ทรินา โซลาร์ ประเทศจีน เปิดตัวโมดูลกำลังสูงเกิน 500 วัตต์ ให้แก่ภาคอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ มุ่งสู่ยุคเซลล์แสงอาทิตย์ 5.0


ความสำเร็จด้านพลังงานแสงอาทิตย์ของบริษัท ทรินา โซลาร์ จำกัด (Trina Solar) คือผู้นำระดับโลกด้านเซลล์แสงอาทิตย์และโซลูชันพลังงานอัจฉริยะครบวงจร บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 2540 และมีธุรกิจหลักคือผลิตภัณฑ์เซลล์แสงอาทิตย์ ระบบเซลล์แสงอาทิตย์ และโซลูชันพลังงานอัจฉริยะ ธุรกิจของบริษัทครอบคลุมการวิจัยและพัฒนา การผลิต และการจำหน่ายเซลล์แสงอาทิตย์ สถานีพลังงาน และอุปกรณ์ประกอบระบบ การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ระบบไมโครกริดอัจฉริยะ การพัฒนาและจำหน่ายระบบกักเก็บพลังงานหลายรูปแบบ รวมถึงการบริหารแพลตฟอร์มคลาวด์ด้านพลังงาน

โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ ทรินา โซลาร์ ผู้นำระดับโลกด้านโมดูลเซลล์แสงอาทิตย์และโซลูชันพลังงานอัจฉริยะครบวงจร ประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่อย่างเป็นทางการ ได้แก่ Duomax V โมดูลแบบกระจกสองชั้นสองหน้าตัวใหม่ล่าสุด และ Tallmax V โมดูลแบบแผงด้านหลัง โดยโมดูลทั้งสองรุ่นใช้ซิลิคอนเวเฟอร์ขนาดใหญ่ 210 มิลลิเมตร และเซลล์ PERC ชนิดโมโนคริสตัลไลน์ มาพร้อมดีไซน์ที่ทันสมัย สามารถผลิตไฟฟ้ากำลังสูงกว่า 500 Wp และมีค่าประสิทธิภาพโมดูลสูงถึง 21% ซึ่งตอกย้ำความเป็นผู้นำของบริษัท และเป็นการเปิดรับยุคเซลล์แสงอาทิตย์ 5.0

โมดูลเซลล์แสงอาทิตย์

ทั้งนี้ จากการประเมินเบื้องต้นโดยอิงข้อมูลจากโรงไฟฟ้าภาคพื้นดินขนาดใหญ่ในมณฑลเฮยหลงเจียงของจีน พบว่า เมื่อเทียบกับโมดูลแบบกระจกสองชั้นสองหน้าขนาด 410 วัตต์โดยทั่วไปแล้ว โมดูล Duomax V ขนาด 500 วัตต์สามารถลดต้นทุนอุปกรณ์ประกอบระบบ (BOS) ได้ 6-8% และลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยไฟฟ้าปรับเฉลี่ย (LCOE) ได้ 3-4% ทั้งนี้ ทรินา โซลาร์ จะเปิดรับคำสั่งซื้ออย่างเป็นทางการในไตรมาส 2 ของปี 2563 และตั้งเป้าว่าจะทำการผลิตเชิงพาณิชย์ในไตรมาส 3 โดยคาดว่าจะมีกำลังการผลิตเกิน 5 กิกะวัตต์ภายในสิ้นปีนี้ ด้วยเทคโนโลยีมัลติบัสบาร์ที่เหนือกว่า ทีมวิจัยและพัฒนาของทรินา โซลาร์ จึงสามารถนำเสนอดีไซน์สุดล้ำที่ผสานเทคโนโลยี 1/3-cut ที่ทนทานและมีความหนาแน่นสูง ช่วยลดการสูญเสียกำลังไฟฟ้าให้กับความต้านทาน ทั้งยังเพิ่มความทนทานต่อการแตกหักและจุดร้อนของโมดูล ขณะเดียวกันก็เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พื้นที่สูงสุด ส่งผลให้นักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างสรรค์โมดูลกำลังสูงที่มีประสิทธิภาพสูงและมีความน่าเชื่อถือสูง หากโมดูลแบบแบ่งครึ่งเซลล์ทั่วไปใช้ซิลิคอนเวเฟอร์ขนาดใหญ่ 210 มิลลิเมตร กระแสไฟฟ้าขาออกแรงสูงของโมดูลจะทำให้เกิดปัญหาในระบบ หรือทำให้โมดูลเกิดการแตกหักหรือกระแสเกิน

