดหรือปิดสวิตช์ หรือเกิดผิดพร่องขึ้นในระบบ ช่วงเวลาการเกิดทรานเซี้ยนต์จะมีช่วงสั้นมาก ซึ่งช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เช่นนั้น ในสถานะคงตัว (Steady State) หรือทำงานปกติจะไม่มีความหมายหรือความสำคัญเลย แต่ในช่วงเวลาของการเกิดทรานเซี้ยนต์จะมีความสำคัญยิ่งยวด เพราะในช่วงเวลาสั้นๆ ดังกล่าวนั้น องค์ประกอบต่างๆ ของวงจรจะได้รับความเครียด (Stress) ทั้งทางไฟฟ้าและทางกลสูงมาก อันเป็นผลจากแรงดันหรือกระแสที่มีค่าสูงมากเกินปกติ เรียกว่า แรงดันเกิน (Overvoltage) หรือกระแสเกิน(Overcurrent) ในกรณีที่เกิดแรงดันเกินหรือกระแสเกินมากไปย่อมทำให้เกิดความเสียหายแก่ระบบไฟฟ้าได้มากมายดังกล่าวข้างต้น จึงต้องทำความเข้าใจให้ชัดแจ้งในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาของการเกิดทรานเซี้ยนต์ เมื่อก่อนเรื่องทรานเซี้ยนต์ไฟฟ้าเป็นเรื่องคลุมเครือสำหรับวิศวกร หรือวิศวกรจะมีความคิดที่ไม่ชัดเจนว่าอะไรเกิดขึ้นในวงจรเป็นสิ่งลึกลับสุดวิสัย แต่ปัจจุบันเราสามารถทำความเข้าใจถึงพฤติกรรมของทรานเซี้ยนต์ได้คำนวณได้ และในบางกรณียังสามารถป้องกันได้ หรืออย่างน้อยสามารถควบคุมได้ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อวงจรและระบบส่งจ่าย
ในระบบส่งจ่ายพลังงานไฟฟ้าจะมีทรานเซี้ยนต์ไฟฟ้าเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นต้นเหตุที่นำไปสู่การเกิดความผิดพร่อง (Fault) ขึ้นในระบบได้ และเกิดการหยุดชะงักของการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า หรือไฟฟ้าดับ จะทำให้เกิดความเสียหาย ทำให้ระบบส่งจ่ายขาดเสถียรภาพ ความเชื่อถือได้ลดลง ดังนั้นวิศวกรหรือผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการทำงานของระบบส่งจ่ายต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องทรานเซี้ยนต์ไฟฟ้า
สมาคมไฟฟ้าและพลังงานไอทริปเปิลอี (ประเทศไทย) หรือ IEEE Power & Energy Society (Thailand) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญจึงได้จัดให้มีงานสัมมนาเชิงวิชาการ เรื่อง “ทรานเซี้ยนต์ไฟฟ้าในระบบส่งจ่าย: แรงดันเกิน การฉนวนไฟฟ้าแรงสูง การควบคุมและกรณีศึกษา” โดยการสนับสนุนวิชาการจาก กฟผ. กฟน. กฟภ. ผู้ออกแบบ ผู้ผลิตเครื่องมือทดสอบ และสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ในงานภาคปฏิบัติโดยตรง
สนใจเข้าร่วมสัมมนา ดูรายละเอียดหัวข้อการบรรยายและลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ www.greennetworkseminar.com/transient/
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทรศัพท์ 0-2354-5333 ต่อ 500 / 503
e-mail : seminar@greennetworkseminar.com