โรงไฟฟ้าภาคพื้นดิน

นอกจากนี้ การออกแบบของโมดูลใหม่ยังรับประกันว่ากระแสไฟขาออก ค่าแรงดันไฟฟ้าเปิดวงจร และโหลดทางกลของโมดูลจะสอดคล้องกับข้อกำหนดด้านความปลอดภัยทางเทคนิค และสามารถเชื่อมต่อกับระบบเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีอยู่เดิมได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งบริษัท ทรินา โซลาร์ฯ ได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับบริษัท POWERCHINA Jiangxi Electric Power Construction บริษัท China Energy Engineering Investment สาขาเฮยหลงเจียง บริษัท Shouguang Power Investment Haobang New Energy บริษัท SEPCOIII Electric Power Construction และบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้าแห่งอื่น ๆ เพื่อปูทางสู่การใช้งานโมดูลกำลังสูงเป็นพิเศษในตลาดเทอร์มินัล

โรงไฟฟ้าภาคพื้นดิน

หยิน หรงฟาง รองประธานบริหารและรองผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรินา โซลาร์ กล่าวว่า “ทรินา โซลาร์ สั่งสมประสบการณ์หลายสิบปีในด้านการออกแบบและการผลิตโมดูล เราหวังที่จะสร้างมาตรฐานของโมดูลโดยอาศัยข้อได้เปรียบด้านการออกแบบและการผลิตของเรา ซึ่งไม่เพียงเป็นประโยชน์ต่อภาคส่วนต่าง ๆ ในห่วงโซ่อุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ยังยกระดับการออกแบบโมดูลในฝั่งระบบด้วย นอกเหนือจากประสิทธิภาพของตัวโมดูลเองแล้ว โมดูลที่ดีต้องเข้ากับระบบที่มีอยู่เดิมได้ด้วย ทั้งนี้ ประสบการณ์ของทรินา โซลาร์ ในด้านระบบติดตามดวงอาทิตย์ โซลูชันครบวงจร และโรงไฟฟ้าภาคพื้นดิน ทำให้เราสามารถสำรวจและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานระบบจริงตั้งแต่ในช่วงของการวิจัยและพัฒนา และดึงศักยภาพสูงสุดของผลิตภัณฑ์ออกมา ผมเชื่อว่าโมดูลใหม่ของเราจะผลักดันตลาดเซลล์แสงอาทิตย์ไปอีกขั้น”

โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

อย่างไรก็ดี การผลิตโมดูลขนาดใหญ่ที่ใช้ซิลิคอนเวเฟอร์ 210 มิลลิเมตร หรือ “โมดูล 210” เป็นครั้งแรกของบริษัท ทรินา โซล่าร์ นี้ ถือเป็นการก้าวขึ้นเป็นผู้นำอุตสาหกรรมในด้านการวิจัยและพัฒนารวมถึงการผลิตโมดูล 210 สร้างความน่าเชื่อถือได้ให้แก่อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ที่สามารถผลิตได้ในปริมาณมาก เพื่อนำพาอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ไปสู่ยุคโมดูลกำลังสูง 500 วัตต์ ซึ่งโมดูล 4 ซีรีส์ใหม่นี้ รองรับสภาพการใช้งานที่หลากหลาย เช่น การติดตั้งบนพื้นดินสำหรับการใช้งานระดับสาธารณูปโภค รวมถึงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบกระจายตัว นอกจากนี้ กำลังการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจาก 370 วัตต์ จะผลิตในปริมาณมากมีกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงสุดถึง 415 วัตต์ ช่วยลดต้นทุนด้านการรักษาสมดุลของระบบ (BOS) ได้ราว 4.5%-8.5% และลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยไฟฟ้าปรับเฉลี่ย (LCOE) ได้ราว 2.5%-4.6%


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เอง โดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรังปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

Save